Skip to main content
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
หนังสือ The Shock Doctrine: The Rise of Disaster Capitalism
 
 
Naomi Klein นักเขียน นักหนังสือพิมพ์และนักกิจกรรมหญิงชื่อดังผู้ต่อต้านโลกาภิวัตน์แบบเสรีนิยมใหม่ชาวแคนาดาได้วิเคราะห์ไว้ในหนังสือขายดีเรื่อง The Shock Doctrine: The Rise of Disaster Capitalism (ค.ศ. ๒๐๐๗) ว่าหลักการของมิลตัน ฟรีดแมนในการทำการตลาดแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ในแวดวงการเมืองได้แก่ the Shock Doctrine หรือลัทธิช็อก หมายถึงการฉวยใช้วิกฤตผลักดันนโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่บรรษัทเอกชนแต่ประชาชนไม่นิยมให้ผ่านออกมาเพื่อรัฐบาลนำไปใช้ในทางปฏิบัติ วิกฤตนั้นอาจเป็นทางเศรษฐกิจ, การเมือง, สงคราม, ภัยธรรมชาติ ฯลฯ
Naomi Klein 
 
การที่เธอเรียกมันว่า “ลัทธิช็อก” เพราะปกติมันจะประกอบไปด้วยอาการที่ประชาชนถูกช็อก ๓ ขั้นตอน ได้แก่ 
๑) ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต 
๒) ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา 
๓) ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
 
ดังที่มิลตัน ฟรีดแมนเองสาธยายแนวทรรศนะ “ลัทธิช็อก” ดังกล่าวไว้ในงานเขียนชิ้นต่าง ๆ ของเขาว่า: ‐
 
“มีแต่วิกฤตเท่านั้น – ไม่ว่าวิกฤตจริงหรือถูกเห็นเป็นวิกฤตก็ตามที – ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้
“เมื่อวิกฤตที่ว่านั้นเกิดขึ้น ปฏิบัติการที่คนเรากระทำจะขึ้นกับความคิดที่เรียงรายล้อมรอบอยู่
“ผมเชื่อว่านั่นแหละคือหน้าที่พื้นฐานของเรากล่าวคือ: พัฒนาทางเลือกต่างหากไปจากนโยบายที่ดำรงอยู่ ประคับประคองมันให้ยืนยงเผื่อไว้จนกว่าสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทางการเมืองกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ทางการเมือง”
(คำนำ, Capitalism and Freedom, ค.ศ. ๑๙๘๒)
 
“รัฐบาลใหม่มีเวลาราว ๖ – ๙ เดือนเพื่อบรรลุการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่
“ถ้ารัฐบาลไม่ช่วงชิงโอกาสกระทำการอย่างเด็ดขาดในช่วงที่ว่านั้น ก็จะไม่มีโอกาสอย่างนั้นอีกเลย”
(Tyranny of the Status Quo, ค.ศ. ๑๙๘๔)
 
กล่าวโดยสรุป มิลตัน ฟรีดแมนเสนอว่าพลันที่เกิดวิกฤต ผู้นำที่สมาทานแนวนโยบายเสรีนิยมใหม่จำต้องกระทำการอย่างเด็ดขาดฉับไว ยัดเยียดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมิอาจเปลี่ยนกลับคืนได้ลงไปก่อนที่สังคมซึ่งย่อยยับจากวิกฤตจะลื่นไถลกลับสู่ “ทรราชแห่งสถานะเดิม” อีก
 
นาโอมิ ไคลน์ ได้ประมวลกรณีการฉวยใช้วิกฤตที่ทำให้ประชาชนอยู่ในอาการช็อกมาผลักดันยัดเยียดแนวนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ในประเทศต่าง ๆ ไว้ พอจะเรียบเรียงเป็นตารางได้ข้างล่างนี้ (ดูภาพประกอบ)
 
ในทางกลับกัน หากสังคมไม่อยู่ในภาวะช็อก ถึงแม้ผู้นำรัฐบาลจะพยายามผลักดันยัดเยียดแนวนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่เอื้อประโยชน์แก่บรรษัทเอกชนแต่ประชาชนไม่นิยมมาให้ ก็มักไม่สำเร็จเต็มที่ตามเป้าหมาย อาทิ ในสหรัฐอเมริกา เมื่อโรนัลด์ เรแกนชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีปี ค.ศ. ๑๙๘๑ หรือในฝรั่งเศสเมื่อนิโกลาส ซาร์โคซี ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีปี ค.ศ. ๒๐๐๗ ปรากฏว่าแนวนโยบายเสรีนิยมใหม่ของทั้งสองเจอแรงต่อต้านจากประชาชนจนต้องผ่อนเพลาลง
 
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ คัดมาจาก เกษียร เตชะพีระ, เศรษฐกิจโลกถดถอยครั้งใหญ่: ความรุ่งเรืองและล่มจมของเสรีนิยมใหม่/โลกาภิวัตน์, openbooks, 2555

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง