Skip to main content
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ(19/7/56)
 
ความฝันของอเมริกันชนที่ชูใจพวกเขามานานปีว่านี่เป็นดินแดนแห่งโอกาส ไม่ว่าคุณเป็นใครมาจากไหน ถ้ามุมานะขยันทำงานริเริ่มสร้างสรรค์ไต่เต้าก็จะรวยหรือกระทั่งมีสิทธิ์เป็นประธานาธิบดีได้ ชักไม่เป็นจริงเสียแล้วสำหรับครัวเรือนคนชั้นกลางอเมริกันจำนวนมาก บ้างก็ทำท่าฝันหลุดมือ บ้างก็สลายวับไปเลยทีเดียว
 
กลุ่มอาการฝันคนชั้นกลางอเมริกันสลายได้แก่: เสียงานมั่นคงรายได้ดีไป, หาได้แต่งานที่ชั่วโมงทำงานยาวนานและไม่ค่อยมั่นคง รายได้และสิทธิประโยชน์ต่ำลง, เริ่มติดหนี้พอกพูน, ครอบครัวเครียดขึ้งแตกแยก ฯลฯ
 
นี่ย่อมส่งผลกระทบสืบเนื่องต่อมาถึงอุตสาหกรรมส่งออกของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทยแน่นอน
 
1) ค่าจ้างต่ำลง
 
รายได้ของคนชั้นกลางอเมริกันต่ำลง ๘.๕% นับแต่ปีค.ศ. ๒๐๐๐ เป็นต้นมา ทั้งที่ทศวรรษก่อนหน้านั้นเคยเพิ่มขึ้นอย่างคงเส้นคงวามาตลอด ในปี ๒๐๑๑ รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน ๖๐% ที่เป็นคนชั้นกลางอเมริกันตกราว ๕๓,๐๔๒ US$/ปี จากเดิมเคยอยู่ที่ ๕๘,๐๐๙ US$/ปี เมื่อปี ๒๐๐๐
(ภาพประกอบ: รายได้เฉลี่ยของคนชั้นกลางอเมริกันจากปี ค.ศ. ๑๙๘๐ - ๒๐๑๑)
 
2) ส่วนแบ่งรายได้ของคนชั้นกลางต่ำลง
 
ส่วนหนึ่งเนื่องจากได้ค่าจ้างต่ำลง ส่วนแบ่งของคนชั้นกลางในรายได้ประชาชาติโดยรวมก็ตกต่ำลงด้วยในปี ค.ศ. ๑๙๘๐ ครัวเรือน ๖๐% ที่เป็นคนชั้นกลางมีรายได้คิดเป็น ๕๑.๗% ของรายได้ประชาชาติอเมริกัน แต่พอถึงปี ค.ศ. ๒๐๑๑ มันก็ลดลงเหลือไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรายได้ประชาชาติ ขณะเดียวกันครัวเรือนอเมริกันที่รวยที่สุด ๒๐% แรกกลับมีรายได้เพิ่มขึ้น ๑๖% ในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้ส่วนแบ่งในรายได้ประชาชาติของพวกเขาเพิ่มขึ้นจาก ๔๔.๑% เป็น ๕๑.๑%
(ภาพประกอบ: การกระจายรายได้ในสหรัฐฯของผู้มีรายได้สูงสุด ๒๐% แรกและคนชั้นกลาง นับแต่คริสตทศวรรษ ๑๙๘๐ เป็นต้นมา)
 
3) ตำแหน่งงานที่อิงสหภาพแรงงานหดตัวลง
 
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รายได้คนชั้นกลางอเมริกันลดน้อยถอยลงคือการหดลดลงของจำนวนคนงานที่กินอัตราเงินเดือนซึ่งสหภาพแรงงานต่อรองกับนายจ้างมาได้ ในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ เงินเดือนมัธยฐาน(median) สำหรับคนงานสังกัดสหภาพแรงงานตกประมาณ ๔๙,๐๐๐ US$/ปี ขณะที่เงินเดือนมัธยฐานสำหรับคนงานไม่สังกัดสหภาพแรงงานอยู่ที่เกือบ ๓๙,๐๐๐ US$/ปี เท่านั้น อย่างไรก็ตาม นับแต่ปี ๑๙๘๓ เป็นต้นมา สัดส่วนประชากรที่สังกัดสหภาพแรงงานก็หดตัวลงจาก ๑ คนในคนงานทุก ๕ คน เหลือแค่มากกว่า ๑ คนในคนงานทุก ๑๐ คนเพียงเล็กน้อย
(ภาพประกอบ: สัดส่วนร้อยละของสมาชิกสหภาพแรงงานในกำลังแรงงานทั้งหมดนับแต่ปี ๑๙๘๓ -๒๐๑๒ และเปรียบเทียบรายได้เฉลี่ย/ปีของคนงานสังกัดกับไม่สังกัดสหภาพแรงงานในปี ๒๐๑๒)
 
4) คนงานที่หาได้แต่งาน part-time ทำไปไหนไม่รอดมีจำนวนเพิ่มขึ้น
 
ปัจจัยที่สองซึ่งถ่วงค่าจ้างไว้ไม่ให้เพิ่มขึ้นได้แก่การที่จำนวนชาวอเมริกันที่หาได้แต่งาน part-time ทำไปไหนไม่รอดมีจำนวนสูงขึ้น ในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ คนอเมริกันกว่า ๒.๕ ล้านคนทำงาน part-time เพราะหาตำแหน่งงานเต็มเวลาไม่ได้ ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับแต่ปี ค.ศ. ๑๙๙๓ เป็นต้นมา
(ภาพประกอบ: จำนวนคนงานอเมริกันที่หาได้แต่งาน part-time ในช่วงปี ๑๙๘๐ - ๒๐๑๒ แถบสีจางบ่งบอกช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย)
 
5) บรรษัทข้ามชาติสัญชาติอเมริกันมีตำแหน่งงานให้ทำน้อยลง
 
ปัญหาที่ท้าทายผู้หางานทำในสหรัฐฯส่วนหนึ่งก็คือบรรษัทข้ามชาติสัญชาติอเมริกันจ้างงานคนในประเทศบ้านเกิดน้อยลงมาระยะหนึ่งแล้ว บริษัทใหญ่ยี่ห้อดังเหล่านี้จ้างคนงานอเมริกันราว ๑ ใน ๕ ของทั้งหมด แต่จากปี ค.ศ. ๑๙๙๙ - ๒๐๐๘ บริษัทเหล่านี้กลับพากันปลดลดคนงานในสหรัฐฯทิ้งไปราว ๒.๑ ล้านตำแหน่งขณะที่จ้างคนงานเพิ่มขึ้น ๒.๒ ล้านตำแหน่งในต่างประเทศที่ไปลงทุน
(ภาพประกอบ: ตำแหน่งงานที่สร้างโดยบรรษัทข้ามชาติอเมริกันเปรียบเทียบระหว่างในสหรัฐอเมริกากับต่างแดนระหว่างปีค.ศ. ๑๙๙๙ - ๒๐๐๘)
 
6) หนี้สินพอกพูน
 
ย่อมคาดเดาได้ว่าแรงกดดันทางเศรษฐกิจที่เผชิญหน้าคนชั้นกลางอเมริกันดังกล่าวมาจะส่งผลให้ครัวเรือนของพวกเขาจมปลักหนี้สินดิ่งลึกลงไปอีก ในปี ค.ศ. ๑๙๙๒ ระดับหนี้มัธยฐานของครัวเรือนอเมริกัน ๑ ใน ๓ ที่มีฐานะปานกลางอยู่ที่ ๓๒,๒๐๐ US$ ทว่าพอถึงปี ค.ศ. ๒๐๑๐ ตัวเลขนั้นก็โป่งพองไปเป็น ๘๔,๐๐๐ US$ หรือเพิ่มขึ้นราว ๑๖๑%
(ภาพประกอบ: หนี้คนชั้นกลางอเมริกันจากปี ค.ศ. ๑๙๘๙ - ๒๐๑๐)
 
7) เงินออมครัวเรือนลดน้อยถอยลง
 
หนี้สินที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายความว่าครัวเรือนน้อยลงมีปัญญาจะเก็บหอมรอมริบเงินไว้ใช้สำหรับยามเกษียณอายุหรือเป็นค่าเล่าเรียนของลูก ในปี ค.ศ. ๒๐๐๑ กว่า ๒ ใน ๓ ของครัวเรือนคนชั้นกลางอเมริกันแจ้งว่าพวกเขาสามารถออมเงินไว้ได้ในปีก่อนหน้านั้น ปรากฏว่าถึงปี ค.ศ. ๒๐๑๐ ตัวเลขดังกล่าวตกลงเหลือไม่ถึง ๕๕%
(ภาพประกอบ: ครัวเรือนมากน้อยแค่ไหนที่มีปัญญาออมเงิน? จากปีค.ศ. ๑๙๙๒ - ๒๐๑๐)
 
8) มูลค่าความมั่งคั่งสุทธิตกต่ำลง
 
ผลกระทบทั้งหมดทั้งมวลต่อมูลค่าความมั่งคั่งสุทธิของครัวเรือน (หรือนัยหนึ่งจำนวนสินทรัพย์ที่มากกว่าหนี้สินของครัวเรือน) เป็นที่ปวดร้าวยิ่ง ในปี ค.ศ. ๒๐๐๗ มูลค่าความมั่งคั่งสุทธิมัธยฐานของครัวเรือนอเมริกันถึบตัวขึ้นสูงสุดถึง ๑๒๐,๖๐๐ US$ และแล้วก็เกิดวิกฤตการเงินซับไพรม์ซึ่งส่งผลให้ชาวอเมริกันหลายล้านตกงานหรือถูกยึดบ้าน ถึงปี ค.ศ. ๒๐๑๐ มูลค่าความมั่งคั่งสุทธิมัธยฐานของครัวเรือนอเมริกันก็ตกต่ำลงถึง ๓๖% เหลือแค่ ๗๗,๓๐๐ US$
 
ลูกค้าผู้บริโภคที่จู่ ๆ ก็จนลง ๑ ใน ๓ หรือถดถอยกลับไปราวสิบปี อีกทั้งอาจตกงานและไร้บ้านของตัวเอง จะมีปัญญาซื้อสินค้าส่งออกจากเอเชียและไทยสักกี่มากน้อยกัน?
 
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน จึงย่อมเท่ากับฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียและไทยรวมทั้งฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (East Asian Economic Model - EAEM) ที่ใช้การส่งออกเป็นพลังขับดันด้วย ฤๅมิใช่?
(ภาพประกอบ: มูลค่าความมั่งคั่งสุทธิของครัวเรือนอเมริกัน จากปีค.ศ. ๑๙๘๙ - ๒๐๑๐)
 
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง