Skip to main content

Kasian Tejapira(22/10/55)

ผมใคร่บอกกับคุณ “ฉลาด แซ่โง่” ผู้เขียนบทความ “ความรุนแรงที่ปฏิวัติ: โต้พวกเพ้อเจ้อ” http://prachatai.com/journal/2012/10/43263 ว่า

๑) มันเป็นเรื่องความเชื่อ ผู้เขียนอยู่ในโหมดปฏิวัติพคท.-เหมาอิสต์เมื่อหลายสิบปีก่อนไม่เปลี่ยน การย้ายความเชื่อ เปลี่ยนกระบวนทัศน์ไม่ใช่เรื่องง่าย

๒) ผู้เขียนดูจะไม่ได้อ่านงานของอ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์เรื่อง non-violence เลย จึงมิสามารถพิจารณาหรือเล็งเห็นสันติวิธีในแง่ประสิทธิภาพเชิงปฏิบัติทางการเมืองหรือในแง่จริยธรรมได้ ในโลกแห่งความเป็นจริงอันแคบชัดของผู้เขียนนั้น อะไรที่แปลกใหม่เบี่ยงเบนย่อมเพ้อเจ้อทั้งสิ้น

ในฐานะความเขื่อที่คอยผดุงให้ประวัติการต่อสู้เสียสละและชีวิตของบุคคลมีค่าน่าภูมิใจ อาจไม่ใช่ภารกิจที่จะต้องเข้าไปรื้อมัน แต่เท่าที่เป็นวิวาทะสาธารณะก็ควรพูดเท่าที่จำเป็น

Max Weber

นิยามเรื่องรัฐของ Weber มาจากความเรียงโด่งดังเรื่อง “Politics as a vocation” http://anthropos-lab.net/wp/wp-content/uploads/2011/12/Weber-Politics-as-a-Vocation.pdf ย่อหน้าที่เกี่ยวข้อง เป็นดังนี้ (นิยามรัฐสมัยใหม่ขีดเส้นใต้อยู่กลางย่อหน้า)

'Every state is founded on force,' said Trotsky at BrestLitovsk. That is indeed right. If no social institutions existed which knew the use of violence, then the concept of 'state' would be eliminated, and a condition would emerge that could be designated as 'anarchy,' in the specific sense of this word. Of course, force is certainly not the normal or the only means of the state--nobody says that--but force is a means specific to the state. Today the relation between the state and violence is an especially intimate one. In the past, the most varied institutions-- beginning with the sib--have known the use of physical force as quite normal. Today, however, we have to say that a state is a human community that (successfully) claims the monopoly of the legitimate use of physical force within a given territory. Note that 'territory' is one of the characteristics of the state. Specifically, at the present time, the right to use physical force is ascribed to other institutions or to individuals only to the extent to which the state permits it. The state is considered the sole source of the 'right' to use violence. Hence, 'politics' for us means striving to share power or striving to influence the distribution of power, either among states or among groups within a state.

กำเนิดของความเรียงเรื่อง Politics as a vocation นี้มีที่มาจากคำบรรยายที่ Weber แสดงแก่สหภาพนักศึกษาเสรีที่มหาวิทยาลัยมิวนิคเมื่อมกราคมปี ๑๙๑๙ ในระหว่างการปฏิวัติเยอรมัน (หลัง WWI) นั้นเองจะเห็นได้ว่า Weber ขยายนิยามรัฐจากข้อสังเกตของทรอตสกี้ว่า "รัฐทุกรัฐย่อมตั้งอยู่บนการใช้กำลัง" โดยบวกเชื้อมูลสำคัญเรื่อง ๑) ผูกขาดความรุนแรง/การใช้กำลัง ๒) โดยชอบธรรม ๓) เหนืออาณาดินแดนหนึ่ง ๆ เข้าไป

เงื่อนไขข้อ ๒) นี้เองเป็นปมที่สอดรับกับข้อสังเกตเรื่องอำนาจรัฐของอ.ชัยวัฒน์ที่ว่าในที่สุด การยอมทำตามรัฐ สำคัญกว่าการใช้กำลังบังคับควบคุมพลเมืองโดยรัฐ เพราะรัฐมีพลังศักยภาพจำกัดในการทำประการหลัง ถือปืนจ่อจี้พลเมืองนาน มือย่อมสั่น ในที่สุดฐานอำนาจรัฐที่แท้คือการยอมตามของพลเมือง ตรงนี้เองคือฐานคิดของชัยวัฒน์เรื่อง อารยะขัดขืน civil disobedience ว่าเป็นช่องทางการต่อสู้ที่ทรงพลังในการกร่อนจำกัดอำนาจรัฐได้ของพลเมือง จะเพื่อการปฏิวัติชนชั้นหรือปฏิรูปนโยบายหนึ่ง ๆ เป็นเรื่องเป้าหมายการเมือง ซึ่งไม่ใช่ประเด็นโต้แย้งถกเถียงของวิธีคิดแบบสันติวิธี เพียงต้องการชี้ว่าสันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม