Skip to main content

วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?

Kasian Tejapira(18/11/55)

คุณ Bus Tewarit ตั้งกระทู้ว่า:


"การกล่าวว่า "นายทุน" เป็นคนส่วนน้อย เอาเปรียบ ช่วงชิงเอาทรัพยากร ขูดรีดเอามูลค่าส่วนเกิดจากคนงาน จากคนส่วนใหญ่ของสังคมไป ถือเป็น Hate Speech ไหมครับ ?"



ผมคิดว่านี่ไม่ใช่เรื่องเล่น จึงทดลองเสนอตอบว่า:

ผมคิดว่าไม่นะครับ วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?


จะว่าไป การวิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์การเมืองเช่นนั้น ผมก็ทำในชั้น เพื่ออธิบายวิธีคิดแบบลัทธิ มาร์กซเทียบกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองสำนักอื่น ๆ ให้นักศึกษาเข้าใจ ส่วนเขาจะเห็นด้วยหรือไม่ อีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้านอกจากอธิบายแล้ว ผมแถมว่า "ชนชั้นนายทุนก็เหมือนเชื้อโรคไวรัสในร่างกาย เราต้องฆ่าไวรัสเพื่อสุขภาพฉันใด เราก็ต้องฆ่านายทุนให้หมด ไม่เว้นแม้แต่ลูกเมียมัน เพราะมันไม่ใช่คน มันเป็นสัตว์นรก ฉันนั้น" แบบนี้ ผมคิดว่าใช่ hate speech นะครับ

หรือในทางกลับกัน ถ้าผมอธิบายลัทธิมาร์กซแล้ว ผมแถมว่า "ลัทธิอุบาทว์นี้เป็นอันตรายต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์อย่างยิ่ง ดังนั้น ถ้าเจอพบคนที่คิดแบบนี้ จัดการศึกษาแบบนี้ เอาหนังสือมาอ่านแล้วนั่งคุยกันแบบนี้เป็นกลุ่มก้อนที่ไหน ฆ่ามันเลยพี่น้อง เพราะฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาปนะพี่น้อง" แบบนี้ ผมก็คิดว่ามีเหตุผลที่น่าจะสันนิษฐานได้ว่าเป็น hate speech หรือพูดในความเข้าใจผมคือ speech that kills อ่ะครับ

ความเข้าใจและพยายามแยกแยะเรื่องนี้สำคัญ เพราะถ้าทำเป็นเล่น เหมารวมเข้าด้วยกันโดยไม่แยกแยะแล้ว ผมนึกเป็นห่วงเท่านั้นเองว่าสักวันอาจเห็นคุณ Bus สนับสนุนให้ "ยำ" ผู้ไม่ยอมให้แก้ม.๑๑๒ เพราะมันไม่ใช่คน ฯลฯลฯลฯ โดยถือว่านั่นเป็น free speech นะครับ เอื๊อกกกก.....

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล