Skip to main content

คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง

 

Kasian Tejapira(4 ธ.ค.55)

 

(คำแถลงของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ภาษาอังกฤษ อ้างจากเว็บมติชนออนไลน์ )

คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) 

ดูจากคำอธิบายของสายการบิน (ข้อความภาษาอังกฤษ สื่อเนื้อหาชัดมาก เมื่อเทียบกับคำแปลไทยของทางสายการบินเอง) ไม่ได้เอ่ยเลยว่าที่ดำเนินการกับพนักงานท่านนั้นเป็นเพราะทรรศนะทางการเมืองใด ๆ ของเธอ หรือการระบายความรู้สึกเชิงลบต่อผู้โดยสารแต่ไม่ได้กระทำจริงตามนั้นของเธอ

หากอธิบายว่าสาเหตุเกิดจากการที่เธอเปิดเผยข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับผู้โดยสารท่านหนึ่งบนโซเชียลมีเดียโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเน้นความสำคัญของระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารของสายการบินเอง

นั่นแปลว่าด้วยหลักการและนโยบายเดียวกันนี้ หากมีพนักงานของสายการบินคนใดเปิดเผยข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับผู้โดยสารที่เป็นสมาชิกครอบครัวของผู้ที่มีทรรศนะทางการเมืองตรงข้ามกับคุณทักษิณ (เช่น สมาชิกครอบครัวของเสธ.อ้ายหรือคุณอภิสิทธิ์ เป็นต้น) ก็จะถูกดำเนินการเช่นกัน

นั่นแปลว่าสายการบินกำหนดให้พนักงานต้องรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้โดยสารทุกสีทุกฝ่าย/คุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารทุกคนในทางนโยบาย ถ้าคุณขึ้นสายการบินนี้ ข้อมูลส่วนตัวของคุณจะได้รับการคุ้มครองด้วยหลักการและมาตรฐานแบบนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร สีใด

ข้อความเฟสบุ๊คของคุณ Honey พนักงานสายการบิน แสดงความยอมรับผิดชอบตามหลักเกณฑ์การรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค (จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ ) ระบุว่า 

 

   “วันนี้ผึ้งได้ลาออกจากการเป็นพนักงานของสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิคแล้วค่ะ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาพพจน์ของบริษัท
    ผึ้งขอขอบคุณและเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนๆทุกคนที่ให้กำลังใจ แต่กฎระเบียบต่างๆ ที่มีไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยขององค์กร เราในฐานะสมาชิกขององค์กรก็ต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เหมือนกับ กฏหมายที่มีไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม ทุกคนก็ควรที่จะเคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกัน
    ผึ้งจึงอยากขอให้ทุกคนสนับสนุนการตัดสินใจ ของผึ้งด้วยนะคะ และโปรดอย่าตั้งข้อรังเกียจสายการบินคาเธ่แปซิฟิคในการรักษามาตรฐานของบริษัทเลยค่ะ
    ผึ้งมั่นใจว่าสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิคที่ผึ้งทำงานมานานถึง 24 ปี เป็นสายการบินที่มีมาตรฐานความปลอดภัยและการบริการในระดับโลก พนักงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มงวดและมีความเป็นมืออาชีพสูง เมื่อผึ้งทำผิดกฎข้อบังคับของบริษัท ผึ้งก็ต้องรับผิดชอบ เหมือนกับทุกคน ถ้าทำผิดกฎหมายก็ต้องยอมรับโทษ
    ถ้าเราทุกคน ยอมรับและปฏิบัติตามกฏหมายและกฏระเบียบของสังคม ทุกคนก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
    ผึ้งอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่มีกฏระเบียบและเคารพกฏหมาย ประเทศชาติของเราจะได้พัฒนาและมีความสงบสุข
    เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่เคารพรักอย่างสูงของพวกเราชาวไทย ในวันที่ 5 ธันวาคม นี้ เราทุกคนมาร่วมกันตั้งต้นทำความดีถวายพระองค์ท่าน ด้วยการประพฤติตนเป็นผู้ที่เคารพกฏระเบียบและกฏหมายของบ้านเมืองกันดีมั้ยคะ เพื่อพระองค์ท่านจะได้สบายพระทัยที่พสกนิกรของพระองค์เป็นผู้ที่เคารพหลักนิติรัฐนิติธรรมและทำร่วมมือกันให้บ้านเมืองของเราสงบสุข ขอบคุณค่ะ”
ข้อคิดกรณีแอร์โฮสเตส vs. แพทองธาร: ตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
 
ตรรกะที่อยู่เบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำที่เป็นปัญหาในกรณี "แอร์โฮสเตส vs. แพทองธาร" ก็คือเป้าหมาย "ชอบธรรม" ซะอย่าง ก็จะไม่เลือกวิธีการ แม้มันจะละเมิดกฎเกณฑ์หลักการอื่นใดก็ตามรวมทั้งความเป็นส่วนตัว ไม่คิดบ้างว่าถ้าคุณทำกับคนอื่น/ข้างอื่น คนอื่น/ข้างอื่นก็ทำกับฝ่ายคุณได้เช่นกัน (ครอบครัวของผู้นำฝ่ายค้าน, ครอบครัวแกนนำพันธมิตรฯก็อาจเจอได้เช่นกัน ถ้าไม่วางหลักห้ามปรามร่วมกันไว้บนฐานฉันทมติที่เหนือการเมืองเรื่องแบ่งข้าง)
 
เอาเข้าจริงนี่เป็นวิธีคิดก่อนสมัยใหม่มาก คือมองโลกชีวิตทั้งหมดแบบองค์รวมที่กำกับอยู่ใต้ตรรกะเดียว หลักการเดียว ระเบียบเดียว สมัยก่อนคือศาสนา แต่วิธีคิดเหล่านี้มาผลัดเปลี่ยนในโลกสมัยใหม่ ที่มีปริมณฑลต่าง ๆ หลากหลาย เช่น เศรษฐกิจ ธุรกิจ การศึกษา กฎหมาย ฯลฯ โดยแต่ละปริมณฑลก็มีจรรยาบรรณ, หลักการมาตรฐานวิชาชีพเฉพาะ คอยกำกับควบคุมหลากหลายกันออกไป คนสมัยใหม่จึงต้องแยก personal/ impersonal ในเวลาคุณอยู่ในปริมณฑลเฉพาะทางวิชาชีพ คุณก็ถูกกำหนดกำกับโดยกฎเกณฑ์ตรรกะอีกชุดที่ออกแบบมาเพื่อการดำเนินงานได้อย่างมีระเบียบราบรื่นของปริมณฑลนั้น และคุณถูกคาดหมายให้วาง "ความเป็นส่วนตัว" (อุดมการณ์, ศาสนา, เพศ, เชื้อชาติ ฯลฯ) เอาไว้ข้างนอก และทำตัวเสมือนฟันเฟืองหรือกลไกหรือหุ่นพยนต์ขององค์การหน่วยงานหรือสถาบันที่มีภาระหน้าที่เฉพาะนั้น ๆ ไม่เอาอคติส่วนตัวมาข้องแวะยุ่งเกี่ยว
 
ชีวิตในโลกสมัยใหม่ดำเนินงานราบรื่นได้ตราบที่ผู้คนแยกชีวิต personal/ impersonal เหล่านี้ออกจากกัน ทำตัวตามตรรกะกฎเกณฑ์ต่างปริมณฑล ทว่าการสูญเสียองค์รวมและความหมายโดยรวมของชีวิตโลกสังคมก็ทำให้ "ขาด" บางอย่างไป จะเรียกว่า authenticity ก็ได้ 
 
อุดมการณ์การเมืองแบบสุดโต่งสนองตอบอันนี้ให้ คือมันทำหน้าที่เสมือนหนึ่งศาสนาแต่ก่อน เข้าครอบงำครอบครองเหนือชีวิตโลกสังคมทั้งหมดให้อยู่ใต้ตรรกะกฎเกณฑ์เดียวกัน ดังนั้นถ้าต่างอุดมการณ์ เป็นหมอก็จะไม่รักษาคนไข้ต่างอุดมการณ์, เป็นแอร์โฮสเตสอาจไม่ต้อนรับผู้โดยสารต่างอุดมการณ์ ฯลฯ และรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ทำตัวจริงแท้ตามความเชื่ออุดมการณ์สุดโต่งของตนโดยไม่เสแสร้งแสดงบท โดยไม่พักต้องเคารพกฎเกณฑ์ตรรกะเฉพาะปริมณฑลต่าง ๆ ที่ชีวิตตนเข้าไป

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม