Skip to main content

ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง

ภาพประกอบสรุปประเด็นสำคัญจากรายงาน Global Trends 2030

Kasian Tejapira (24/12/2012)

สภาข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ (National Intelligence Council) ซึ่งเป็นหน่วยงานของผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่ทำงานให้สำนักงานผู้อำนวยการข่าวกรองของสหรัฐฯ เพิ่งเผยแพร่รายงาน Global Trends 2030 หนาเกือบ ๑๖๐ หน้า ซึ่งเป็นชุดรายงานประจำฉบับที่ ๕ เพื่อเป็นกรอบการมองแนวโน้มโลกใน ๑๘ ปีข้างหน้า สำหรับหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯและผู้วางนโยบายระดับต่าง ๆ ใช้กันอย่างกว้างขวางเพื่อวางแผนงานรับมือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (เคาะดาวน์โหลดรายงานได้ที่ลิงค์ http://publicintelligence.net/global-trends-2030/)

สำหรับข้อสังเกตหลัก ๆ น่าสนใจของรายงานฉบับนี้ มีอาทิ:

- ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป เอาเข้าจริงจะไม่มีประเทศเดียวโดด ๆ ใดในโลกมีอิทธิพลแบบนั้นเลย ทว่าพลังอำนาจจะตกไปอยู่กับพันธมิตร/แนวร่วมระหว่างประเทศต่าง ๆ แทน


- เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็น ๑.๔ เท่าของเศรษฐกิจญี่ปุ่นตอนนั้น, เศรษฐกิจเอเชียจะใหญ่กว่าเศรษฐกิจของทวีปอเมริกาเหนือกับยุโรปรวมกัน เศรษฐกิจโลกจะพึ่งพาขึ้นต่อสภาพเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายมากขึ้น แทนโลกตะวันตก

- อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าจีนจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ คือ

๑) เศรษฐกิจจีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอลงในประเทศ เช่น น้ำซึ่งขาดแคลนทางภาคเหนือของจีน

๒) สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว จำนวนคนแก่เป็นสัดส่วนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับคนวัยทำงานเพราะผลลัพธ์รวมของนโยบายคุมจำนวนประชากร (ให้มีลูกได้ครอบครัวละคน) เผลอ ๆ สังคมจีนจะแก่เสียก่อนจะทันรวยพออุ้มชูเลี้ยงดูคนแก่เหล่านั้น

- โลกจะต้องการทรัพยากรมากขึ้นในสภาพที่ประชากรโลกเพิ่มจาก ๗.๑ พันล้านคนในปัจจุบัน --> ๘ พันล้านคนในปี ๒๐๓๐, เกือบครึ่งของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในเขตที่มีปัญหาน้ำอย่างหนักหน่วง สภาพทรัพยากรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกที่มีจำกัดจะเพิ่มโอกาสเกิดความขัดแย้งในภูมิภาคแอฟริกา ตะวันออกกลางและเอเชียใต้

- จากนี้บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรงที่เกิดจากความรู้สึกไม่มั่นคงในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลกมากขึ้นในอนาคต (แบบที่สหรัฐฯกำลังทำในซีเรีย) เช่นในเอเชียอาคเนย์และตะวันออกกลาง และสหรัฐฯจะทำเช่นนั้นได้ดีหากสามารถเล่นบทดังกล่าวร่วมกันกับจีน หากทำได้จริง ก็น่าจะเป็นฉากอนาคตโลกที่ดีที่สุดในมุมมองของรายงาน

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง