Skip to main content

ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง

ภาพประกอบสรุปประเด็นสำคัญจากรายงาน Global Trends 2030

Kasian Tejapira (24/12/2012)

สภาข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ (National Intelligence Council) ซึ่งเป็นหน่วยงานของผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่ทำงานให้สำนักงานผู้อำนวยการข่าวกรองของสหรัฐฯ เพิ่งเผยแพร่รายงาน Global Trends 2030 หนาเกือบ ๑๖๐ หน้า ซึ่งเป็นชุดรายงานประจำฉบับที่ ๕ เพื่อเป็นกรอบการมองแนวโน้มโลกใน ๑๘ ปีข้างหน้า สำหรับหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯและผู้วางนโยบายระดับต่าง ๆ ใช้กันอย่างกว้างขวางเพื่อวางแผนงานรับมือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (เคาะดาวน์โหลดรายงานได้ที่ลิงค์ http://publicintelligence.net/global-trends-2030/)

สำหรับข้อสังเกตหลัก ๆ น่าสนใจของรายงานฉบับนี้ มีอาทิ:

- ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป เอาเข้าจริงจะไม่มีประเทศเดียวโดด ๆ ใดในโลกมีอิทธิพลแบบนั้นเลย ทว่าพลังอำนาจจะตกไปอยู่กับพันธมิตร/แนวร่วมระหว่างประเทศต่าง ๆ แทน


- เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็น ๑.๔ เท่าของเศรษฐกิจญี่ปุ่นตอนนั้น, เศรษฐกิจเอเชียจะใหญ่กว่าเศรษฐกิจของทวีปอเมริกาเหนือกับยุโรปรวมกัน เศรษฐกิจโลกจะพึ่งพาขึ้นต่อสภาพเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายมากขึ้น แทนโลกตะวันตก

- อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าจีนจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ คือ

๑) เศรษฐกิจจีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอลงในประเทศ เช่น น้ำซึ่งขาดแคลนทางภาคเหนือของจีน

๒) สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว จำนวนคนแก่เป็นสัดส่วนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับคนวัยทำงานเพราะผลลัพธ์รวมของนโยบายคุมจำนวนประชากร (ให้มีลูกได้ครอบครัวละคน) เผลอ ๆ สังคมจีนจะแก่เสียก่อนจะทันรวยพออุ้มชูเลี้ยงดูคนแก่เหล่านั้น

- โลกจะต้องการทรัพยากรมากขึ้นในสภาพที่ประชากรโลกเพิ่มจาก ๗.๑ พันล้านคนในปัจจุบัน --> ๘ พันล้านคนในปี ๒๐๓๐, เกือบครึ่งของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในเขตที่มีปัญหาน้ำอย่างหนักหน่วง สภาพทรัพยากรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกที่มีจำกัดจะเพิ่มโอกาสเกิดความขัดแย้งในภูมิภาคแอฟริกา ตะวันออกกลางและเอเชียใต้

- จากนี้บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรงที่เกิดจากความรู้สึกไม่มั่นคงในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลกมากขึ้นในอนาคต (แบบที่สหรัฐฯกำลังทำในซีเรีย) เช่นในเอเชียอาคเนย์และตะวันออกกลาง และสหรัฐฯจะทำเช่นนั้นได้ดีหากสามารถเล่นบทดังกล่าวร่วมกันกับจีน หากทำได้จริง ก็น่าจะเป็นฉากอนาคตโลกที่ดีที่สุดในมุมมองของรายงาน

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล