Skip to main content

ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง

ภาพประกอบสรุปประเด็นสำคัญจากรายงาน Global Trends 2030

Kasian Tejapira (24/12/2012)

สภาข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ (National Intelligence Council) ซึ่งเป็นหน่วยงานของผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่ทำงานให้สำนักงานผู้อำนวยการข่าวกรองของสหรัฐฯ เพิ่งเผยแพร่รายงาน Global Trends 2030 หนาเกือบ ๑๖๐ หน้า ซึ่งเป็นชุดรายงานประจำฉบับที่ ๕ เพื่อเป็นกรอบการมองแนวโน้มโลกใน ๑๘ ปีข้างหน้า สำหรับหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯและผู้วางนโยบายระดับต่าง ๆ ใช้กันอย่างกว้างขวางเพื่อวางแผนงานรับมือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (เคาะดาวน์โหลดรายงานได้ที่ลิงค์ http://publicintelligence.net/global-trends-2030/)

สำหรับข้อสังเกตหลัก ๆ น่าสนใจของรายงานฉบับนี้ มีอาทิ:

- ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป เอาเข้าจริงจะไม่มีประเทศเดียวโดด ๆ ใดในโลกมีอิทธิพลแบบนั้นเลย ทว่าพลังอำนาจจะตกไปอยู่กับพันธมิตร/แนวร่วมระหว่างประเทศต่าง ๆ แทน


- เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็น ๑.๔ เท่าของเศรษฐกิจญี่ปุ่นตอนนั้น, เศรษฐกิจเอเชียจะใหญ่กว่าเศรษฐกิจของทวีปอเมริกาเหนือกับยุโรปรวมกัน เศรษฐกิจโลกจะพึ่งพาขึ้นต่อสภาพเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายมากขึ้น แทนโลกตะวันตก

- อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าจีนจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ คือ

๑) เศรษฐกิจจีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอลงในประเทศ เช่น น้ำซึ่งขาดแคลนทางภาคเหนือของจีน

๒) สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว จำนวนคนแก่เป็นสัดส่วนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับคนวัยทำงานเพราะผลลัพธ์รวมของนโยบายคุมจำนวนประชากร (ให้มีลูกได้ครอบครัวละคน) เผลอ ๆ สังคมจีนจะแก่เสียก่อนจะทันรวยพออุ้มชูเลี้ยงดูคนแก่เหล่านั้น

- โลกจะต้องการทรัพยากรมากขึ้นในสภาพที่ประชากรโลกเพิ่มจาก ๗.๑ พันล้านคนในปัจจุบัน --> ๘ พันล้านคนในปี ๒๐๓๐, เกือบครึ่งของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในเขตที่มีปัญหาน้ำอย่างหนักหน่วง สภาพทรัพยากรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกที่มีจำกัดจะเพิ่มโอกาสเกิดความขัดแย้งในภูมิภาคแอฟริกา ตะวันออกกลางและเอเชียใต้

- จากนี้บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรงที่เกิดจากความรู้สึกไม่มั่นคงในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลกมากขึ้นในอนาคต (แบบที่สหรัฐฯกำลังทำในซีเรีย) เช่นในเอเชียอาคเนย์และตะวันออกกลาง และสหรัฐฯจะทำเช่นนั้นได้ดีหากสามารถเล่นบทดังกล่าวร่วมกันกับจีน หากทำได้จริง ก็น่าจะเป็นฉากอนาคตโลกที่ดีที่สุดในมุมมองของรายงาน

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม