Skip to main content

 

ภาพล้อเลียนจาก businessweek.com
 
มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการคลังของอเมริกากันมากว่าเป็น "ประชานิยม" บ้าง, จนต้องเตรียมเจอสภาพ "หน้าผาการคลัง" บ้าง เห็นว่าการขาดดุลงบประมาณขนานใหญ่เป็นตัวปัญหาที่ต้องแก้ให้ได้ มิฉะนั้นอเมริกาจะกลายเป็นเหมือนกรีซตอนนี้ ฯลฯ
 
ผมคิดว่าหลวมกว้างและง่ายไปหน่อยที่จะเรียกนโยบายต่าง ๆ ที่นำมาซึ่งภาวะขาดดุลงบประมาณในอเมริกาว่า "ประชานิยม" ถ้าจำได้ งบประมาณอเมริกันสมดุล (เกินดุลหน่อย ๆ ด้วยซ้ำ ถ้าจำไม่ผิด) สมัยปธน.บิล คลินตัน การใช้จ่ายมากกมายขึ้นมาเกิดเพราะสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะสงครามอิรัก บวกกับมาตรการตัดลดภาษีให้แก่คนรวยที่สุด ซึ่งทั้งสองนโยบายนี้เกิดสมัยปธน.บุชผู้ลูก จะบอกว่า "ประชานิยม" ก็เบนไปนะครับ บอกว่า "เสรีนิยมใหม่+อนุกรักษ์นิยมใหม่" จะแม่นยำกว่า
 
แต่ในความเห็นผม กล่าวให้ถึงที่สุดปัญหาขาดดุลงบประมาณอเมริกันที่มาหนักหน่วงขึ้นหลายปีหลังนี้ มูลเหตุสำคัญ ไม่ได้เกิดจากนโยบายเสรีนิยมใหม่+อนุรักษ์นิยมใหม่สมัยปธน.บุชผู้ลูกด้วยซ้ำไป แต่เกิดจากฟองสบู่ซับไพรม์แตกต่างหาก (อาศัยการปล่อยกู้หนี้จำนองบ้านด้อยคุณภาพมากระตุ้น demand ในหมู่คนชั้นล่างของสังคมซึ่งหางานยากและค่าแรงต่ำมานานแล้ว เรียกแนวนโยบายกดดอกเบี้ย กระตุ้นเงินกู้คนจนอันนี้ว่า privatized Keynesianism) อันนั้นส่งผลต่อเนื่องหลายอย่าง ได้แก่ ๑) รัฐบาลต้องทุ่มเงินมหาศาลนับล้านล้านดอลล่าร์อุ้มระบบการเงินการธนาคารสหรัฐฯไว้ รวมทั้งเข้าไปซื้อหุ้นข้างมากในกิจการอสังหาฯและประกันภัยสำคัญของประเทศด้วย ๒) ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยต่อเนื่องจากวิกฤตซับไพรม์ คนตกงานเยอะ ธุรกิจกดตัว ภาคเอกชนไม่ลงทุน รัฐจะเก็บภาษีได้จากไหนกัน? ไม่ต้องพูดถึงภาคเอกชนก็ไม่ลงทุนใหม่เพื่อจ้างงาน ขยายการผลิต (ลงทุนไปใครจะซื้อ) ดังนั้นจึงจำเป็นที่รัฐอเมริกันต้องใช้จ่ายงบประมาณเกินดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พยุงประคองเศรษฐกิจที่ยอบแยบไว้ ถ้ารัฐไม่ลงทุนผ่านการขาดดุลงบประมาณตอนนี้แล้ว จะไปหา demand ในตลาดอเมริกันจากไหนกัน?
 
แต่พูดทั้งหมดนี้แล้ว ฐานคิดที่พลาดและเข้าใจผิดที่สุดเกี่ยวกับเศรษฐกิจอเมริกา เป็นไปดังที่ Richard Duncan นักวิเคราะห์การเงินอเมริกันที่วิเคราะห์คาดการณ์วิกฤตต้มยำกุ้งของไทยไว้ก่อนใครเมื่อสิบห้าปีก่อนระบุไว้ คือเสียงวิจารณ์ห่วงเรื่องหนี้สาธารณะอเมริกันทั้งหลายนั้น ตั้งอยู่บนความไม่เข้าใจลักษณะเฉพาะของเศรษฐกิจอเมริกันตอนนี้ที่กลายเป็นระเบียบที่เขาเรียกว่า creditism (สินเชื่อนิยม) หรือ Financialized Capitalism อย่างหนักไปแล้ว มันอยู่ได้เพราะสินเชื่อ คุณหยุดสินเชื่อเมื่อไหร่ (ให้รัฐเลิกขาดดุลบัดเดี่ยวนี้) เศรษฐกิจอเมริกันจะตายชักกะแด่ว ๆ ทันที เพราะมันเสพติดสินเชื่อชนิดถอนตัวไม่ได้ง่าย ๆ แล้ว และการอุ้มภาคเอกชนของรัฐอเมริกันนั้นใหญ่โตมากมายกว่าที่เราคิดมาก เรียกว่าเข้าไปช่วยกระตุ้นในทุกภาค ถอนเมื่อไหร่ ชักกระตุกทันทีและโลกจะพลอยชักไปด้วย นี่คือเรื่องที่ยังวิ่งตามกันไม่ทันในหมู่ผู้วิเคราะห์วิจารณ์ fiscal cliff ของเศรษฐกิจอเมริกันที่ผ่านมา
 
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง