Skip to main content

 

ภาพล้อเลียนจาก businessweek.com
 
มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการคลังของอเมริกากันมากว่าเป็น "ประชานิยม" บ้าง, จนต้องเตรียมเจอสภาพ "หน้าผาการคลัง" บ้าง เห็นว่าการขาดดุลงบประมาณขนานใหญ่เป็นตัวปัญหาที่ต้องแก้ให้ได้ มิฉะนั้นอเมริกาจะกลายเป็นเหมือนกรีซตอนนี้ ฯลฯ
 
ผมคิดว่าหลวมกว้างและง่ายไปหน่อยที่จะเรียกนโยบายต่าง ๆ ที่นำมาซึ่งภาวะขาดดุลงบประมาณในอเมริกาว่า "ประชานิยม" ถ้าจำได้ งบประมาณอเมริกันสมดุล (เกินดุลหน่อย ๆ ด้วยซ้ำ ถ้าจำไม่ผิด) สมัยปธน.บิล คลินตัน การใช้จ่ายมากกมายขึ้นมาเกิดเพราะสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะสงครามอิรัก บวกกับมาตรการตัดลดภาษีให้แก่คนรวยที่สุด ซึ่งทั้งสองนโยบายนี้เกิดสมัยปธน.บุชผู้ลูก จะบอกว่า "ประชานิยม" ก็เบนไปนะครับ บอกว่า "เสรีนิยมใหม่+อนุกรักษ์นิยมใหม่" จะแม่นยำกว่า
 
แต่ในความเห็นผม กล่าวให้ถึงที่สุดปัญหาขาดดุลงบประมาณอเมริกันที่มาหนักหน่วงขึ้นหลายปีหลังนี้ มูลเหตุสำคัญ ไม่ได้เกิดจากนโยบายเสรีนิยมใหม่+อนุรักษ์นิยมใหม่สมัยปธน.บุชผู้ลูกด้วยซ้ำไป แต่เกิดจากฟองสบู่ซับไพรม์แตกต่างหาก (อาศัยการปล่อยกู้หนี้จำนองบ้านด้อยคุณภาพมากระตุ้น demand ในหมู่คนชั้นล่างของสังคมซึ่งหางานยากและค่าแรงต่ำมานานแล้ว เรียกแนวนโยบายกดดอกเบี้ย กระตุ้นเงินกู้คนจนอันนี้ว่า privatized Keynesianism) อันนั้นส่งผลต่อเนื่องหลายอย่าง ได้แก่ ๑) รัฐบาลต้องทุ่มเงินมหาศาลนับล้านล้านดอลล่าร์อุ้มระบบการเงินการธนาคารสหรัฐฯไว้ รวมทั้งเข้าไปซื้อหุ้นข้างมากในกิจการอสังหาฯและประกันภัยสำคัญของประเทศด้วย ๒) ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยต่อเนื่องจากวิกฤตซับไพรม์ คนตกงานเยอะ ธุรกิจกดตัว ภาคเอกชนไม่ลงทุน รัฐจะเก็บภาษีได้จากไหนกัน? ไม่ต้องพูดถึงภาคเอกชนก็ไม่ลงทุนใหม่เพื่อจ้างงาน ขยายการผลิต (ลงทุนไปใครจะซื้อ) ดังนั้นจึงจำเป็นที่รัฐอเมริกันต้องใช้จ่ายงบประมาณเกินดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พยุงประคองเศรษฐกิจที่ยอบแยบไว้ ถ้ารัฐไม่ลงทุนผ่านการขาดดุลงบประมาณตอนนี้แล้ว จะไปหา demand ในตลาดอเมริกันจากไหนกัน?
 
แต่พูดทั้งหมดนี้แล้ว ฐานคิดที่พลาดและเข้าใจผิดที่สุดเกี่ยวกับเศรษฐกิจอเมริกา เป็นไปดังที่ Richard Duncan นักวิเคราะห์การเงินอเมริกันที่วิเคราะห์คาดการณ์วิกฤตต้มยำกุ้งของไทยไว้ก่อนใครเมื่อสิบห้าปีก่อนระบุไว้ คือเสียงวิจารณ์ห่วงเรื่องหนี้สาธารณะอเมริกันทั้งหลายนั้น ตั้งอยู่บนความไม่เข้าใจลักษณะเฉพาะของเศรษฐกิจอเมริกันตอนนี้ที่กลายเป็นระเบียบที่เขาเรียกว่า creditism (สินเชื่อนิยม) หรือ Financialized Capitalism อย่างหนักไปแล้ว มันอยู่ได้เพราะสินเชื่อ คุณหยุดสินเชื่อเมื่อไหร่ (ให้รัฐเลิกขาดดุลบัดเดี่ยวนี้) เศรษฐกิจอเมริกันจะตายชักกะแด่ว ๆ ทันที เพราะมันเสพติดสินเชื่อชนิดถอนตัวไม่ได้ง่าย ๆ แล้ว และการอุ้มภาคเอกชนของรัฐอเมริกันนั้นใหญ่โตมากมายกว่าที่เราคิดมาก เรียกว่าเข้าไปช่วยกระตุ้นในทุกภาค ถอนเมื่อไหร่ ชักกระตุกทันทีและโลกจะพลอยชักไปด้วย นี่คือเรื่องที่ยังวิ่งตามกันไม่ทันในหมู่ผู้วิเคราะห์วิจารณ์ fiscal cliff ของเศรษฐกิจอเมริกันที่ผ่านมา
 
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม