Skip to main content

Kasian Tejapira(28 ม.ค.56)

สนทนาแลกเปลี่ยนว่าด้วยตัวแบบการเมืองฝรั่งเศส

อาจารย์ ปิยบุตร แสงกนกกุล(Piyabutr Saengkanokkul) ตั้งข้อสังเกตว่า:

"ทำไมพูดถึงประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสต้องคิดถึงปฏิวัติฝรั่งเศส และการตัดหัวกษัตริย์ โค่นกษัตริย์กันอย่างเดียว จริงๆมันมีเรื่องน่าสนใจอีกเยอะ การลุกฮือในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสไม่ได้ตามมาด้วยการโค่นล้มกษัตริย์ทุกครั้ง การเซ็ตระบบชีวิตการเมืองของฝรั่งเศสใช้เวลานานมาก กว่าฝรั่งเศสจะจัดการกษัตริย์อยู่หมัดต้องรอไปถึง 1899 ที่ขยับสาธารณรัฐแบบก้าวหน้า หลังจากต้องเป็นสาธารณรัฐค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่ 1870 ด้วยการประนีประนอมกับพวกกษัตริย์นิยม

ในความรับรู้ของคนไทย ฝรั่งเศส คือ ล้มเจ้า หัวรุนแรง ใครเรียนที่นี่ ก็เป็นอันตราย

ไม่จริงหรอกครับ จบฝรั่งเศสมาเชยๆก็เยออนุรักษนิยมก็มาก เขาอาจสนใจจอมพลเปแต็ง เทคนิคเนติบริกรสมัยวิชี่ก็ได้"

 

ผมนึกอะไรขึ้นมาได้คิดว่าน่าสนใจ จึงสนทนาแลกเปลี่ยนไปว่า:

มี 2 ประเด็นน่าสนใจที่คิดต่อได้จากคอมเมนต์ของอ.ปิยบุตรข้างต้น

 

1) เป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์นะครับว่าในรัชกาลที่ 5 และ 6 โปรดส่งเจ้านายเชื้อพระวงศ์ไปศึกษาต่อประเทศต่าง ๆ ในยุโรปที่มีสถาบันกษัตริย์และ/หรือสถาบันกษัตริย์ยังทรงอำนาจอิทธิพลในทางการเมืองการปกครองอยู่ มากกว่าประเทศที่ปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ดังนั้น อังกฤษและเยอรมนีจึงถูกเลือกมากกว่าฝรั่งเศส และสำหรับผู้ที่ไปไม่ว่าเจ้านายหรือขุนนางก็มีพระราชหัตถเลขากำชับกำชาตักเตือนว่าให้เลือกรับเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองมา อย่าไปรับการเมืองแบบระบบพรรคการเมืองหรือรัฐสภาซึ่งไม่เหมาะ ในสมัยร.6 ถึงแก่ทรงให้นักเรียนไทยที่ไปเรียนต่อนอกกล่าวคำปฏิญญาณที่มีเนื้อหาทำนองคล้ายกันคือไปเรียนแล้วอย่าคิดกบฏต่อชาติและราชบัลลังก์อะไรทำนองนั้น

2) กระแสอนุรักษ์นิยม-อำนาจนิยมรวมศูนย์จากนักกฎหมายและนักรัฐศาสตร์ฝรั่งเศสนั้นเด่นมากในช่วงราวหลัง WWII จากตัวแบบสาธารณรัฐที่ 5 ของเดอโกลครับ นี่คือแรงบันดาลใจเบื้องหลัง อมร จันทรสมบูรณ์ และ คำนูณ สิทธิสมาน เวลาพูดถึงปฏิรูปการเมือง และถวายพระราชอำนาจคืน เพียงแต่ปรับเปลี่ยนจากผู้นำเข้มแข็งอย่างเดอโกล มาเป็นผู้นำแบบไทย ๆ เช่น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และวางบทบาทของสถาบันกษัตริย์ไว้ในฐานะหลักหมายอ้างอิงของอำนาจสถาปนารัฐแทนประชาชนในฝรั่งเศส การอ้างถึงตัวแบบการเมืองของเดอโกลหรือ "ลัทธิเดอโกล" นี้ทำกันมาตั้งแต่สมัย 2501 แล้ว จอมพลสฤษดิ์เคยยกมาข่มขู่ ส.ส.ที่กระด้างกระเดื่องด้วยซ้ำไป

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

3 หน้าของจอมพลสฤษดิ์

การสนทนาแลกเปลี่ยนเรื่องฝรั่งเศสกับ อ. ปิยบุตร แสงกนกกุล ทำให้นึกอะไรบางอย่างน่าสนใจเกี่ยวกับจอมพลสฤษดิ์ขึ้นมาได้

ความที่ตกอยู่ใต้อำนาจอิทธิพลเถื่อนของ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ (เจ้าของสมญา "บุรุษเหล็กแห่งเอเชีย" ซึ่งลูกน้องตำรวจ "อัศวินแหวนเพชร" ของท่านฆ่าโหดฝ่ายค้านและนักนสพ. ไม่ว่าสายอ.ปรีดี สายอีสาน ผู้นำไทยมุสลิมชายแดนใต้ สายก๊กมินตั๋งและคนที่อิสระไม่ยอมขึ้นต่อไปนับสิบ ๆ ราย และ จอมพลป. มานานปี ทำให้ฝ่ายค้านกลุ่มต่าง ๆ เกิดความหวังวาววามเรืองรองต่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อเห็นเขาแสดงบทบาทต่อต้านรัฐบาลจอมพลป.ออกมา โดยเฉพาะในคราวนักศึกษาเดินขบวนต่อต้านเลือกตั้งสกปรกจนบุกพังประตูทำเนียบต้นปี 2500 แล้วสฤษดิ์ออกมาปราศรัยหยุดม็อบ รวมทั้งแสดงตนถวายความจงรักภักดีใกล้ชิดสถาบันกษัตริย์

ฝ่ายซ้ายโดยเฉพาะสายปัญญาชนนักนสพ.วาดฝันว่าสฤษดิ์อาจกลายเป็น "นัสเซอร์" ของเมืองไทย ดังที่นายทหารชาตินิยมท่านนั้นนำสมัครพรรคพวกโค่นระบอบกษัตริย์อียิปต์ลง ดำเนินนโยบายอิสระต่อต้านจักรวรรดินิยมตะวันตก (เช่น รับรองและเปิดสัมพันธ์การทูตกับจีนแดง กระชับสัมพันธ์กับโซเวียต) และยึดคลองสุเอซในกรรมสิทธิ์ของบริษัทต่างชาติที่รัฐบาลตะวันตกถือหุ้นอยู่ด้วยมาเป็นของชาติอียิปต์ จนถึงแก่อังกฤษร่วมกับฝรั่งเศสและอิสราเอลส่งกำลังบุกยึดคลองสุเอซ บอมบ์กรุงไคโร แล้วอเมริกากับโซเวียตแทรกแซงไกล่เกลี่ยผ่านสหประชาชาติให้ 3 ประเทศนั้นยุติและถอนกำลังออกไปในที่สุด

ส่วนฝ่ายขวา โดยเฉพาะพวกนักกฎหมายนักรัฐศาสตร์ มีภาพฝันว่าสฤษดิ์อาจกลายเป็น "เดอโกล" ของเมืองไทย แล้วจะช่วยแก้ปัญหารัฐบาลไม่มั่นคง ไร้เสถียรภาพ เพราะส.ส.กระด้างกระเดื่อง ต่อรองเอาผลประโยชน์งบประมาณและสินบนบ่อย ทำให้รัฐราชการบริหารประเทศไม่ได้ดังใจ ดังที่นายพลเดอโกลนำการปฏิรูปการเมืองฝรั่งเศส สร้างรัฐธรรมนูญใหม่แห่งสาธารณรัฐที่ 5 เพื่อแก้ไขปัญหาไร้เสถียรภาพทางการเมืองโดยทำให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็งขึ้นมา ไม่ถูกล้มโดยส.ส.ในสภาบ่อย ๆ ง่าย ๆ ดังในสาธารณรัฐที่ 4

ภาพซ้าย "นัสเซอร์" ขวา "เดอโกล"

ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล"

ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง