Skip to main content

เกษียร เตชะพีระ


ในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ลัทธิจังหวัดนิยมหรือเอกลักษณ์จังหวัดแบบบรรหารบุรีในหนังสือ Political Authority and Provincial Identity in Thailand: The Making of Banharn-buri(ค.ศ. ๒๐๑๑) ดร. โยชิโนริ นิชิซากิ ได้ประยุกต์แนวคิดของ Katherine Verdery ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาแห่ง City University of New York ผู้ค้นพบจากการศึกษาลัทธิชาตินิยมในยุโรปตะวัน-ออกหลังสิ้นสุดระบอบสังคมนิยมลงไปว่า มีเหตุปัจจัย ๒ ประกาที่เอื้อให้ลัทธิชาตินิยมรุ่งเรืองขึ้นได้แก่มี “ฮีโร่” หรือคนดีศรีแผ่นดินปรากฏตัวขึ้น และคนทั่วไปรู้สึกร่วมกันว่าพวกตนตกเป็นเหยื่อถูกข่มเหงรังแกเอารัดเอาเปรียบและต้องทนทุกข์ลำเค็ญแสนสาหัส

นิชิซากิเห็นว่าเหตุปัจจัยทั้งสองก็มีในสุพรรณบุรีเช่นกันกล่าวคือมีทั้งคุณบรรหารเป็นคนดีศรีสุพรรณฯและคนสุพรรณฯก็รู้สึกว่าถูกรัฐราชการส่วนกลางทอดทิ้งละเลยให้ลำบากล้าหลังไม่พัฒนาอยู่นานปี ฉะนั้นมันจึงเอื้ออำนวยให้ลัทธิจังหวัดนิยมแบบบรรหารบุรีรุ่งเรืองขึ้นได้ในทำนองเดียวกัน เพียงแต่ย่อส่วนลัทธินิยมเอกลักษณ์รวมหมู่จากปรากฏการณ์ระดับประเทศ (ชาตินิยม) ลงมาเป็นระดับจังหวัด (จังหวัดนิยม) แค่นั้นเอง

คำถามชวนคิดก็คือแล้วเอกลักษณ์ระดับจังหวัดหรือลัทธิจังหวัดนิยมในประเทศหนึ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์ดำรงอยู่คู่กันอย่างไรกับเอกลักษณ์แห่งชาติหรือลัทธิชาตินิยมที่มีขอบเขตกินความใหญ่โตกว้างขวางครอบคลุมกว่าในประเทศนั้น ๆ เล่า?

จากกรณีศึกษาบรรหารบุรี นิชิซากิสรุปว่าการดำรงอยู่เคียงคู่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันระหว่างเอกลักษณ์ระดับจังหวัดกับเอกลักษณ์แห่งชาติเป็นไปด้วยดีเมื่อเอกลักษณ์จังหวัดระมัดระวังจำกัดขอบเขต ไม่ก้าวล้ำก้ำเกินเอกลักษณ์แห่งชาติซึ่งมีสถาบันกษัตริย์เป็นแกนกลาง สรุปรวบยอดก็คือเอกลักษณ์จังหวัดนิยมแบบบรรหารบุรีอยู่ใต้ร่มพระบารมีราชาชาตินิยมอย่างราบรื่นกลมกลืนเรื่อยมา โดยตามรอยเบื้องพระยุคลบาทในแบบอย่างแนวทางพระราชอำนาจนำในการดูแลทุกข์สุข ทำนุบำรุงชีวิตความเป็นอยู่และรักษาความมั่นคงของพื้นที่และอาณาราษฎรชาวสุพรรณบุรี

อาทิเช่น เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้มีการจัดพระราชพิธีเปิดโรงเรียนบรรหาร-แจ่มใส ๓ ที่ก่อสร้างด้วยเงินอุดหนุนของคุณบรรหารขึ้นที่อำเภอด่านช้างซึ่งอยู่เหนือสุดและทุร-กันดารที่สุดของสุพรรณบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธี ณ อำเภอด่านช้างด้วยพระองค์เองเป็นครั้งแรก ปรากฏว่าชาวอำเภอด่านช้างพากันมารับเสด็จด้วยความตื่นเต้นที่จะได้ชื่นชมพระบารมีของทั้งสองพระองค์ถึง ๕ - ๖ พันคนรวมทั้งชนชาติกะเหรี่ยงและโซ่งที่เป็นประชากรราวกึ่งหนึ่งของอำเภอด้วย

ในวโรกาสนี้ คุณบรรหารได้ริเริ่มโครงการหลายอย่างเกี่ยวกับลูกเสือชาวบ้านขึ้นที่อ.ด่าน-ช้างด้วย โดยคุณหมอบัณฑิต เลขวัต รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช น้องเขยของคุณบรรหารและแกนนำลูกเสือชาวบ้านสุพรรณบุรี เป็นกำลังสำคัญ เนื่องจากอ.ด่านช้างเป็นเขตชนชาติส่วนน้อยและทุรกันดารไกลปืนเที่ยง จึงกลายเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประ-เทศไทยอย่างเข้มข้นมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลปฏิวัติของจอมพลสฤษดิ์ พระราชพิธีนี้จึงเป็นโอกาสให้ราษฎรชาวด่านช้างได้รับเสด็จและชมพระบารมีองค์พระประมุขของชาติอย่างใกล้ชิดกว่าที่เคยมีมาแต่ก่อน คุณบรรหารยังได้ทูลเกล้าฯถวายเงิน ๑ แสนบาทเพื่อสนับสนุนกิจกรรมลูกเสือชาวบ้านทั่วประเทศในครั้งนี้ด้วย หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของสุพรรณบุรีและสถานีวิทยุแห่งประเทศไทยได้รายงานข่าวพระราชพิธีครั้งนี้และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างครึกโครม

ชั่วสองสัปดาห์ให้หลัง ในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ คุณบรรหารยังได้ร่วมกับสมาคมชาวสุพรรณบุรีจัดแสดงละครปลุกใจอิงประวัติศาสตร์เรื่อง “เลือดสุพรรณ” ของหลวงวิจิตรวาทการขึ้นที่โรงละครแห่งชาติ เพื่อสดุดีเกียรติประวัติความกล้าหาญและสามัคคีของชาวสุพรรณฯในการลุกขึ้นต่อต้านพม่าข้าศึก และพระวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาฝ่ายพม่า ณ หนองสาหร่าย สุพรรณบุรีในครั้งนั้น ละครเรื่องนี้เคยเป็นที่นิยมมากสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เรื้อร้างไปหลังสงคราม การรื้อฟื้นละครเรื่องนี้มาจัดแสดงใหม่ได้การสนับสนุนจากภรรยาม่ายของหลวงวิจิตรฯด้วย

เนื้อเรื่องและเพลงหลักของละครนี้สื่อสาระสำคัญทางการเมืองที่เกี่ยวร้อยลัทธิชาตินิยมไทยซึ่งมีพระมหากษัตริย์นักรบเป็นแก่นแกนหลักชัย เข้ากับเอกลักษณ์จังหวัดนิยมของสุพรรณบุรีอย่างสอดบรรสานเชื่อมโยงคล้องจองกลมกลืนไปด้วยกัน ปลุกทั้งจิตใจรักชาติและรักสุพรรณฯไปพร้อมกันในคราวเดียว ดังเห็นได้จากเนื้อเพลง “เลือดสุพรรณ” ที่แต่งโดยหลวงวิจิตรวาทการว่า:

“มาด้วยกัน มาด้วยกัน เลือดสุพรรณเอ๋ย
เลือดสุพรรณนี้เข้าประจัญ อย่าได้พรั่นเลย.....
เลือดสุพรรณเหยหาญในการศึก เหี้ยมฮึกกล้าสู้ไม่รู้หนี
ไม่ครั่นคร้ามถามใจต่อไพรี ผู้ใดมีมีดพร้าคว้ามารบ
อยู่ไม่สุขเขามารุกแดนตระหน่ำ ให้ชอกช้ำแสนอนาถชาติไทยเอ๋ย
เขาเฆี่ยนฆ่าเพราะว่าเห็นเป็นเชลย จะนิ่งเฉยอยู่ทำไมพวกไทยเรา
อันเมืองไทยเป็นของไทยใช่ของอื่น มาต่อสู้ กู้คืนเถอะเราเอ๋ย
ถึงตัวตายอย่าเสียดายชีวิตเลย มาเถอะเหวยพวกเรามากล้าประจัญ”

นอกจากจัดแสดงที่โรงละครแห่งชาติแล้ว สองวันถัดมา สถานีโทรทัศน์ช่อง ๗ และ ๙ ยังได้ถ่ายทอดเทปบันทึกภาพการแสดงละครออกอากาศไปทั่วประเทศด้วย เปิดรายการด้วยการบรรเลงเพลง “เลือดสุพรรณ” โดยวงดุริยางค์ทหารภายใต้การอำนวยการของพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ผู้บัญชาการทหารเรือขณะนั้นซึ่งเป็นคนสุพรรณฯด้วยเหมือนกัน อันที่จริงแล้ว ตัวแสดงทั้งหมดก็ล้วนเป็นชาวสุพรรณฯทั้งสิ้น ตั้งแต่พระเอกคือคุณยอดชาย สุจิตต์ นักธุรกิจเชื้อสายจีนชาวสุพรรณฯซึ่งเกี่ยวดองกับคุณบรรหารผ่านทางการแต่งงาน, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, ขวัญจิต ศรีประจันต์, พ.อ.พิเศษนายแพทย์ถวัลย์ อภิรักษ์โยธิน, รวมทั้งคุณบรรหารก็ร่วมแสดงละครด้วยตัวเอง ว่ากันว่าในช่วงละครเรื่องนี้ออกอากาศทางทีวีนั้น ตลาดเมืองสุพรรณฯซึ่งปกติคึกคักกลับเงียบสงัดไปถนัดใจเพราะชาวบ้านร้านตลาดพากันอยู่บ้านเฝ้าหน้าจอโทรทัศน์ดูละครกันทั้งเมืองทีเดียว

คุณบรรหารได้ใช้โอกาสการรื้อฟื้นจัดแสดงละคร “เลือดสุพรรณ” ใหม่และถ่ายทอดออกอากาศทางทีวีนี้หาเงินสมทบทุนสนับสนุนภารกิจของกองทัพในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ทั่วประ-เทศ โดยรวบรวมทั้งค่าบัตรผ่านประตูเข้าชมละครและเงินที่มีผู้บริจาคผ่านการระดมเรี่ยไรระหว่างฉายละครทางทีวีต่อมาได้เบ็ดเสร็จถึงกว่า ๑ ล้านบาท แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระองค์ก็ได้พระราชทานให้ทางกองทัพนำไปดำเนินการต่อไป

กิจกรรมทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ส่งผลให้คุณบรรหาร ศิลปอาชาเป็นประหนึ่งตัวแทนและผู้นำของจังหวัดสุพรรณบุรี ในเครือข่ายผู้จงรักภักดีทั่วประเทศที่ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทในการปกปักรักษาความมั่นคงของชาติจากภัยคุกคามต่าง ๆ อย่างแข็งขันสืบมา จนท่านกลายเป็นชาวสุพรรณฯคนแรกที่ได้ขึ้นรับตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหาร โดยได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๑ ของประเทศในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๓๙ ในที่สุด

ทุกวันนี้ คุณบรรหารก็ยังคงเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่ได้รับการนับหน้าถือตาในสุพรรณบุรี ในพรรคชาติไทยพัฒนาและในบ้านเมือง อันต่างจากชะตากรรมของอดีตนายกรัฐมนตรีบางท่านชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม