Skip to main content

Kasian Tejapira(27/3/56)

ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในน้อยประเทศของโลกที่ดูเหมือนไม่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจหนักหน่วงนักในช่วงวิกฤตซับไพรม์และเศรษฐกิจโลกถดถอยใหญ่หลายปีที่ผ่านมา (ค.ศ. 2008 - ปัจจุบัน) ค่าที่รัฐบาลออสเตรเลียดำเนินชุดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทันท่วงที ประจวบกับแนวโน้มมูลค่าสินค้าบูมทั่วโลก (commodities boom นับแต่ ค.ศ. 2000 - 2009 แล้วสะดุดวิกฤตซับไพรม์) พลิกฟื้นกลับขึ้นมาหนุนส่ง โดยเฉพาะอุปสงค์ด้านแร่ธาตุวัตถุดิบที่อุตสาหกรรมมหึมาของจีนต้องการจากออสเตรเลีย ไม่ว่าแร่เหล็ก, ถ่านหิน, บ็อกไซต์ ฯลฯ ทำให้ออสเตรเลียหลุดรอดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาได้

 

ทว่าเอาเข้าจริงในโครงสร้างเชื่อมโยงแบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ จะมีประเทศไหนไม่โดนผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกบ้าง? ออสเตรเลียก็เถอะ เพียงแค่ขูดผิวไปสักพัก เฝ้าสังเกตดูสักหน่อย ก็จะพบปัญหาเกี่ยวพันกับวิกฤตเศรษฐกิจกลัดหนองอยู่

 

ปัญหาพื้นฐานคือออสเตรเลียกำลังประสบสภาวะ two-speed economy หรือเศรษฐกิจสองอัตราเร่งต่างกัน กล่าวคือ

 

อัตราเร่งที่ 1) ภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อันนี้กำลังส่งออกไปจีนอย่างเร่งเร็วมาก ที่ท่าเรืออ่าวซิดนีย์ มีขบวนเรือขนส่งสินค้าต่อคิวรอบรรทุกแร่ธาตุวัตถุดิบจากเหมืองแร่ในออสเตรเลียเพื่อส่งออกไปจีนยาวเหยียดร่วม 50 ไมล์ทะเล อานิสงส์จากการลงทุนขนานใหญ่ของบริษัทเหมืองแร่เพื่อต้อนรับกระแสมูลค่าสินค้าบูมและอุปสงค์แร่ธาตุวัตถุดิบจากจีน (เฉพาะปี 2010 ปีเดียว มีการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ออสเตรเลียถึง 1700,000 ล้านดอลล่าร์ออสเตรเลีย) ทำให้ชาวออสเตรเลียที่ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่กำลังบูม พากันยกระดับรายได้สูงลิ่ว จู่ ๆ ก็รวยไม่รู้เรื่อง พากันถอยเบนซ์มาขับเล่นกันใหญ่

 

อัตราเร่งที่ 2 ) ไม่ว่าอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือค้าปลีกหรือบริการ หากไม่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงโดยตรงกับเหมืองแร่แล้ว ก็ไม่ได้ประโยชน์โภคผลนัก (ปัญหาหนึ่งของอุตสาหกรรมเหมืองแร่คือใช้แรงงานน้อยกว่า ใช้เครื่องจักรหนักมากกว่า โดยเปรียบเทียบ ดังนั้นถึงบูมก็จ้างแรงงานเพิ่มไม่มาก อีกทั้งงานเหมืองแร่ คนออสเตรเลียพื้นถิ่นไม่ค่อยชอบทำ ส่วนมากจะเป็นคนอพยพ) ซ้ำร้ายยังถูกกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ที่ข้าวของแพงขึ้นจากผลกระทบของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และส่งออกแร่ธาตุบูม คนจำนวนมากในภาคเศรษฐกิจที่เหลือเหล่านี้จึงถูกเบียดจากภาวะราคาเฟ้อจนหลุดออกจากตลาดบ้าน, ตลาดภัตตาคารหรือแม้แต่ตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตไป (คือของแพงจนเงินรายได้ไม่พอซื้อ สู้ราคาไม่ไหว)

 

ภาวะเศรษฐกิจสองอัตราเร่งต่างกันทำให้สังคมเศรษฐกิจออสเตรเลียเกิดความเครียดและแตกหักแยกส่วนกันมากขึ้น คนรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมเพิ่มสูงขึ้น อึดอัดไม่สบายใจกับภาวะที่เป็นอยู่ แม้แต่พวกที่โชคดีรวยจากเหมืองแร่บูมก็เล็งการณ์ร้าย หวาดวิตกในใจลึก ๆ ไม่แน่ใจว่าบูมจะยาวนานเท่าไหร่ ฟองสบู่จะแตกวันแตกพรุ่งไม่รู้ที หากกระแสมูลค่าสินค้าบูมของโลกเริ่มตกหรือเศรษฐกิจจีนพลิกกลับ ต่างมีอาการไม่มั่นคงในใจราวกับกำลังรวยอยู่ในช่วงเวลาที่ยืมมาก็มิปาน

กล่าวสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของออสเตรเลียนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลก็พยายามเข้าไปอุ้มชูช่วยเหลือ เพื่อหยุดยั้งภาวะตกต่ำเสื่อมถอย และพัฒนาด้านอุตสาหกรรมไฮเทคขึ้นมา ไม่ว่าวิศวกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จพอควร เช่น สาขาชีวประดิษฐศาสตร์ (bionics) หรือ wi-fi ก็จดทะเบียนสิทธิบัตรในออสเตรเลียเป็นต้น ทว่าอุตสาหกรรมทั้งหลายเหล่านี้กลับรับผลกระทบด้านลบจากการที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่และส่งออกแร่ธาตุไปจีนบูม เพราะมันทำให้ดอลล่าร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้น จนมูลค่าสูงกว่าดอลล่าร์อเมริกันต่อเนื่องกันมาในช่วงระยะหลัง อุตสาหกรรมด้านอื่นก็เลยเคราะห์ร้าย ส่งออกยากขึ้น เพราะคิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลอื่นแล้วแพงขึ้น (สูญเสียสมรรถนะในการแข่งขันเพราะค่าเงินสกุลชาติตนแข็งขึ้น) ในตลาดสากล จนกระทั่งรัฐบาลออสเตรเลียต้องออกนโยบายให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้มาเปิดการผลิตในออสเตรเลียสืบต่อไป เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ไม่ว่า โตโยต้า, ฟอร์ด, จีเอ็ม ฯลฯ ต่างก็ได้รับอานิสงส์ส่วนนี้ ประมาณว่ารัฐบาลออสเตรเลียเอาเงินภาษีชาวบ้านมาติดสินบนบริษัทเหล่านี้ให้อยู่ต่อนั่นเอง ซึ่งนโยบายแบบนี้ไม่น่าจะคงทนยั่งยืนได้ในระยะยาว

ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม