Skip to main content

Kasian Tejapira(8/4/56)

ไซปรัส เป็นเกาะเล็ก ๆ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประชากรเกือบล้านคน เศรษฐกิจและแรงงานพึ่งพาภาคบริการมากที่สุด (๘๐.๙% ของ GDP, ๗๑% ของแรงงาน), ๓ กิจกรรมหลักทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ท่องเที่ยว (โดยเฉพาะทัวริสต์เงินหนาจากยุโรปเหนือ), การขนส่งสินค้าทางเรือ (ทำเลเกาะเหมาะสม), และการเงินการธนาคาร

โดยเฉพาะเมื่อประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหรือ EU ส่วนใหญ่เริ่มใช้เงินสกุลยูโร (ในทางบัญชี ๑๙๙๙, ในทางธนบัตรและเหรียญ ๒๐๐๒) และไซปรัสเข้าเป็นสมาชิก EU ในปี ๒๐๐๔ บรรดาธนาคารในไซปรัสก็ฉวยโอกาสเร่ล่าหาเงินฝากจากต่างประเทศโดยยื่นข้อเสนอที่ดึงดูดใจเศรษฐีทั่วโลก คือ:

- จะปริวรรตเงินฝากไม่ว่าสกุลใด ๆ จากนอกมาเป็นเงินตราสกุลยูโรซึ่งแข็งปั๋งคนอยากได้

- ให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูง

- ไม่ถามให้รำคาญใจผู้ฝากว่าเงินนี้ท่านได้แต่ใดมา....

ผลคือชั่วเวลาไม่ถึงทศวรรษ บรรดาธนาคารเอกชนในไซปรัสสูบดูดเงินฝากจากต่างประเทศโดยเฉพาะรัสเซียมหาศาล คิดเป็น ๕ - ๘ เท่าของ GDP/ปีของประเทศตน (GDP ไซปรัส = ๒๒.๔๕ พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ/๒๐๑๒) แล้วบรรดาธนาคารไซปรัสทั้งหลายก็เอาเงินก้อนนี้ไปลงทุน “ฉลาด ๆ” , “รอบคอบรัดกุม” เช่น ปล่อยกู้ให้รัฐบาลกรีซ เป็นต้น ผลก็คือประเมินความเสี่ยงผิด เกิดวิกฤตซับไพรม์และเงินกู้สาธารณะในยุโรปตามมา ส่งผลให้ระบบธนาคารไซปรัสเจ๊งกะบ๊งล้มละลาย เหลือวิสัยรัฐบาลไซปรัสจะอุ้มไว้อีกต่อไปโดยลำพัง จึงติดต่อขอความช่วยเหลือจาก EU-IMF-ECB ตั้งแต่เมื่อกลางปีก่อน

ข้อเสนอที่ EU-IMF-ECB ยื่นให้รัฐบาลไซปรัสแลกกับเงินกู้หมื่นล้านยูโรเพื่อประคองระบบการเงินการธนาคารและรัฐบาลไซปรัสไว้ก็คือ รัฐบาลไซปรัสจะต้องรีดไถเงินกินเปล่าหรือค่าต๋งหรือส่วยพิเศษ (ไม่รู้จะเรียกให้เพราะกว่านี้ได้ไง) จากบัญชีเงินฝากทุกบัญชีในธนาคารเอกชนในไซปรัสราว ๑๐% ของยอดเงินฝากทั้งหมด เพื่อเอามาชดเชยความสูญเสียจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นและอุ้มพยุงธนาคารที่เสี่ยงลงทุนแล้วเจ๊งนั้นเอาไว้

ประเด็นสำคัญคือนี่เป็นวิธีใหม่ที่ปฏิวัติสุดยอด ไม่เคยมีที่ไหนทำกันขนาดนี้ในโลก ประมาณว่าสงครามโลกครั้งที่สามทางการเงินว่างั้นเถอะ ปกติเขาก็ดึงเอาเงินงบประมาณรัฐบาล (ก็ภาษีชาวบ้านนั่นแหละ) มาอุ้มระบบธนาคารที่เจ๊ง โดยขึ้นภาษีเอากับชาวบ้าน (รีดเลือดจากปู) มั่ง ตัดลดงบประมาณโครงการสวัสดิการสังคมลงมั่ง เรียกว่าบีบรีดไถเอาแบบไฟเย็น ค่อยเป็นค่อยไป ให้ชาวบ้านทนทุกข์ระทมขมขื่นค่อย ๆ สิ้นไร้ไม้ตอก ไร้บ้าน แห้งเหี่ยวอับเฉาหัวโตตายไปเองช้า ๆ แต่นี่มันสุด ๆ คือ “ปล้นกลางแดด” เอาจากบัญชีเงินฝากของชาวบ้านและชาวโลกที่ละโมบโลภมากหลงเชื่อเอาเงินมาฝากในไซปรัสกันเลยทีเดียว คุณฝากไว้ ๑๐๐ ยูโร รัฐบาลริบไปหน้าตาเฉย ๑๐ ยูโร เพื่อเอาไปใช้หนี้ อุ้มนายธนาคารเงินเดือนเป็นล้าน ๆ ที่ลงทุนเฮงซวยแล้วเจ๊ง แทนที่ธนาคารจะทำหน้าที่รับผิดชอบรักษาเงินฝากและดอกเบี้ยงอกเงยของคุณทุกเม็ดทุกสตางค์ไว้ด้วยชีวิต มันกลับสมคบกับรัฐบาลยึดเงินคุณไปร้อยชักสิบดื้อ ๆ เลย นี่ ระบบการเงินทุนนิยมเสรีมันดีอย่างนี้ (มิลตัน ฟรีดแมนและเสรีนิยมใหม่จงเจริญ!) ต้องยอมรับว่าเป็นมาตรการแก้วิกฤตการเงินการธนาคารที่เฉียบขาด ฉับพลัน เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเรียบร้อยในทีเดียวจริง ๆ

แน่นอนครับ ชาวไซปรัสไม่ได้กินแกลบ ใครจะยอม เงินฝากที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมาชั่วชีวิตของกู อยู่ดี ๆ มึงทำเจ๊งเองแล้วจะมาชุบมือเปิบหักเอาไปดื้อ ๆ ได้ไง ก็ต้องสู้ตายกันล่ะทีนี้ ดังนั้นก็ลุกฮือทั่วประเทศครับ นัดหยุดงาน นัดหยุดซื้อขาย ให้เศรษฐกิจตายคาที่ไปเลย พร้อมทั้งส่งสัญญาณให้ชาวบ้านร้านตลาดนานาชาติทั่วยุโรปที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารว่า พี่น้องเอ๊ย ดูตัวอย่างเราไว้นะ ปล่อยให้เกิดแบบนี้ที่นี่ได้ไง พี่น้องต้องลุกมาช่วยกันต่อต้านคนละไม้คนละมือ (solidarity) เพราะถ้ามันทำที่ไซปรัสนี่ได้ มันก็ทำที่อิตาลี สเปน โปรตุเกส ฯลฯ กับเงินของพี่น้องได้เหมือนกัน.... เท่านั้นเอง ดีลหักส่วยเงินฝาก ๑๐% ก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า สภาไซปรัสไม่ยอมรับและแรงต้านใน EU ก็แรงมากจากมวลชนจนต้องล้มไป

ดีลใหม่ที่เบากว่าเก่าแต่โดยหลักการก็เหมือนกันคือ เล็งเอาเฉพาะบัญชีเงินฝากที่มียอดสูงกว่าแสนยูโร, แช่แข็งบัญชีเหล่านั้นไว้ห้ามเบิกจ่ายโยกย้ายเข้าออก, ให้รัฐบาลล้วงหยิบเงินฝากในบัญชีเหล่านั้นมาจ่ายหนี้โอบอุ้มระบบธนาคารได้ พร้อมทั้งปิดธนาคารเอกชน Laiki ใหญ่อันดับ ๒ ของไซปรัสทิ้ง (หนี้เน่าให้รัฐบาลไซปรัสแบกไป ส่วนสินทรัพย์ที่เหลือให้ธนาคารเอกชนอื่น ๆ มาแบ่งสันปันส่วนกันไปดำเนินการต่อ) ซึ่งแม้จะลดจำนวนผู้ฝากเงินที่เดือดร้อนรายย่อยลง แต่หลักการใหม่ที่ว่า “บัญชีเงินฝากของเอกชนในธนาคารบัดนี้ไม่ใช่เขตหวงห้ามศักดิ์สิทธิ์รัฐบาลล้วงลูกเข้าไปแตะต้องไม่ได้อีกต่อไป” แล้วก็ยังคงอยู่ เรียกว่าเป็นคอมมิวนิสต์กันกลาย ๆ ทีเดียว (ยกเว้นธนาคารเจ๊งกะบ๊งเฮงซวยเหล่านั้น ซึ่งรีดไถเงินผู้ฝากไปอุดรูรั่วตัวเองแล้ว ก็ยังเป็นของเอกชนอยู่ดี)

สรุปก็คือ ตรวจดูยอดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารของคุณหรือยัง? แน่ใจได้ไหมว่ามันจะปลอดภัยไม่ถูกรัฐบาลกับนายธนาคารปล้นกลางแดด? สู้เบิกเอามายัดที่นอนหรือฝังดินเก็บไม่ดีกว่าหรือ? เฮ้อ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม