Skip to main content

Kasian Tejapira(12/4/56)


(ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน)

ผมเห็นว่าความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ ในช่วงท้าย (พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) เกิดขึ้นในบริบทความคิดการเมืองหลังพฤษภาคม ๒๕๓๕ และเป็นส่วนหนึ่งของการพยายามหาคำตอบต่อวิกฤตและปัญหาหลักแห่งยุคนั้น จนกระทั่งระบอบทักษิณสร้างสภาพการณ์ใหม่ที่เปลี่ยนบริบทความคิดไป

วิกฤตและปัญหา:
ในช่วงทศวรรษก่อนเกิดระบอบทักษิณ, วิกฤตและปัญหาการเมือง -เศรษฐกิจแห่งยุคของไทยได้แก่: 
 

1) วิกฤตรัฐประหาร รสช. พ.ศ. ๒๕๓๔ และการลุกฮือพฤษภาประชาธรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ อันเป็นอาการแสดงออกซึ่งปัญหาความบกพร่องไม่พอเพียงของนักการเมืองจากการเลือกตั้งและระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนหรือที่เรียกว่าปัญหา “นักเลือกตั้ง/ระบอบเลือกตั้งธิปไตย” ชาวบ้านรู้สึกว่าปัญหาเดือดร้อนเร่งด่วนสำคัญที่สุดของตนแทบไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นถกอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเลย สภาฯกลายเป็นเวทีตีฝีปากประคารมยกมือประท้วงวางท่านักเลงก้าวร้าวถกเถียงหมกมุ่นเรื่องข้อบังคับการประชุมและผลประโยชน์เฉพาะมุ้งกลุ่มก๊วนอะไรก็ไม่รู้ที่แสนน่าเบื่อและไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา 
--> ถูกวิเคราะห์ว่าเกิดจากปัญหานักเลือกตั้ง/ระบอบเลือกตั้งธิปไตย
 

2) วิกฤตค่าเงินบาทและเศรษฐกิจตกต่ำหรือที่เรียกว่าวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” พ.ศ. ๒๕๔๐ อันเป็นอาการบ่งชี้ปัญหาผลกระทบของทุนนิยมโลกาภิวัตน์ต่อประเทศไทยว่าการเปิดเสรีต่อเงินทุนชีพจรลงเท้า, กระแสบริโภคนิยมและการเอนเอียงทุ่มเทผลิตเพื่ออุตสาหกรรมส่งออกสุดตัวนั้นเสี่ยงสูง ผันผวนและอันตรายร้ายแรงถึงขั้นล่มจม ไม่แน่ว่าจะนำมาซึ่งความร่ำรวยรุ่งเรืองดังที่ฝันหวานง่าย ๆ ถ่ายเดียวเสมอไป 
--> ถูกวิเคราะห์ว่าเกิดจากทุนนิยมโลกาภิวัตน์

คำตอบ:
คำตอบแห่งยุคสมัยที่สังคมไทยเสนอต่อปัญหาการเมือง-เศรษฐกิจดังกล่าวตอนนั้น ได้แก่: -
การเมืองภาคประชาชนหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนรวม/ทางตรง เพื่อแก้ไขบำบัดจุดอ่อนข้อบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน 
เศรษฐกิจพอเพียง/ชุมชน เพื่อบรรเทาป้องกันความผันผวน, เสี่ยงสูง, สิ้นเปลือง, สุดโต่งเกินเลยของทุนนิยมโลกาภิวัตน์ 

ทักษิณ:
ปรากฏว่าหลังขึ้นสู่อำนาจ ระบอบทักษิณได้ข้ามพ้นชุดคำตอบข้างต้น โดยเสนอคำตอบชุดใหม่ผ่านแนวนโยบายและมาตรการปฏิบัติของรัฐบาล ได้แก่: -

- ฝ่ายบริหารมีอำนาจเข้มแข็งครอบงำเหนือรัฐสภา
- ผลักดันผ่านนโยบายและงบประมาณประชานิยมต่าง ๆ ส่งผลให้.....
 

๑) ประชาธิปไตยแบบตัวแทน สามารถดำเนินนโยบายสนองตอบผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมแก่ประชาชนผู้เลือกตั้งโดยตรง เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน-เงินกู้ของภาครัฐและภาคเอกชน, การพักชำระหนี้, บริการการแพทย์ย่อมเยาถ้วนหน้า, โครงการเอื้ออาทรต่าง ๆ ฯลฯ
 

๒) เปิดช่องทางโอกาสและฐานทุน-เงินกู้ให้ชาวบ้านที่ถูกผลักไสหรือดึงดูดเข้าสู่กระแสคลื่นเศรษฐกิจตลาดเสรีอันผันผวนเสี่ยงสูง, ผ่านการหันไปประกอบอาชีพปลูกพืชเศรษฐกิจ/รับจ้างชั่วคราว/ประกอบธุรกิจรายย่อยต่าง ๆ, แล้วมักตกอยู่ในอาการปริ่มน้ำ จวนจะล่มจมมิจมแหล่ ไม่รู้แน่ว่าจะว่ายถึงฝั่งหรือไม่ – ได้อาศัยมันเป็นห่วงชูชีพประคองตัวลอยคออยู่รอดและพอมีหวังที่จะสู้แล้วรวยได้ในเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ต่อไป 

ขณะที่ความถูกต้องยั่งยืนแห่งแนวนโยบายข้างต้นของระบอบทักษิณยังคงเป็นที่โต้แย้งถกเถียงกันได้ไม่ยุติ แต่ก็ประจักษ์ชัดว่ามันจับใจยึดกุมจินตนาการของมวลชนผู้เลือกตั้งที่เป็นคนชั้นกลางระดับล่างจำนวนมากทั้งในเมืองและชนบท จนพวกเขาพร้อมแปรความเรียกร้องต้องการของตนเป็นพลังการเมืองเพื่อปกป้องแนวนโยบายดังกล่าวและรัฐบาลทักษิณทั้งด้วยคะแนนเสียงเลือกตั้งและการเคลื่อนไหวชุมนุม

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว...
เกษียร เตชะพีระ
แย้งคุณสมเกียรติ อ่อนวิมล: เส้นแบ่งพรรคการเมืองทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญคือเป็นพรรคมวลชน (mass party) หรือพรรคชนชั้นนำ (elite party) ไม่ใช่เกณฑ์หละหลวมว่าเป็นพรรคที่ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หรือไม่
เกษียร เตชะพีระ
รวม 15 เรื่องราวการเหยียดเชื้อชาติของคนต่างชาติในเยอรมนี
เกษียร เตชะพีระ
ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู  ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
เกษียร เตชะพีระ
โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
เกษียร เตชะพีระ
ทำความรู้จัก 'เทเรซ่า ฟอร์คาดส์' แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน  ปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ กับนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
"ในโลกซังกะบ๊วยแบบที่เราอยู่ปัจจุบัน มีการรณรงค์ที่สำคัญกว่าที่เราทำในเงื่อนไขสถานที่ที่เราอยู่เสมอ ประเด็นจึงไม่ใช่หยุดหรือสละการต่อสู้เฉพาะที่เพื่อเห็นแก่เรื่องสำคัญ/ใหญ่กว่า แต่คือฟังกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพกัน ขยายสร้างความเข้าใจเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ให้แก่กัน หาทางหนุนช่วยเชื่อมโยงกันบนฐานความเข้าใจจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่มีอยู่จริงของปัญหาซึ่งกันและกัน" 
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย และระหว่างพื้นที่สิทธิกับอำนาจบริหาร กับกรณี "อั้ม เนโกะ" กับ "4 ภาพ sex" ต้าน "บังคับแต่งชุด นศ.มธ."
เกษียร เตชะพีระ
สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
เกษียร เตชะพีระ
วิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับชาตินิยม ตั้งแต่ ขั้นการปฏิวัติชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๘, ขั้นการปรับตัวทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์เป็นอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและราชาชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐, ขั้นการปรับตัวทางวัฒนธรรมของสถาบันกษัตริย์เป็นแบบกระฎุมพีในคริสตศตวรรษที่ ๒๐ และขั้นสถาบันกษัตริย์ในยุควัฒนธรรมสื่อทีวีมหาชนปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
.. Honi Soit ลงพิมพ์ปกรูปอวัยวะเพศของหญิง ๑๘ คนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันมีความหลากหลายแตกต่างเป็นปกติธรรมดา ไม่ได้เป็นและไม่จำต้องเป็น "วงขา" อุดมคติอย่างในหนังโป๊เปลือยทั้งหลาย จึงเป็นย่างก้าวสำคัญในการเตะสกัดกระบวนการทำอวัยวะผู้หญิงให้เป็นสินค้าในตลาดทุนนิยม ก่อนมันจะรุกคืบหน้าจากวงแขนลงไปข้างล่าง..