โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
หากถือตามความเข้าใจของ Wolfgang Sachs นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม, การพัฒนา, และโลกาภิวัตน์ชาวเยอรมันว่าเป้าหมายใจกลางของโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้แก่ “การสร้างพื้นที่การแข่งขันที่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันระดับลูกโลก” (homogeneous global competitive space) ที่ปลอดเปล่าจากกฎระเบียบกำกับการประกอบการเศรษฐกิจที่แตกต่างหลากหลาย มีลักษณะเฉพาะผิดแปลกกันออกไปในระดับรัฐชาติและท้องถิ่นทั้งหลาย โดยผ่านกระบวนการ deregulation & re-regulation (ลดเลิกกฎระเบียบทางเศรษฐกิจที่แตกต่างหลากหลายระดับชาติและท้องถิ่นเสียก่อน & แล้วกำหนดกฎระเบียบทางเศรษฐกิจใหม่ที่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันระดับลูกโลกขึ้นมาครอบคลุมแทนที่) (http://www.worldsummit2002.org/publications/sachsglobal.pdf) เช่น กฎหมายคุ้มครองสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ข้ามชาติ เป็นต้น
กราฟแสดงวิวัฒนาการของมาตรการที่อาจใช้จำกัดการค้าทั่วโลกจากปี ๒๐๐๘ - มิ.ย. ศกนี้
ปรากฏว่าโครงการโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจดังกล่าวกำลังสะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (protectionism) ระดับชาติที่รัฐบาลนานาประเทศพากันดำเนินอย่างมากมายแพร่หลายพร้อมเพรียงกันนับแต่เกิดวิกฤตซับไพรม์และเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกปี ค.ศ. ๒๐๐๘ เป็นต้นมา โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมหาอำนาจตลาดเกิดใหม่ BRICS (Brazil, Russia, India, China, South Africa) สำหรับประเทศที่ออกมาตรการคุ้มครองการค้าเด่น ๆ มากกว่าเพื่อนได้แก่อาร์เจนตินา, บราซิล, แอฟริกาใต้, รัสเซีย, อินโดนีเซีย ซึ่งออกมาตรการคุ้มครองหนักข้อกว่าจีนเสียอีก ทั้งนี้ตามรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องดังกล่าวซึ่งพิมพ์เผยแพร่ออกมาเมื่อ ๓ ก.ย. ศกนี้ (TENTH REPORT ON POTENTIALLY TRADE-RESTRICTIVE MEASURES IDENTIFIED IN THE CONTEXT OF THE FINANCIAL AND ECONOMIC CRISIS 1 MAY 2012 – 31 MAY 2013 http://trade.ec.europa.eu/doclib/docs/2013/september/tradoc_151703.pdf )
ปกรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องมาตรการคุ้มครองการค้าของนานาประเทศคู่ค้าฉบับล่าสุด
ในทางประวัติศาสตร์ มาตรการคุ้มครองการค้ามักกลับมาปรากฏให้เห็นชุกชุมในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวเสมอ และสิ่งที่เราเห็นในหลายปีหลังนี้ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น รายงานที่เอ่ยถึงข้างต้นเกี่ยวกับนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้าของสหภาพยุโรป ๓๐ กว่าประเทศทั่วโลกเผยว่าระหว่างวันที่ ๑ พ.ค. ศกก่อน ถึง ๓๑ พ.. ศกนี้ มีมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ ออกมาจากประเทศเหล่านี้ถึง ๑๕๔ มาตรการ ขณะที่มีมาตรการคุ้มครองการค้าถูกยกเลิกไปโดยประเทศเหล่านี้เพียง ๑๘ มาตรการ และหากนับย้อนกลับไปถึงนับแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๘ เป็นต้นมาก็จะพบว่ามีการวางมาตรการคุ้มครองการค้าที่จำกัดการค้าเสรีทั่วโลกลงเบ็ดเสร็จถึง ๖๘๘ มาตรการโดยรัฐบาลนานาประเทศซึ่งมาตรการเหล่านี้ก็ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
รายงานของคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่าประเทศตลาดเกิดใหม่อย่างบราซิล อาร์เจนตินา รัสเซีย จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ยูเครนเป็นกลุ่มที่ออกมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ มามากที่สุดนับแต่ปี ๒๐๐๘ มา (ดูตารางด้านล่างประกอบ)
ตารางแสดงมาตรการที่อาจใช้จำกัดการค้าทั่วโลกจาก ต.ค. ๒๐๐๘ เป็นต้นมา จำแนกประเทศและประเภทของมาตรการ
แม้ว่าความแตกต่างขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนกับสหภาพยุโรปจะปรากฏเป็นข่าวในสื่อมากที่สุด แต่เอาเข้าจริงจีนก็หาใช่ประเทศคุ้มครองการค้ามากที่สุดไม่ กล่าวคือจีนออกมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ ออกมา ๓๖ มาตรการนับแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๘ มา นับว่ายังห่างไกลจากอาร์เจนตินาซึ่งบัญญัติมาตรการทำนองนี้ออกมาถึง ๑๔๗ มาตรการ
มาตรการคุ้มครองการค้าหลักที่ถูกใช้อยู่ในรูปการฟื้นฟูกฎระเบียบการนำสินค้าเข้า, ข้อกำหนดให้ใช้สินค้าในชาติ, โอนย้ายวิสาหกิจเข้ามาอยู่ในภาคส่วนตลาดสาธารณะเพื่อปกป้องวิสาหกิจแห่งชาติบางประเภทไว้จากการแข่งขันของต่างชาติ
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law)
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย!
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง