Skip to main content
แย้งคุณสมเกียรติ อ่อนวิมล: เส้นแบ่งพรรคการเมืองทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญคือเป็นพรรคมวลชน (mass party) หรือพรรคชนชั้นนำ (elite party) ไม่ใช่เกณฑ์หละหลวมว่าเป็นพรรคที่ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หรือไม่
 
 
เส้นแบ่งที่คุณสมเกียรติเสนอว่าเป็นพรรคที่ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หรือไม่? ค่อนข้างหละหลวมนะครับ
 
เพราะมันยุ่งตั้งแต่การนิยามว่า "ประชาชน" หมายถึงใครบ้าง? ครอบคลุมรวมใคร? ตัดใครออก? ไม่นับใคร?
 
ถ้าใช้ในความหมายว่า "ประชาชน" = พลเมืองตามรัฐธรรมนูญ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคณะผู้ก่อตั้งพรรคเพื่อไทย (พลังประชาชน, ไทยรักไทย) เป็นพลเมืองไทยตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง, นายทุน, นักวิชาการ, เจ้่าพ่อผู้มีอิทธิพล, นักเคลื่อนไหวมวลชน ฯลฯ
 
และพรรคประชาธิปัตย์ โดยประวัติก็เหมือนกัน (หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ อำมาตย์ เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ ก็เป็นพลเมืองเท่ากับราษฎรสามัญชน)
 
ดูเหมือนการใช้เกณฑ์ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หลวม ๆ เพื่อจะสรุปว่าเป็นพรรค "ของประเทศไทย" หรือไม่? อาจได้ประโยชน์ทางด้านวิพากษ์หรือลดทอนความชอบธรรมเชิงอุดมการณ์ มากกว่าช่วยให้เข้าใจความเป็นจริงทางการเมือง
 
ในทางรัฐศาสตร์ เส้นแบ่งสำคัญกว่าคือพรรคการเมืองหนึ่ง ๆ เป็นพรรคของมวลชนหรือของชนชั้นนำ (mass or elite party) ใครมีบทบาทสำคัญเป็นหลักในการก่อตั้ง, บำรุงเลี้ยง, บริหาร, ชี้นำ, ควบคุม, เลือกผู้ลงสมัคร/รับผิดชอบในตำแหน่งสำคัญ ๆ ไม่ว่า ส.ส., รมว., ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยราชการ
 
หากถือในเกณฑ์หลังนี้ พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย (ไทยรักไทย, พลังประชาชน) มีจุดเริ่มต้นเป็นพรรคชนชั้นนำทั้งคู่ คือเป็นพรรคของชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ, การเมือง, ราชการ, วิชาการ ไม่ใช่พรรคมวลชน
 
จะว่าไปพรรคที่มีลักษณะมวลชนค่อนข้างชัดเจนและยืนนานจนล่มสลายไปก็มีอยู่พรรคเดียวคือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเท่านั้น (พ.ศ. ๒๔๘๕ -?)
 
อย่างไรก็ตาม ข้อเด่นของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อเทียบกับพรรคเพื่อไทยในมุม mass/elite party ก็น่าสนใจอยู่
 
กล่าวคือพรรคประชาธิปัตย์แม้จะกุมโดยชนชั้นนำ แต่ผ่านเวลามาหลายสิบปีในการเมืองเลือกตั้งโดยเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้ ก็ทำให้มีฐานมวลชนอยู่ในระดับพอสมควร และมีโครงสร้างพรรคที่ค่อนข้างเป็นระบบระเบียบ เปิดให้ elites ต่างกลุ่มพอจะประชันขันแข่งเชิงอำนาจเส้นสายและนโยบายกันได้บ้าง แม้ว่าจะถูกครอบงำโดย elite ภาคใต้เป็นหลัก เพียงแต่ยากจะบอกว่าเป็นพรรคที่กุมหรือนำโดยมวลชนจริง ๆ (มวลชนของพรรคที่มีอยู่ออกจะกระจัดกระจายและรวมเป็นกลุ่มก้อนก็โดยเครือข่ายส.ส.และนักการเมืองท้องถิ่นของพรรค มากกว่าจะมีองค์กรมวลชนอิสระของตนเองในเชิง independent /autonomous mass organizations แล้วมาล้อมรอบกำกับพรรคอีกที)
 
ส่วนพรรคเพื่อไทย (ไทยรักไทย, พลังประชาชน) มีข้อน่าสนใจคือเริ่มต้นเป็นพรรคชนชั้นนำที่ครอบงำโดยกลุ่มธุรกิจการเมืองแวดล้อมพ.ต.ท.ทักษิณและเครือข่ายชัดเจน แต่แล้วโดยผ่านการเลือกตั้ง แนวนโยบายประชานิยมและศึกรัฐประหารคปค. มวลชน "ชนชั้นกลางระดับล่างในชนบทที่เปลี่ยนแปลงไป" ได้ก่อตัวเป็นเครือข่ายขบวนการมวลชนที่มีพลังกว้างขวางระดับชาติในนาม นปช. (เสื้อแดง) ที่เป็นอิสระจากแกนนำ/โครงสร้างของพรรคพอสมควร แสดงบทบาทหนุนช่วยพรรคในการหาเสียงเลือกตั้งและกุมอำนาจ โดยเฉพาะต่อสู้กับพลังรัฐประหารและฝ่ายค้านอย่างทรหดเหนียวแน่นอาบเลือดเสียสละต่อเนื่องยาวนาน
 
กรณีพรรคเพื่อไทยจึงเป็น พรรคเกิดก่อนแบบพรรคชนชั้นนำ --> แล้วขบวนการมวลชนเกิดตามหลัง ปมปริศนาคือ พรรค elite กับขบวนการ mass ที่หลวม ๆ จะผูกสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจและบริหาร, อุดมการณ์และผลประโยชน์กันอย่างไรในระยะยาว? นี่ต่างหากน่าสนใจกว่าการสร้างวาทกรรมบั่นทอนความชอบธรรมใด ๆ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง