Skip to main content

Kasian Tejapira(12/4/56)


(ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน)

ผมเห็นว่าความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ ในช่วงท้าย (พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) เกิดขึ้นในบริบทความคิดการเมืองหลังพฤษภาคม ๒๕๓๕ และเป็นส่วนหนึ่งของการพยายามหาคำตอบต่อวิกฤตและปัญหาหลักแห่งยุคนั้น จนกระทั่งระบอบทักษิณสร้างสภาพการณ์ใหม่ที่เปลี่ยนบริบทความคิดไป

วิกฤตและปัญหา:
ในช่วงทศวรรษก่อนเกิดระบอบทักษิณ, วิกฤตและปัญหาการเมือง -เศรษฐกิจแห่งยุคของไทยได้แก่: 
 

1) วิกฤตรัฐประหาร รสช. พ.ศ. ๒๕๓๔ และการลุกฮือพฤษภาประชาธรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ อันเป็นอาการแสดงออกซึ่งปัญหาความบกพร่องไม่พอเพียงของนักการเมืองจากการเลือกตั้งและระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนหรือที่เรียกว่าปัญหา “นักเลือกตั้ง/ระบอบเลือกตั้งธิปไตย” ชาวบ้านรู้สึกว่าปัญหาเดือดร้อนเร่งด่วนสำคัญที่สุดของตนแทบไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นถกอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเลย สภาฯกลายเป็นเวทีตีฝีปากประคารมยกมือประท้วงวางท่านักเลงก้าวร้าวถกเถียงหมกมุ่นเรื่องข้อบังคับการประชุมและผลประโยชน์เฉพาะมุ้งกลุ่มก๊วนอะไรก็ไม่รู้ที่แสนน่าเบื่อและไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา 
--> ถูกวิเคราะห์ว่าเกิดจากปัญหานักเลือกตั้ง/ระบอบเลือกตั้งธิปไตย
 

2) วิกฤตค่าเงินบาทและเศรษฐกิจตกต่ำหรือที่เรียกว่าวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” พ.ศ. ๒๕๔๐ อันเป็นอาการบ่งชี้ปัญหาผลกระทบของทุนนิยมโลกาภิวัตน์ต่อประเทศไทยว่าการเปิดเสรีต่อเงินทุนชีพจรลงเท้า, กระแสบริโภคนิยมและการเอนเอียงทุ่มเทผลิตเพื่ออุตสาหกรรมส่งออกสุดตัวนั้นเสี่ยงสูง ผันผวนและอันตรายร้ายแรงถึงขั้นล่มจม ไม่แน่ว่าจะนำมาซึ่งความร่ำรวยรุ่งเรืองดังที่ฝันหวานง่าย ๆ ถ่ายเดียวเสมอไป 
--> ถูกวิเคราะห์ว่าเกิดจากทุนนิยมโลกาภิวัตน์

คำตอบ:
คำตอบแห่งยุคสมัยที่สังคมไทยเสนอต่อปัญหาการเมือง-เศรษฐกิจดังกล่าวตอนนั้น ได้แก่: -
การเมืองภาคประชาชนหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนรวม/ทางตรง เพื่อแก้ไขบำบัดจุดอ่อนข้อบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน 
เศรษฐกิจพอเพียง/ชุมชน เพื่อบรรเทาป้องกันความผันผวน, เสี่ยงสูง, สิ้นเปลือง, สุดโต่งเกินเลยของทุนนิยมโลกาภิวัตน์ 

ทักษิณ:
ปรากฏว่าหลังขึ้นสู่อำนาจ ระบอบทักษิณได้ข้ามพ้นชุดคำตอบข้างต้น โดยเสนอคำตอบชุดใหม่ผ่านแนวนโยบายและมาตรการปฏิบัติของรัฐบาล ได้แก่: -

- ฝ่ายบริหารมีอำนาจเข้มแข็งครอบงำเหนือรัฐสภา
- ผลักดันผ่านนโยบายและงบประมาณประชานิยมต่าง ๆ ส่งผลให้.....
 

๑) ประชาธิปไตยแบบตัวแทน สามารถดำเนินนโยบายสนองตอบผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมแก่ประชาชนผู้เลือกตั้งโดยตรง เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน-เงินกู้ของภาครัฐและภาคเอกชน, การพักชำระหนี้, บริการการแพทย์ย่อมเยาถ้วนหน้า, โครงการเอื้ออาทรต่าง ๆ ฯลฯ
 

๒) เปิดช่องทางโอกาสและฐานทุน-เงินกู้ให้ชาวบ้านที่ถูกผลักไสหรือดึงดูดเข้าสู่กระแสคลื่นเศรษฐกิจตลาดเสรีอันผันผวนเสี่ยงสูง, ผ่านการหันไปประกอบอาชีพปลูกพืชเศรษฐกิจ/รับจ้างชั่วคราว/ประกอบธุรกิจรายย่อยต่าง ๆ, แล้วมักตกอยู่ในอาการปริ่มน้ำ จวนจะล่มจมมิจมแหล่ ไม่รู้แน่ว่าจะว่ายถึงฝั่งหรือไม่ – ได้อาศัยมันเป็นห่วงชูชีพประคองตัวลอยคออยู่รอดและพอมีหวังที่จะสู้แล้วรวยได้ในเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ต่อไป 

ขณะที่ความถูกต้องยั่งยืนแห่งแนวนโยบายข้างต้นของระบอบทักษิณยังคงเป็นที่โต้แย้งถกเถียงกันได้ไม่ยุติ แต่ก็ประจักษ์ชัดว่ามันจับใจยึดกุมจินตนาการของมวลชนผู้เลือกตั้งที่เป็นคนชั้นกลางระดับล่างจำนวนมากทั้งในเมืองและชนบท จนพวกเขาพร้อมแปรความเรียกร้องต้องการของตนเป็นพลังการเมืองเพื่อปกป้องแนวนโยบายดังกล่าวและรัฐบาลทักษิณทั้งด้วยคะแนนเสียงเลือกตั้งและการเคลื่อนไหวชุมนุม

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม