Skip to main content

คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....

Kasian Tejapira(16/4/56)

 

หลังวิกฤตซับไพรม์ปะทุเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๘ แล้วลุกลามไปจนเศรษฐกิจถดถอยใหญ่ทั่วโลก (The Great Recession) สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองแห่งสหราชอาณาจักรได้เข้าร่วมประชุมรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับตลาดระหว่างประเทศโดยบรรดาสุดยอดศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ณ London School of Economics อันดังก้องโลกเมื่อวันที่ ๕ พ.ย. ๒๐๐๘ และตรัสถามว่า: 
 
“ถ้าสิ่งเหล่านี้มันใหญ่โตขนาดนั้น ทำไมไม่มีใครสังเกตเห็นมันล่ะ?” 
ภาพ :  สมเด็จพระราชินีฯเอลิซาเบธพร้อมพระสวามีเสด็จ LSE ฟังบรรยายสรุปวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี ๒๐๐๘
 
ศาสตราจารย์นักเศรษฐศาสตร์มือหนึ่งของสหราชอาณาจักร ๓๕ คนต่างอับอายขายขี้หน้าร้อนตัวจึงร่วมกันเขียนหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระราชินีฯเอลิซาเบธเพื่อตอบพระราชปุจฉาดังกล่าว ลงวันที่ ๒๒ ก.ค. ๒๐๐๙ http://www.ft.com/cms/3e3b6ca8-7a08-11de-b86f-00144feabdc0.pdf สรุปรวมความว่า:
 
“ด้านหลักแล้วก็เนื่องด้วยผู้ฉลาดปราดเปรื่องจำนวนมากประสบความล้มเหลวด้านจินตนาการรวมหมู่ร่วมกัน...ที่จะเข้าใจบรรดาความเสี่ยงต่อระบบโดยรวมพ่ะย่ะค่ะ”
 
ขยายความก็คือ:
 
หนึ่ง) ประมาณค่านอกช่วงผิด (the error of extrapolation) แปลเป็นภาษาชาวบ้านคือ ประยุกต์วิธีการหรือข้อสรุปที่เคยใช้มาแต่เดิม เอาไปมองหรือคาดเก็งสถานการณ์ที่ตนไม่รู้ โดยทึกทักเอาว่าแนวโน้มอย่างที่เป็นมาคงจะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ เป็นเส้นตรงไม่แตกต่างพลิกผันเบี่ยงเบน หรือวิธีการที่คุ้นชินจะใช้การได้อยู่สืบไป
 
สอง) ดันฝอยเม้าท์มอยว่าทุกอย่างราบรื่นเรียบร้อยรุ่งเรืองดีซะตัวเองหลงเชื่อคำขี้โม้โอ้อวดของตัวเอง
 
ที่ผมยกเรื่องนี้มาเล่าก็เพื่อเป็นนิทัศน์อุทธาหรณ์สำหรับศรัทธาธิกะทั้งหลายที่เชื่อมั่นอย่างสนิทใจในความสามารถว่าจีนจะจัดการฟองสบู่เศรษฐกิจของตัวเองได้แหงแก๋ไม่ต้องสงสัยลังเล หรือฟองสบู่ที่มีอยู่มันเล็กย่อยเฉพาะส่วนภูมิภาค ไม่ใหญ่โตปกคลุมทั้งระบบ ฯลฯ
 
เจ๋งกะเบ้งอย่างจีนหรือจะพลาดได้ 555
 
อาการอย่างนี้ยิ่งกำเริบหนักตามหลังวิกฤตซับไพรม์ในอเมริกาและวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปปัจจุบัน ซึ่งก่อเกิดความเหลิงลำพองทะนงตัวว่าเมกากับยุโรปล้มเหลวทางวัฒนธรรม เอเชียผิวเหลืองหรือชัดกว่านั้นจีนอภิมหารุ่งโรจน์โชติช่วงชัชวาลยิ่งใหญ่ต้าฮั่น จะเป็นสุดยอดอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเร็ว ๆ นี้แน่นอน และไม่มีวันบริหารจัดการเศรษฐกิจพลาดเด็ดขาดเพราะได้สรุปบทเรียนจากเมกากับยุโรปมาแล้ว และวัฒนธรรมจีนตาตี่เหนือกว่าวัฒนธรรมฝรั่งตาน้ำข้าวโว้ย ไม่เห็นหรือ วัทธ่อ
 
แหะ ๆ แน่ใจจริง ๆ หรือครับ? ในสภาพที่....
 
- ระบบธนาคารในเงามืด (ธุรกรรมการเงินโดยสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร เช่น เงินกู้ที่ปล่อยโดยทรัสต์ หรือไม่ปรากฏในบัญชีงบดุลธนาคารปกติ เช่น ผลิตภัณฑ์บริหารทรัพย์สิน ดังนั้นจึงอยู่นอกเหนือการกำกับควบคุมของทางการ) กำลังบูมในจีน โดยดูจากสัดส่วนของเงินกู้ธนาคารปกติในระบบการเงินทั้งสังคมลดจาก ๙๑% เมื่อปี ๒๐๐๒ --> ๕๒% เมื่อปี ๒๐๑๒ สะท้อนว่าเงินกู้ในเงามืดขยายบทบาทออกไปในระบบการเงินจีน http://www.scmp.com/business/banking-finance/article/1177498/bank-watchdog-vows-control-loan-defaults 
 สถิติผลิตภัณฑ์บริหารทรัพย์สินอันเป็นส่วนหนึ่งของระบบธนาคารในเงามืดของจีน
 
- มูลค่าของผลิตภัณฑ์บริหารทรัพย์สิน (wealth management products) หรือผลิตภัณฑ์การเงินที่ธนาคารนำออกขายแก่นักลงทุนทำกำไร (อันเป็นส่วนหนึ่งของระบบธนาคารในเงามืด) เพิ่มสูงเป็น ๑๓ ล้านล้านหยวนหรือ ๒๕% ของ GDP จีน โดย ๑ ใน ๓ นำไปลงทุนปล่อยกู้ให้โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลท้องถิ่นและบริษัทเอกชน ซึ่งนับว่าค่อนข้างเสี่ยงสูงกว่าหุ้น, หุ้นกู้, และตราสารระยะสั้นในตลาดเงินตราทั่วไป (อีก ๒ ใน ๓) http://www.scmp.com/business/article/1189410/south-sea-bubble-warning-wealth-management-investors 
 
รอลุ้นกันต่อไปด้วยใจระทึก
ชางฟูลิน ประธานคณะกรรมาธิการกำกับการธนาคารจีน

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง