คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....
หลังวิกฤตซับไพรม์ปะทุเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๘ แล้วลุกลามไปจนเศรษฐกิจถดถอยใหญ่ทั่วโลก (The Great Recession) สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองแห่งสหราชอาณาจักรได้เข้าร่วมประชุมรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับตลาดระหว่างประเทศโดยบรรดาสุดยอดศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ณ London School of Economics อันดังก้องโลกเมื่อวันที่ ๕ พ.ย. ๒๐๐๘ และตรัสถามว่า:
“ถ้าสิ่งเหล่านี้มันใหญ่โตขนาดนั้น ทำไมไม่มีใครสังเกตเห็นมันล่ะ?”
ภาพ : สมเด็จพระราชินีฯเอลิซาเบธพร้อมพระสวามีเสด็จ LSE ฟังบรรยายสรุปวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี ๒๐๐๘
ศาสตราจารย์นักเศรษฐศาสตร์มือหนึ่งของสหราชอาณาจักร ๓๕ คนต่างอับอายขายขี้หน้าร้อนตัวจึงร่วมกันเขียนหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระราชินีฯเอลิซาเบธเพื่อตอบพระราชปุจฉาดังกล่าว ลงวันที่ ๒๒ ก.ค. ๒๐๐๙ http://www.ft.com/cms/3e3b6ca8-7a08-11de-b86f-00144feabdc0.pdf สรุปรวมความว่า:
“ด้านหลักแล้วก็เนื่องด้วยผู้ฉลาดปราดเปรื่องจำนวนมากประสบความล้มเหลวด้านจินตนาการรวมหมู่ร่วมกัน...ที่จะเข้าใจบรรดาความเสี่ยงต่อระบบโดยรวมพ่ะย่ะค่ะ”
ขยายความก็คือ:
หนึ่ง) ประมาณค่านอกช่วงผิด (the error of extrapolation) แปลเป็นภาษาชาวบ้านคือ ประยุกต์วิธีการหรือข้อสรุปที่เคยใช้มาแต่เดิม เอาไปมองหรือคาดเก็งสถานการณ์ที่ตนไม่รู้ โดยทึกทักเอาว่าแนวโน้มอย่างที่เป็นมาคงจะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ เป็นเส้นตรงไม่แตกต่างพลิกผันเบี่ยงเบน หรือวิธีการที่คุ้นชินจะใช้การได้อยู่สืบไป
สอง) ดันฝอยเม้าท์มอยว่าทุกอย่างราบรื่นเรียบร้อยรุ่งเรืองดีซะตัวเองหลงเชื่อคำขี้โม้โอ้อวดของตัวเอง
ที่ผมยกเรื่องนี้มาเล่าก็เพื่อเป็นนิทัศน์อุทธาหรณ์สำหรับศรัทธาธิกะทั้งหลายที่เชื่อมั่นอย่างสนิทใจในความสามารถว่าจีนจะจัดการฟองสบู่เศรษฐกิจของตัวเองได้แหงแก๋ไม่ต้องสงสัยลังเล หรือฟองสบู่ที่มีอยู่มันเล็กย่อยเฉพาะส่วนภูมิภาค ไม่ใหญ่โตปกคลุมทั้งระบบ ฯลฯ
เจ๋งกะเบ้งอย่างจีนหรือจะพลาดได้ 555
อาการอย่างนี้ยิ่งกำเริบหนักตามหลังวิกฤตซับไพรม์ในอเมริกาและวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปปัจจุบัน ซึ่งก่อเกิดความเหลิงลำพองทะนงตัวว่าเมกากับยุโรปล้มเหลวทางวัฒนธรรม เอเชียผิวเหลืองหรือชัดกว่านั้นจีนอภิมหารุ่งโรจน์โชติช่วงชัชวาลยิ่งใหญ่ต้าฮั่น จะเป็นสุดยอดอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเร็ว ๆ นี้แน่นอน และไม่มีวันบริหารจัดการเศรษฐกิจพลาดเด็ดขาดเพราะได้สรุปบทเรียนจากเมกากับยุโรปมาแล้ว และวัฒนธรรมจีนตาตี่เหนือกว่าวัฒนธรรมฝรั่งตาน้ำข้าวโว้ย ไม่เห็นหรือ วัทธ่อ
แหะ ๆ แน่ใจจริง ๆ หรือครับ? ในสภาพที่....
- ระบบธนาคารในเงามืด (ธุรกรรมการเงินโดยสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร เช่น เงินกู้ที่ปล่อยโดยทรัสต์ หรือไม่ปรากฏในบัญชีงบดุลธนาคารปกติ เช่น ผลิตภัณฑ์บริหารทรัพย์สิน ดังนั้นจึงอยู่นอกเหนือการกำกับควบคุมของทางการ) กำลังบูมในจีน โดยดูจากสัดส่วนของเงินกู้ธนาคารปกติในระบบการเงินทั้งสังคมลดจาก ๙๑% เมื่อปี ๒๐๐๒ --> ๕๒% เมื่อปี ๒๐๑๒ สะท้อนว่าเงินกู้ในเงามืดขยายบทบาทออกไปในระบบการเงินจีน http://www.scmp.com/business/banking-finance/article/1177498/bank-watchdog-vows-control-loan-defaults
สถิติผลิตภัณฑ์บริหารทรัพย์สินอันเป็นส่วนหนึ่งของระบบธนาคารในเงามืดของจีน
- มูลค่าของผลิตภัณฑ์บริหารทรัพย์สิน (wealth management products) หรือผลิตภัณฑ์การเงินที่ธนาคารนำออกขายแก่นักลงทุนทำกำไร (อันเป็นส่วนหนึ่งของระบบธนาคารในเงามืด) เพิ่มสูงเป็น ๑๓ ล้านล้านหยวนหรือ ๒๕% ของ GDP จีน โดย ๑ ใน ๓ นำไปลงทุนปล่อยกู้ให้โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลท้องถิ่นและบริษัทเอกชน ซึ่งนับว่าค่อนข้างเสี่ยงสูงกว่าหุ้น, หุ้นกู้, และตราสารระยะสั้นในตลาดเงินตราทั่วไป (อีก ๒ ใน ๓) http://www.scmp.com/business/article/1189410/south-sea-bubble-warning-wealth-management-investors
รอลุ้นกันต่อไปด้วยใจระทึก
ชางฟูลิน ประธานคณะกรรมาธิการกำกับการธนาคารจีน
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย”
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง