Skip to main content

คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....

Kasian Tejapira(16/4/56)

 

หลังวิกฤตซับไพรม์ปะทุเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๘ แล้วลุกลามไปจนเศรษฐกิจถดถอยใหญ่ทั่วโลก (The Great Recession) สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองแห่งสหราชอาณาจักรได้เข้าร่วมประชุมรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับตลาดระหว่างประเทศโดยบรรดาสุดยอดศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ณ London School of Economics อันดังก้องโลกเมื่อวันที่ ๕ พ.ย. ๒๐๐๘ และตรัสถามว่า: 
 
“ถ้าสิ่งเหล่านี้มันใหญ่โตขนาดนั้น ทำไมไม่มีใครสังเกตเห็นมันล่ะ?” 
ภาพ :  สมเด็จพระราชินีฯเอลิซาเบธพร้อมพระสวามีเสด็จ LSE ฟังบรรยายสรุปวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี ๒๐๐๘
 
ศาสตราจารย์นักเศรษฐศาสตร์มือหนึ่งของสหราชอาณาจักร ๓๕ คนต่างอับอายขายขี้หน้าร้อนตัวจึงร่วมกันเขียนหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระราชินีฯเอลิซาเบธเพื่อตอบพระราชปุจฉาดังกล่าว ลงวันที่ ๒๒ ก.ค. ๒๐๐๙ http://www.ft.com/cms/3e3b6ca8-7a08-11de-b86f-00144feabdc0.pdf สรุปรวมความว่า:
 
“ด้านหลักแล้วก็เนื่องด้วยผู้ฉลาดปราดเปรื่องจำนวนมากประสบความล้มเหลวด้านจินตนาการรวมหมู่ร่วมกัน...ที่จะเข้าใจบรรดาความเสี่ยงต่อระบบโดยรวมพ่ะย่ะค่ะ”
 
ขยายความก็คือ:
 
หนึ่ง) ประมาณค่านอกช่วงผิด (the error of extrapolation) แปลเป็นภาษาชาวบ้านคือ ประยุกต์วิธีการหรือข้อสรุปที่เคยใช้มาแต่เดิม เอาไปมองหรือคาดเก็งสถานการณ์ที่ตนไม่รู้ โดยทึกทักเอาว่าแนวโน้มอย่างที่เป็นมาคงจะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ เป็นเส้นตรงไม่แตกต่างพลิกผันเบี่ยงเบน หรือวิธีการที่คุ้นชินจะใช้การได้อยู่สืบไป
 
สอง) ดันฝอยเม้าท์มอยว่าทุกอย่างราบรื่นเรียบร้อยรุ่งเรืองดีซะตัวเองหลงเชื่อคำขี้โม้โอ้อวดของตัวเอง
 
ที่ผมยกเรื่องนี้มาเล่าก็เพื่อเป็นนิทัศน์อุทธาหรณ์สำหรับศรัทธาธิกะทั้งหลายที่เชื่อมั่นอย่างสนิทใจในความสามารถว่าจีนจะจัดการฟองสบู่เศรษฐกิจของตัวเองได้แหงแก๋ไม่ต้องสงสัยลังเล หรือฟองสบู่ที่มีอยู่มันเล็กย่อยเฉพาะส่วนภูมิภาค ไม่ใหญ่โตปกคลุมทั้งระบบ ฯลฯ
 
เจ๋งกะเบ้งอย่างจีนหรือจะพลาดได้ 555
 
อาการอย่างนี้ยิ่งกำเริบหนักตามหลังวิกฤตซับไพรม์ในอเมริกาและวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปปัจจุบัน ซึ่งก่อเกิดความเหลิงลำพองทะนงตัวว่าเมกากับยุโรปล้มเหลวทางวัฒนธรรม เอเชียผิวเหลืองหรือชัดกว่านั้นจีนอภิมหารุ่งโรจน์โชติช่วงชัชวาลยิ่งใหญ่ต้าฮั่น จะเป็นสุดยอดอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเร็ว ๆ นี้แน่นอน และไม่มีวันบริหารจัดการเศรษฐกิจพลาดเด็ดขาดเพราะได้สรุปบทเรียนจากเมกากับยุโรปมาแล้ว และวัฒนธรรมจีนตาตี่เหนือกว่าวัฒนธรรมฝรั่งตาน้ำข้าวโว้ย ไม่เห็นหรือ วัทธ่อ
 
แหะ ๆ แน่ใจจริง ๆ หรือครับ? ในสภาพที่....
 
- ระบบธนาคารในเงามืด (ธุรกรรมการเงินโดยสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร เช่น เงินกู้ที่ปล่อยโดยทรัสต์ หรือไม่ปรากฏในบัญชีงบดุลธนาคารปกติ เช่น ผลิตภัณฑ์บริหารทรัพย์สิน ดังนั้นจึงอยู่นอกเหนือการกำกับควบคุมของทางการ) กำลังบูมในจีน โดยดูจากสัดส่วนของเงินกู้ธนาคารปกติในระบบการเงินทั้งสังคมลดจาก ๙๑% เมื่อปี ๒๐๐๒ --> ๕๒% เมื่อปี ๒๐๑๒ สะท้อนว่าเงินกู้ในเงามืดขยายบทบาทออกไปในระบบการเงินจีน http://www.scmp.com/business/banking-finance/article/1177498/bank-watchdog-vows-control-loan-defaults 
 สถิติผลิตภัณฑ์บริหารทรัพย์สินอันเป็นส่วนหนึ่งของระบบธนาคารในเงามืดของจีน
 
- มูลค่าของผลิตภัณฑ์บริหารทรัพย์สิน (wealth management products) หรือผลิตภัณฑ์การเงินที่ธนาคารนำออกขายแก่นักลงทุนทำกำไร (อันเป็นส่วนหนึ่งของระบบธนาคารในเงามืด) เพิ่มสูงเป็น ๑๓ ล้านล้านหยวนหรือ ๒๕% ของ GDP จีน โดย ๑ ใน ๓ นำไปลงทุนปล่อยกู้ให้โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลท้องถิ่นและบริษัทเอกชน ซึ่งนับว่าค่อนข้างเสี่ยงสูงกว่าหุ้น, หุ้นกู้, และตราสารระยะสั้นในตลาดเงินตราทั่วไป (อีก ๒ ใน ๓) http://www.scmp.com/business/article/1189410/south-sea-bubble-warning-wealth-management-investors 
 
รอลุ้นกันต่อไปด้วยใจระทึก
ชางฟูลิน ประธานคณะกรรมาธิการกำกับการธนาคารจีน

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม