Skip to main content

นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน

Kasian Tejapira (20/5/56)

1) จับประเด็นเก็บความสังเขปจาก: “การลงร่องของกระฎุมพีไทย”, มติชนสุดสัปดาห์, ๓ – ๙ พ.ค. ๒๕๕๖, น.๓๐.


- อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ อ้างอิงใช้งานประวัติศาสตร์ลือชื่อของ Eric Hobsbawm เรื่อง The Age of Revolution, 1789-1848 (1962) เป็นหลักเพื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์การเคลื่อนไหว “ปฏิวัติ” ครั้งต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทยถึงปัจจุบัน


- เรื่องแรกที่สนใจคือ พลวัตของการแตกแยกทางการเมืองในหมู่นักปฏิวัติกระฎุมพีหลังชนะยึดอำนาจรัฐได้ (งานแนวนี้อีก เรื่องที่น่าสนใจนำมาศึกษาเปรียบเทียบคือ Crane Brinton, The Anatomy of Revolution, 1938) กระบวนการคร่าว ๆ มักเป็นดังนี้คือ: -


- แรงขับเคลื่อนเรียกร้องผลักดันของมวลชน → ปีกซ้ายของการปฏิวัติ → นำการปฏิวัติสังคม (รื้อระเบียบ เศรษฐกิจสังคมมูลฐาน)
- พวกเดินสายกลางปฏิรูปรับไม่ได้กับการเอียงซ้าย-ปฏิวัติสังคม → พยายามจำกัดการปฏิวัติไว้แค่ปริมณฑล การเมือง (โครงสร้างอำนาจการเมืองการปกครองเท่านั้น) → หันไปร่วมมือกับพวกจารีตนิยม/กลุ่มอำนาจเดิมกลายเป็น ฝ่ายขวา


- อ.นิธิเห็นว่า “การปฏิวัติ” ครั้งต่าง ๆ ที่มีมาในไทย (ใช้ในความหมายหลวมกว้างที่รวมเอา ๒๔๗๕, ๒๕๑๖, ๒๕๓๕, และปัจจุบันได้ด้วย) เหมือนประสบการณ์การปฏิวัติกระฎุมพีฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ แต่ต่างจากการปฏิวัติสังคมนิยม-คอมมิวนิสต์ในรัสเซีย ค.ศ. ๑๙๑๗ และจีน ค.ศ. ๑๙๔๙


- กล่าวคือ ลักษณะเด่นของการปฏิวัติไทย ได้แก่ no core leadership, no organization, no program, no concerted systemic efforts at ideological propaganda or mass mobilization, มีแต่การสร้างอารมณ์ร่วม


- “การปฏิวัติ” ของไทยแต่ละครั้งอาจไม่ขาดหมดเสียทุกอย่าง แต่มีบางอย่าง เช่น ปฏิวัติ ๒๔๗๕ มีคณะราษฎรเป็นแกนนำ หลวม ๆ อยู่, ปฏิวัติ ๒๕๑๖ มีฐานมวลชนกว้างขวาง, เป็นต้น แต่กล่าวโดยรวมแล้ว ค่อนข้างขาดสิ่งเหล่านี้ทำให้การปฏิวัติ มีขีดจำกัด (อ.นิธิเอ่ยผ่าน ๆ ว่า การเคลื่อนไหวปฏิวัติของ พคท. มีแกนนำ การจัดตั้ง หลักนโยบายและการปลุกระดมมวลชน ทว่าปฏิวัติแพ้…..)


- ข้อน่าสนใจคือการประเมินรัฐธรรมนูญปฏิรูปการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๐ และการเคลื่อนไหวมวลชนในปัจจุบัน


- นิธิเสนอว่า ภายใต้การนำของเครือข่ายนักปฏิรูปสังคม “รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทำให้เกิดการเมืองมวลชนขึ้นเป็นครั้งแรก” นี่นับเป็นการประเมินที่กว้างขวางต่างไปจากข้อประเมินของ อุเชนทร์ เชียงแสน ในวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของเขา อุเชนทร์ เสนอการวิเคราะห์ตีความที่น่าสนใจว่า รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทำให้การเมืองภาคประชาชนกลายเป็นสถาบัน (คือกลายเป็น แบบแผนปฏิบัติและมีพื้นที่อำนาจทางการในระบบการเมืองการปกครองขึ้นมา) ดูเหมือนข้อเสนอนี้ใกล้เคียงล้อกันกับ ของ อ.นิธิ จุดต่างน่าจะอยู่ตรงอุเชนทร์จำกัดว่าเฉพาะ “การเมืองภาคประชาชน” เท่านั้นที่กลายเป็นสถาบัน ขณะที่นิธิเห็นว่า “การเมืองมวลชน” โดยรวมเลย กล่าวคือ มวลชนระดับล่างได้อาศัยช่องทางในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ เข้าร่วมกระบวนการวาง และกำหนดนโยบายผ่านการเลือกตั้งและเคลื่อนไหวกดดันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก (ในคุณภาพและระดับที่ต่างจาก ลำพังการเคลื่อนไหวมวลชนในอดีตที่ผ่านมา เช่น ช่วง ๑๔ - ๖ ตุลาฯ, ช่วงหลังพฤษภาฯ ๒๕๓๕ เป็นต้น)


- นิธิยังวิเคราะห์ต่อว่า เครือข่ายนักปฏิรูปสังคมและอำนาจนำตามประเพณี เสียอำนาจการนำและอิทธิพลลงไปจาก การเมืองมวลชนที่เกิดขึ้นโดยรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทั้งสองฝ่ายจึงร่วมมือกันทำรัฐประหาร ๒๕๔๙ เพื่อโค่นล้มการเมืองมวล ชนลงเสีย สรุปคือ

[เครือข่ายนักปฏิรูปสังคม + อำนาจนำตามประเพณี = รัฐประหาร ๒๕๔๙ vs. การเมืองมวลชน]


-อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเมืองมวลชนปัจจุบันมีลักษณะจุดอ่อนเป็นข้อจำกัดร่วมกันกับการปฏิวัติไทยครั้งอื่น ๆ ที่ผ่านมา ในอดีต กล่าวคือ:

- ไม่มีหลักนโยบายชัดเจนว่าจะนำพาสังคมไทยทางไหน ไม่ว่าในระดับปฏิวัติสังคมหรือปฏิรูปสังคม
- ประเด็นการเรียกร้องจึงเริ่มแตกฉานซ่านกระจายเป็นกรณีเฉพาะราย single issues
- นำไปสู่สภาพที่แกนนำกระฎุมพีเสรีนิยมแตกแยกแย่งอำนาจกันเอง
- และหันไปร่วมมือกับกลุ่มอำนาจเดิมตามลำดับ
→ จะนำไปสู่การเมืองกระฎุมพีปกติ/การเมืองอย่างที่มันเคยเป็น ๆ มาในที่สุด

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม