Skip to main content
Kasian Tejapira(8/6/56)
มีประเด็นหนึ่งซึ่งคาใจผมอยู่จากงานเสวนา “คิดใหม่ประชานิยม” ที่ TDRI เมื่อ ๓๐ พ.ค. ที่ผ่านมา http://thaipublica.org/2013/06/tdri-seminar-populist-policies/ ในความเห็นผม มันยังกำกวมและไม่ค่อยมีใครหยิบมาพูดถึงให้ชัดเจน คือเรื่องการ “ล้วงกระเป๋า”
 
ความเปรียบเรื่องการ “ล้วงกระเป๋า” นี้นักเศรษฐศาสตร์ใช้บ่อย เพื่อบ่นรำพึงถึงการที่รัฐบาลเอ่ยอ้างหลักนโยบายที่ฟังดูดีอย่างใดอย่างหนึ่ง คำเตือนจากนักเศรษฐศาสตร์ก็คือ เพื่อนพลเมืองผู้เสียภาษีทั้งหลาย พอได้ยินรัฐบาลพูดแบบนี้ละก็ ระวังกระเป๋าตังค์ตัวเองไว้ให้ดีเถิด รัฐบาลกำลังจะยื่นมือเข้ามาล้วง.....(จากเงินภาษีอากรของท่าน) เพื่อเอาไปใช้จ่ายงบประมาณอย่างสุรุ่ยสุร่ายไม่รับผิดชอบ
 
ผมฟังอุปมาอุปไมยนี้หนแรกก็จากอาจารย์อัมมาร สยามวาลานี่แหละครับ สักราวสิบกว่าปีก่อนตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง
 
ในงานเสวนาหนนี้ อาจารย์อัมมารก็เป็นผู้เอ่ยอ้างอุปมา “ล้วงกระเป๋า” มาใช้อีกนั่นแหละ ในบริบทนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ --> ยิ่งลักษณ์ โดยเป้าโจมตีหลักคือนโยบายจำนำข้าว (“ทุกเม็ด”) 
ดร.อัมมาร สยามวาลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ภาพจาก thaipublica.org)
 
ทว่าไม่ใช่อาจารย์อัมมารคนเดียวที่เอ่ยอ้างใช้ในงานนี้ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็ทำเหมือนกัน แต่นัยต่างออกไปบ้าง และความต่างอย่างเนียนละเมียดตรงนี้ ผมเกรงว่าคนทั่วไปไม่ทันใส่ใจสังเกต
 
อาจารย์นิธิเน้นว่าลักษณะอย่างหนึ่งของประชานิยมคือแนวนโยบายแบบกระจายรายได้ทรัพย์สิน (redistributive policy) ความข้อนี้ชัดเจนมากเมื่ออาจารย์นิธิอภิปรายถึงนโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ ๓๐๐ บาท ว่าเป็นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” นายจ้างนายทุน เอาไปใส่เพิ่มให้กับ ลูกจ้างคนงาน
 ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์(ภาพจาก thaipublica.org)
 
นัยไม่เหมือนกันนะครับ “ล้วงกระเป๋า” ๒ อันนี้
 
- อัมมารเน้นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” ผู้เสียภาษีให้รัฐ เอาไปใช้จ่ายช่วยเหลือคนบางกลุ่มเช่นชาวนาผ่านเงินงบประมาณ
 
- นิธิเน้นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” นายจ้างนายทุนหรือคนที่มั่งมีกว่า เอาไปเฉลี่ยกระจายให้คนกลุ่มอื่นเช่นลูกจ้างคนงาน เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางรายได้ทรัพย์สินมากขึ้น
 
ผมคิดว่ามีอย่างน้อยจังหวะหนึ่งที่นัยสองอันนี้พันกันจนสับสน และอาจารย์อัมมารเข้าใจคำว่า “ล้วงกระเป๋า” ไขว้เขวไป (ผมกับอาจารย์นิธิกำลังพูดเรื่องนโยบายกระจายรายได้ทรัพย์สินจากกระเป๋าคนรวยนายจ้างนายทุนไปให้คนจนกว่า ขณะที่อาจารย์อัมมารเข้าใจว่าผมกำลังพูดเรื่องล้วงกระเป๋าจากผู้เสียภาษีโดยรวม) 
 
“ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ล้วงจากส่วนกลางของชาติ ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงคือผู้จ่ายภาษีทั้งปวง และไม่แน่ว่าจะมีนัยของการกระจายรายได้
 
ส่วน “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ เน้นการล้วงจากคนรวย เอาไปกระจายให้คนจนกว่า และมีนัยของการกระจายรายได้
 
นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ; 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง