Kasian Tejapira(8/6/56)
มีประเด็นหนึ่งซึ่งคาใจผมอยู่จากงานเสวนา “คิดใหม่ประชานิยม” ที่ TDRI เมื่อ ๓๐ พ.ค. ที่ผ่านมา http://thaipublica.org/2013/06/tdri-seminar-populist-policies/ ในความเห็นผม มันยังกำกวมและไม่ค่อยมีใครหยิบมาพูดถึงให้ชัดเจน คือเรื่องการ “ล้วงกระเป๋า”
ความเปรียบเรื่องการ “ล้วงกระเป๋า” นี้นักเศรษฐศาสตร์ใช้บ่อย เพื่อบ่นรำพึงถึงการที่รัฐบาลเอ่ยอ้างหลักนโยบายที่ฟังดูดีอย่างใดอย่างหนึ่ง คำเตือนจากนักเศรษฐศาสตร์ก็คือ เพื่อนพลเมืองผู้เสียภาษีทั้งหลาย พอได้ยินรัฐบาลพูดแบบนี้ละก็ ระวังกระเป๋าตังค์ตัวเองไว้ให้ดีเถิด รัฐบาลกำลังจะยื่นมือเข้ามาล้วง.....(จากเงินภาษีอากรของท่าน) เพื่อเอาไปใช้จ่ายงบประมาณอย่างสุรุ่ยสุร่ายไม่รับผิดชอบ
ผมฟังอุปมาอุปไมยนี้หนแรกก็จากอาจารย์อัมมาร สยามวาลานี่แหละครับ สักราวสิบกว่าปีก่อนตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง
ในงานเสวนาหนนี้ อาจารย์อัมมารก็เป็นผู้เอ่ยอ้างอุปมา “ล้วงกระเป๋า” มาใช้อีกนั่นแหละ ในบริบทนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ --> ยิ่งลักษณ์ โดยเป้าโจมตีหลักคือนโยบายจำนำข้าว (“ทุกเม็ด”)
ทว่าไม่ใช่อาจารย์อัมมารคนเดียวที่เอ่ยอ้างใช้ในงานนี้ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็ทำเหมือนกัน แต่นัยต่างออกไปบ้าง และความต่างอย่างเนียนละเมียดตรงนี้ ผมเกรงว่าคนทั่วไปไม่ทันใส่ใจสังเกต
อาจารย์นิธิเน้นว่าลักษณะอย่างหนึ่งของประชานิยมคือแนวนโยบายแบบกระจายรายได้ทรัพย์สิน (redistributive policy) ความข้อนี้ชัดเจนมากเมื่ออาจารย์นิธิอภิปรายถึงนโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ ๓๐๐ บาท ว่าเป็นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” นายจ้างนายทุน เอาไปใส่เพิ่มให้กับ ลูกจ้างคนงาน
นัยไม่เหมือนกันนะครับ “ล้วงกระเป๋า” ๒ อันนี้
- อัมมารเน้นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” ผู้เสียภาษีให้รัฐ เอาไปใช้จ่ายช่วยเหลือคนบางกลุ่มเช่นชาวนาผ่านเงินงบประมาณ
- นิธิเน้นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” นายจ้างนายทุนหรือคนที่มั่งมีกว่า เอาไปเฉลี่ยกระจายให้คนกลุ่มอื่นเช่นลูกจ้างคนงาน เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางรายได้ทรัพย์สินมากขึ้น
ผมคิดว่ามีอย่างน้อยจังหวะหนึ่งที่นัยสองอันนี้พันกันจนสับสน และอาจารย์อัมมารเข้าใจคำว่า “ล้วงกระเป๋า” ไขว้เขวไป (ผมกับอาจารย์นิธิกำลังพูดเรื่องนโยบายกระจายรายได้ทรัพย์สินจากกระเป๋าคนรวยนายจ้างนายทุนไปให้คนจนกว่า ขณะที่อาจารย์อัมมารเข้าใจว่าผมกำลังพูดเรื่องล้วงกระเป๋าจากผู้เสียภาษีโดยรวม)
“ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ล้วงจากส่วนกลางของชาติ ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงคือผู้จ่ายภาษีทั้งปวง และไม่แน่ว่าจะมีนัยของการกระจายรายได้
ส่วน “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ เน้นการล้วงจากคนรวย เอาไปกระจายให้คนจนกว่า และมีนัยของการกระจายรายได้
นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ;
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
บทกวีไว้อาลัยการจากไปของ 'ไม้หนึ่ง ก.กุนที' ที่ถูกยิงเสียชีวิตวันนี้ "เมื่อกวีจากไปไร้กวี.."
เกษียร เตชะพีระ
ที่คุณสุเทพ ณ กปปส.คัดค้านการเลือกตั้งก่อนปฏิรูป ยืนกรานว่าต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ก็มีนัยการเมืองสำคัญตรงนี้ คือต้องทำแท้ง “อำนาจอธิปไตย” ของปวงชนชาวไทยให้จงได้ ไม่ให้มันได้คลอดได้ผุดได้เกิดผ่านกระบวนการเลือกตั้งมาลืมตาดูโลก ทำแท้ง “อำนาจอธิปไตย” ของปวงชนชาวไทยได้สำเร็จแล้ว ก็จะได้เคลมตนเองเป็น “รัฏฐาธิปัตย์” แทนนั่นปะไร
ด้านกลับการเมือง: ความหดหู่ห่อเหี่ยวในความฮึกห้าวเหิมหาญของขบวนการแอนตี้เลือกตั้ง ต่อต้านประชาธิปไตย
เกษียร เตชะพีระ
พลังฮึกห้าวเหิมหาญของม็อบและขบวนการใดที่ก่อตัวขึ้นโดยกัดกร่อนบ่อนทำลายเหล่าสถาบันการเมืองของชาติให้เสื่อมทรุดถดถอยราบคาบลงไป ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่สร้างสรรค์อะไรขึ้นมา มีแต่พลังทำลาย ผลได้ของการเคลื่อนไหว ไม่ยั่งยืน เมื่อฝุ่นหายตลบแล้วก็จะพบว่ามีแต่ซากปรักหักพังแห่งสถาบันการเมืองของชาติทั้งชาติ โดยไม่ได้ดอกผลการต่อสู้อะไรจริงจังยั่งยืนขึ้นมาเลย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อสังเกตหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยพรบ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทเพื่อสร้างและปรับปรุงระบบลอจิสติกส์ของประเทศใหม่ ผิดรัฐธรรมนูญ
เกษียร เตชะพีระ
ผมอ่านข้อเสนอที่นายกแพทยสภาและบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขแถลงล่าสุดแล้ว มีความเห็นว่ามัน "ไม่เป็นกลาง" ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้...
เกษียร เตชะพีระ
วิธีการที่ผิด ไม่สามารถนำไปสู่เป้าหมายที่ถูกต้องดีงามได้ และคนอื่นเป็นเจ้าของประเทศไทยเหมือนกันเท่ากับผมและคุณ เท่ากันเป๊ะ