Kasian Tejapira(8/6/56)
มีประเด็นหนึ่งซึ่งคาใจผมอยู่จากงานเสวนา “คิดใหม่ประชานิยม” ที่ TDRI เมื่อ ๓๐ พ.ค. ที่ผ่านมา http://thaipublica.org/2013/06/tdri-seminar-populist-policies/ ในความเห็นผม มันยังกำกวมและไม่ค่อยมีใครหยิบมาพูดถึงให้ชัดเจน คือเรื่องการ “ล้วงกระเป๋า”
ความเปรียบเรื่องการ “ล้วงกระเป๋า” นี้นักเศรษฐศาสตร์ใช้บ่อย เพื่อบ่นรำพึงถึงการที่รัฐบาลเอ่ยอ้างหลักนโยบายที่ฟังดูดีอย่างใดอย่างหนึ่ง คำเตือนจากนักเศรษฐศาสตร์ก็คือ เพื่อนพลเมืองผู้เสียภาษีทั้งหลาย พอได้ยินรัฐบาลพูดแบบนี้ละก็ ระวังกระเป๋าตังค์ตัวเองไว้ให้ดีเถิด รัฐบาลกำลังจะยื่นมือเข้ามาล้วง.....(จากเงินภาษีอากรของท่าน) เพื่อเอาไปใช้จ่ายงบประมาณอย่างสุรุ่ยสุร่ายไม่รับผิดชอบ
ผมฟังอุปมาอุปไมยนี้หนแรกก็จากอาจารย์อัมมาร สยามวาลานี่แหละครับ สักราวสิบกว่าปีก่อนตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง
ในงานเสวนาหนนี้ อาจารย์อัมมารก็เป็นผู้เอ่ยอ้างอุปมา “ล้วงกระเป๋า” มาใช้อีกนั่นแหละ ในบริบทนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ --> ยิ่งลักษณ์ โดยเป้าโจมตีหลักคือนโยบายจำนำข้าว (“ทุกเม็ด”)
ทว่าไม่ใช่อาจารย์อัมมารคนเดียวที่เอ่ยอ้างใช้ในงานนี้ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็ทำเหมือนกัน แต่นัยต่างออกไปบ้าง และความต่างอย่างเนียนละเมียดตรงนี้ ผมเกรงว่าคนทั่วไปไม่ทันใส่ใจสังเกต
อาจารย์นิธิเน้นว่าลักษณะอย่างหนึ่งของประชานิยมคือแนวนโยบายแบบกระจายรายได้ทรัพย์สิน (redistributive policy) ความข้อนี้ชัดเจนมากเมื่ออาจารย์นิธิอภิปรายถึงนโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ ๓๐๐ บาท ว่าเป็นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” นายจ้างนายทุน เอาไปใส่เพิ่มให้กับ ลูกจ้างคนงาน
นัยไม่เหมือนกันนะครับ “ล้วงกระเป๋า” ๒ อันนี้
- อัมมารเน้นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” ผู้เสียภาษีให้รัฐ เอาไปใช้จ่ายช่วยเหลือคนบางกลุ่มเช่นชาวนาผ่านเงินงบประมาณ
- นิธิเน้นการที่รัฐบาล “ล้วงกระเป๋า” นายจ้างนายทุนหรือคนที่มั่งมีกว่า เอาไปเฉลี่ยกระจายให้คนกลุ่มอื่นเช่นลูกจ้างคนงาน เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางรายได้ทรัพย์สินมากขึ้น
ผมคิดว่ามีอย่างน้อยจังหวะหนึ่งที่นัยสองอันนี้พันกันจนสับสน และอาจารย์อัมมารเข้าใจคำว่า “ล้วงกระเป๋า” ไขว้เขวไป (ผมกับอาจารย์นิธิกำลังพูดเรื่องนโยบายกระจายรายได้ทรัพย์สินจากกระเป๋าคนรวยนายจ้างนายทุนไปให้คนจนกว่า ขณะที่อาจารย์อัมมารเข้าใจว่าผมกำลังพูดเรื่องล้วงกระเป๋าจากผู้เสียภาษีโดยรวม)
“ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ล้วงจากส่วนกลางของชาติ ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงคือผู้จ่ายภาษีทั้งปวง และไม่แน่ว่าจะมีนัยของการกระจายรายได้
ส่วน “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ เน้นการล้วงจากคนรวย เอาไปกระจายให้คนจนกว่า และมีนัยของการกระจายรายได้
นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ;
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
"เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ