Skip to main content

ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)

 
แน่นอนว่าคำว่า "ระบอบทักษิณ" ถูกใช้จนเละ ผมในฐานะผู้มีส่วนริเริ่มนิยามศัพท์ตัวนี้ขึ้นมา ก็คงมีส่วนต้องรับผิดชอบด้วย (ดู ระบอบทักษิณ บันทึกเรื่องราวของคำสร้างคำหนึ่ง โดยเกษียร เตชะพีระ ๒๕๕๐ http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q3/2007june08p6.htm)
(เปิดอ่านได้ที่ ระบอบทักษิณ บันทึกเรื่องราวของคำสร้างคำหนึ่ง โดยเกษียร เตชะพีระ ๒๕๕๐ http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q3/2007june08p6.htm )
 
ในทางวิชาการ ผมคิดว่ามีเรื่องที่สามารถถกเถียงกันต่อไปได้ว่า "ระบอบทักษิณ" มีจริงหรือไม่? อย่างไร? หรือเป็นแค่มายาการเหลวไหลที่นักวิชาการอย่างผมสร้างขึ้น? อย่างไรก็ตาม นี่คงไม่ใช่ประเด็นเร่งด่วนเฉพาะหน้าตอนนี้
 
ผมคิดว่าประเด็นเร่งด่วนเฉพาะหน้าตอนนี้คือการใช้คำว่า "ระบอบทักษิณ" เป็นเครื่องมือให้ความชอบธรรมทางการเมืองวัฒนธรรมแก่การลุกฮือโค่นระบอบรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยของกปปส.
 
มองในแง่หลังด้านการเมืองวัฒนธรรมนี้แล้ว ผมเห็นว่า "ระบอบทักษิณ" ถูกนิยามให้เป็นอะไรก็แล้วแต่ที่อยู่นอกเหนือ เป็นด้านตรงข้าม ด้านกลับ ด้านที่ไม่ใช่ของ "ความเป็นไทย"
 
จะบอกว่า "ระบอบทักษิณ" คือเขตห้ามเข้าทางความคิดของป้ายจราจร "ความเป็นไทย" ก็ได้
"ความเป็นไทย" ที่ใช้กันทางการเมืองวัฒนธรรมเอาเข้าจริงคือป้ายจราจรทางความคิดป้ายหนึ่ง ที่ระบุชี้ว่าเกินจากป้ายนี้ไปเป็น "เขตห้ามเข้า/ต้องห้ามทางความคิด" อย่าได้เข้าไปเด็ดขาด (ธงชัย วินิจจะกูลใช้คำว่า negative identification of Thainess)
 
ตัวป้าย "ความเป็นไทย" นั้นเองจับให้นิ่งได้ยาก ความหมายที่แน่นอนของมันพูดให้ถึงที่สุดในทางเป็นจริง ไม่มี ความรู้เกี่ยวกับตัวมันความหมายของมันมีลักษณะสัมพัทธ์ พลิกไหวหมุนเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ (epistemologically relative and dynamic) แต่ผู้คนทั่วไปเชื่อฝังใจหัวปักหัวปำว่ามี "ความเป็นไทย" อยู่จริงแท้แน่นอนสัมบูรณ์แบบ ห้ามสงสัยความมีอยู่ดำรงอยู่จริงของมันโดยเด็ดขาด (ontologically absolute) ในทำนอง "ผีมีจริง แต่มันเป็นไง ไม่รู้ว่ะ เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ"
 
การปักป้าย "ความเป็นไทย" เพื่อบ่งชี้เขตห้ามเข้า/ต้องห้ามทางความคิดนอก "ความเป็นไทย" ออกไป มีลักษณะขยายได้ไร้ขอบเขต ปรับเปลี่ยนได้ไร้ขีดจำกัด เพดานแห่งเขตพื้นที่ต้องห้ามทางความคิดนี้ต้องมี แต่ตัวป้ายเองยักย้ายไปได้เรื่อย ๆ เพื่อจัดวางระเบียบทางความคิดให้เกิดขึ้นจงได้ไง
 
สมัยหนึ่ง ป้าย "ความเป็นไทย" ถูกใช้บอกเขตต้องห้ามทางความคิดว่าได้แก่ "ประชาธิปตัย" (republic) สมัย ร.๖, "คอมมิวนิสต์" สมัยสงครามเย็น เป็นต้น
 
"ระบอบทักษิณ" ก็คือเขตห้ามเข้า/ต้องห้ามทางความคิดของป้าย "ความเป็นไทย" ในปัจจุบัน 
 
ในความหมายทางการเมืองวัฒนธรรมนี้ เนื้อหาของ "ระบอบทักษิณ" จึงพลิกไหวต่อเติมตัดตอน edit ไปได้เรื่อย ๆ แล้วแต่สถานการณ์เฉพาะหน้า ดุลกำลังและข้อต่อรองตกลงทางการเมืองระหว่างอำนาจระเบียบเก่ากับกลุ่มอำนาจใหม่ที่เข้ามาท้าทายแย่งชิง
 
แต่ถ้าจะให้หาร่องรอยใกล้เคียงที่สุดของเขตห้ามเข้านี้ในปัจจุบัน น่าจะได้แก่
 
"อำนาจนำของกลุ่มทุนธุรกิจใหญ่เหนือระเบียบการเมืองแบบเลือกตั้งประชาธิปไตย ที่เบียดขับอำนาจนำเก่าที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมากออกไป"
 
นี่แหละคือสิ่งที่กปปส.ต้องการทำลาย และพวกเขาเลือกวิธีการที่จะต่อสู้และทำลายสิ่งนี้ด้วยการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยในความหมาย "เมื่อคนเราเท่ากัน อำนาจย่อมเกิดจากตัวเลข" ลงไปด้วยพร้อมกัน
 
 
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง