Skip to main content
 
หลังจากฟังข้อถกเถียงเรื่อง "การบังคับใส่เครื่องแบบนักศึกษาเข้าเรียน" มาพักหนึ่งและตรวจข้อสอบไปหลายเล่ม ผมสังเกตเห็นว่ามีความเข้าใจผิดสำคัญบางอย่างในหมู่นักศึกษาทั่วไป
 
คือเข้าใจว่า การใส่เครื่องแบบ/แต่งกายชุดนักศึกษาเหมือนกันหรือเป็นแบบแผนเดียวกัน = ความเสมอภาค
 
จริงหรือ? ใช่แน่หรือ?
sameness/uniformity
 
ลองคิดดูดี ๆ มันไม่จริงและไม่ใช่นะครับ!
 
ในแง่ concept, Equality ไม่ได้เท่ากับ Sameness/Uniformity
 
เวลาเราเรียกร้องให้คนเราเท่ากัน ไม่ได้แปลว่าคนเราจะเท่ากันได้ทุกคนต้องเหมือนกันเสียก่อนด้วย เช่น ทำอาชีพเดียวกัน แต่งกายเหมือนกัน นับถือศาสนาเหมือนกัน มีอุดมการณ์หรือจุดยืนการเมืองเหมือนกัน มีเพศเดียวกัน มีภูมิลำเนาหรือเชื้อชาติหรือพูดภาษาตรงกัน ฯลฯ 
 
แต่แปลว่าทุกคนถูกปฏิบัติต่อโดยสมมุติเสมือนหนึ่งว่าพวกเขาเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงซึ่งอาชีพ, เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย, ศาสนา, ความเชื่อทางการเมือง, เพศที่แตกต่างกันไปของพวกเขา ฯลฯ ตอบข้อสอบถูก ก็ได้เกรดได้คะแนนเท่ากัน ไม่ใช่ว่าคะแนนจะต่างกันไปตามเพศ, ศาสนา, เชื้อชาติ, ภาษา, ภูมิลำเนา, เครื่องแต่งกาย, สีหรือค่ายอุดมการณ์ทางการเมือง ฯลฯ
 
Equality ตรงข้ามกับ Inequality (ไม่ใช่ Sameness)
 
ส่วน Sameness/Uniformity ตรงข้ามกับ Difference (ไม่ใช่ Inequality)
 
แปลว่าคนเราไม่เหมือนกัน (เช่น แต่งกายต่างกัน) ก็เท่ากันได้
 
และก็แปลด้วยว่าต่อให้คนเราเหมือนกัน (แต่งกายเหมือนกัน, เพศเดียวกัน, ถือศาสนาเดียวกัน, มีเชื้อชาติเดียวกัน, พูดภาษาเดียวกัน, ฯลฯ) ก็ไม่เสมอภาคกันได้
 
อย่าหลงผิด, ผิดฝาผิดตัว
equality for all who are different 
 
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
same nation but unequal

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง