อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิ.ย. ศกนี้ ศาลสูงสหรัฐฯลงมติเอกฉันท์ ๙: ๐ ให้บริษัท Myriad Genetics Inc. แพ้คดีที่อ้างกรรมสิทธิ์จากการจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์ที่นักวิทยาศาสตร์ของบริษัทสกัดออกมาจากตัวมนุษย์ เพื่อเอาไปทดสอบว่ามีลักษณะผิดปกติอันอาจนำไปสู่มะเร็งในมดลูกและหน้าอกของผู้หญิงหรือไม่ (การทดสอบแบบเดียวกับที่แองเจลีนา โจลีทำและตัดสินใจผ่าตัดเต้านมออกทั้งสองข้างเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็ง)
ศาลสูงแยกแยะระหว่าง [ยีนส์ของคนที่เกิดตามธรรมชาต]ิ กับ [ตัวการทดสอบและ/หรือยีนส์ที่ถูกดัดแปลงเสริมแต่งในห้องทดลองจนผิดแผกแปลกต่างไปจากธรรมชาติ], อันแรกจดสิทธิบัตรเพื่ออ้างกรรมสิทธิ์เป็นของบริษัทเอกชนไม่ได้ มันเป็นของคนที่เกิดตามธรรมชาติ บริษัทแค่ไปดึงออกมาต่างหาก, ส่วนอันหลังบริษัทยังสามารถเอาไปจดสิทธิบัตรอ้างกรรมสิทธิ์ได้ตามปกติ
ผู้พิพากษาคลาเรนซ์ โธมัส ซึ่งรับผิดชอบเขียนคำพิพากษาตามมติเอกฉันท์ของศาลสูงดังกล่าวระบุไว้ในคำพิพากษาตอนหนึ่งว่า:
“กฎธรรมชาติ ปรากฏการณ์ธรรมชาติและความคิดนามธรรมนั้นไม่อาจนำไปจดสิทธิบัตรได้“เราถือว่าส่วนของ DNA ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นผลผลิตของธรรมชาติและจะเอาไปจดสิทธิบัตรเพียงเพราะมันได้ถูกดึงแยกต่างหากออกมา (จากร่างกายมนุษย์) นั้นมิได้“อย่างไรก็ตาม DNA ที่สังเคราะห์สร้างขึ้นยังนำไปจดสิทธิบัตรได้เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ”
ผู้พิพากษาคลาเรนซ์ โธมัส(Clarence Thomas)
คำพิพากษานี้พลิกโค่นแบบปฏิบัติที่บริษัทเอกชนต่าง ๆ พากันยื่นจดสิทธิบัตรยีนส์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติต่อเนื่องกันมากว่า ๓๐ ปี และส่งผลสะเทือนพอสมควรต่ออุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพมูลค่ามหาศาลกำไรสูง
มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
(ภาพประกอบศาลสูงสหรัฐฯและผู้พิพากษาคลาเรนซ์ โธมัส ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ http://www.pri.org/stories/supreme-court-human-genes-cannot-be-patented-14094.html )
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด...
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล