Skip to main content

 

Kasian Tejapira(7/7/56)

๑) เป็นเวลาหลายสิบปีหลังการปฏิวัติโค่นระบอบกษัตรย์ของนายพลนัสเซอร์ ต่อมายุคประธานาธิบดีซาดัตและมูบารัค กองทัพอียิปต์ได้รับอภิสิทธิ์ทางเศรษฐกิจ สวัสดิการ ธุรกิจ งบประมาณและเงินช่วยเหลือจากอเมริกามหาศาล เรากำลังพูดถึง "กงสียักษ์" ที่มีธุรกิจท่องเที่ยวโรงแรมรีสอร์ตของตัวเอง, มีอพาร์ตเมนท์ที่พักอย่างดีและร้านค้าพิเศษราคาย่อมเยาสำหรับนายทหารและครอบครัว, มีโรงงานผลิตสินค้าต่าง ๆ ของตัวเอง ดังนั้นรากทางผลประโยชน์และค่าเช่าเศรษฐกิจของกองทัพอียิปต์หยั่งรากลึกมากและแผ่กว้างมหาศาล (เป็นสาเหตุหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างกงสีกองทัพกับลูกชายมูบารัคที่หันไปผลักดันแนวทางเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่/privatization)


๒) ในการลุกฮือปฏิวัติของมวลชน+รัฐประหารของสภากลาโหมอียิปต์เพื่อโค่นประธานาธิบดีมูบารัคจอมเผด็จการเมื่อสองปีก่อน กองทัพอียิปต์ฉวยโอกาสถือหางทั้งสองข้างและฆ่าคนทั้งสองฝ่ายอย่างถึงที่สุด แม้ตอนจบ พวกนายทหารจะออกมาประกาศหนุนมวลชน บีบมูบารัคให้ลาออก และยืนดูเฉยขณะมวลชนบุกเผาที่ทำการใหญ่ของพรรคมูบารัค แต่ขณะเดียวกัน มวลชนฝ่ายต่อต้านมูบารัคเกือบพันที่ล้มตาย ถูกอุ้มหาย โผล่อีกทีกลายเป็นศพ ก็เป็นฝีมือทหารทำเหมือนกัน ทั้งนี้เป็นไปตามรายงานของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ประธานาธิบดีมอร์ซีตั้งขึ้นมาเอง (http://www.dignityinstitute.org/servicenavigation/news-and-activities/international-news/2013/04/egypt%27s-army-took-part-in-torture-and-killings-during-revolution-the-guardian.aspx)

๓) แต่ทหารไม่ต้องกลัวว่าจะโดนดำเนินคดี เพราะ(อดีต)ประธานาธิบดีมอร์ซีได้ deal กับทหารไว้เรียบร้อยแล้ว ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังปฏิวัติโค่นมูบารัคที่มอร์ซีตั้งคณะกรรมการ (ส่วนใหญ่เป็นคนของ Muslim Brotherhood) ร่างเองแล้วโหวตผ่านประชามติมาแล้วนั้น มีมาตราที่ยกทหารไว้ว่าจะดำเนินคดีต่อพวกเขาได้ก็แต่โดยศาลทหารเท่านั้น ไม่ต้องมาขึ้นศาลพลเรือนปกติ ดังนั้นเมื่อรายงานอื้อฉาวดังกล่าวแพลมออกมา มอร์ซีก็เหยียบมันไว้เฉย ๆ ไม่ทำอะไร ไม่ดำเนินคดีกับบรรดานายทหารเก่าทีรับผิดชอบปราบฆ่าประชาชนตอนปฏิวัติโค่นมูบารัคดังกล่าว หรือต่อให้ดำเนินคดี คงยากมาก ๆ ที่ศาลทหารจะตัดสินเอาผิดกับบรรดานายทหารด้วยกันเอง

๔) ดังนั้นหลังปฏิวัติโค่นมูบารัคสองปีที่ผ่านมา ทหารยังคงบิดเบือนฉวยใช้อำนาจ เล่นรังแกสิทธิมนุษยชนของผู้ชุมนุมและประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ไม่หยุดหย่อน ไม่ว่าบังคับตรวจพรหมจรรย์ผู้ชุมนุมหญิงในเวลาค่ำคืน, ฆ่าหมู่ผู้ชุมนุมชาวคริสเตียนคอพติคยี่สิบกว่าคน ฯลฯ โดยไม่ต้องห่วงว่าใครจะทำอะไรกับตนทางกฎหมายได้

๕) ในการลุกฮือของมวลชน+รัฐประหารโดยทหารโค่นประธานาธิบดีมอร์ซีล่าสุด ฝ่ายเศษเดนสมุนมูบารัคก็ออกมาเอาคืนเช่นกัน โดยรุมกระทืบรัฐบาลมอร์ซีอย่างสมแค้น แต่มีแนวทางชัดเจนว่า เรียกร้องให้ทหารออกมารัฐประหารโค่นมอร์ซีเสีย โดยเป็นกระบอกเสียงป่าวร้องทางสื่อมวลชนสารพัดขอให้ทหารเข้ามากุมกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย อย่าปล่อยให้มอร์ซี Muslim Brotherhood หรือคนอื่นทำ ซึ่งในที่สุดคำเรียกร้องของพวกสมุนมูบารัคเก่าก็ปรากฏเป็นจริง

สรุป กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย

นี่คือสถาบันที่กำลังดูแลการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของอียิปต์ปัจจุบันจ้า.....

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม