Skip to main content
 
เช้าวันเสาร์ที่ ๒๗ ก.ค. ศกนี้ ที่กรุงไคโร
ทหารแม่นปืนอียิปต์ยิงผู้ชุมนุมสนับสนุนประธานาธิบดีมอร์ซีซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มภราดรภาพมุสลิมที่ชุมนุมรอบสุเหร่ากลางกรุงไคโรอย่างโหดเหี้ยม มีผู้เสียชีวิต ๗๒ คน บาดเจ็บหลายร้อย การยิงมุ่งฆ่าให้ตาย (ยิงเข้าหัวนัดเดียว) ไม่ใช่ยิงให้บาดเจ็บ การฆ่าหมู่ของกองทัพเพื่อบดขยี้กลุ่มภราดรภาพมุสลิมให้สยบยอม ด้วยข้ออ้าง "ม็อบชนม็อบ" เริ่มขึ้นแล้ว นับเป็นการฆ่าหมู่ผู้ชุมนุมโดยกองทัพครั้งที่ ๒ ใน ๓ สัปดาห์ และนับเป็นครั้งนองเลือดที่สุดนับแต่การลุกฮือโค่นมูบารัคปี ๒๐๑๑ เป็นต้นมา
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ อยู่ด้านล่างครับ.....
 
 
กองทัพที่ไม่มีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ vs. มวลชนมุสลิมที่อียิปต์
 
 
มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
 
๑) กองทัพอียิปต์ค่อนข้างโล้นเลี่ยงเตียนโล่งความชอบธรรมทางอุดมการณ์เมื่อเทียบกับกรณีไทย กล่าวคือ
 
- อียิปต์ไม่มีสถาบันกษัตริย์ (ถูกคณะทหารนำโดยนัสเซอร์โค่นไปแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง)
 
- กองทัพอียิปต์เสียธงชาตินิยมไปนานแล้ว เพราะเดินตามประธานาธิบดีนายพลซาดัตกับมูบารัค คืนดีกับอิสราเอล (ศัตรูของชาติอาหรับ เคยรบชนะกองทัพอียิปต์ที่แพ้อย่างหมดท่า) จับมือรับเงินและอาวุธช่วยเหลือจากอเมริกาทุกปีสืบมาจำนวนมหาศาล
 
- ยังไม่ต้องพูดถึงว่ากองทัพกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนกุมทุนทำธุรกิจเป็นทุนอำมาตย์อภิสิทธิ์ใหญ่โตมโหฬารในประเทศด้วย จนกล่าวได้ว่ากองทัพอียิปต์มีวิกฤตเอกลักษณ์นานปี ไม่รู้ว่าตั้งขึ้นมารบอะไร รบกับใคร เพราะคืนดีกับศัตรูหมด เอาแต่ทำมาค้าขายหาเงินท่าเดียว อ้อ และไล่จับไล่ปราบฝ่ายค้านเผด็จการอย่างโหดเหี้ยมทารุณมาตลอดด้วย
 
กองทัพอียิปต์จึงไม่มีธงสถาบันพระมหากษัตริย์และธงชาตินิยมและธงความเป็นธรรม/เสมอภาคทางเศรษฐกิจสังคมให้โบกนำมวลชน
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๒) ในแง่ศาสนา ความชอบธรรมอยู่กับพลังฝ่ายค้านคือกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ที่เป็นองค์การอิสลามยืนนานและใหญ่โตที่สุดในอียิปต์มานานปีตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง (น่าจะใหญ่โตที่สุดในโลกอาหรับด้วยซ้ำ) ฐานมวลชนของกลุ่มภราดรภาพนี้แหละที่โหวตส่งมอร์ซีให้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และได้อำนาจรัฐปันส่วนจากมอร์ซีมา
 
เมื่อมอร์ซีถูกโค่น พวกเขาจึงกลายเป็นฐานมวลชน (เสื้อแดง?) ฝ่ายค้านทีเข้มแข็งเหนียวแน่นมาก ยึดสุเหร่ากลางไคโรประท้วงเรียกร้องให้ปล่อยตัวและคืนอำนาจประธานาธิบดีแก่มอร์ซีโดยไม่กลัวเจ็บกลัวตาย (ไปหลายสิบคนแล้ว เพราะทหารยิงเอา ส่งม็อบมาตีเอา ไม่ยั้ง)
 
ความชอบธรรมเชิงศาสนาและการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยจึงอยู่กับมวลชนฝ่ายค้าน ขณะที่กองทัพและมวลชนต้านมอร์ซีไม่มีธงศาสนาให้ชู ถ้าจะมีให้ชูได้ก็แต่ธงเสรีนิยมในฐานะที่มอร์ซีปกครองแบบประชาธิปไตยอำนาจนิยม/ประชาธิปไตยไม่เสรีกดขี่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของศาสนิกต่างศาสนา (ชาวคริสต์นิกายคอพติค) แรงงาน และคนชั้นกลาง รวมทั้งริบรวบอำนาจจากชนชั้นนำกลุ่มอื่น เช่น ศาล, ทหาร เท่านั้น
 
ฐานมวลชนใหญ่โตเข้มแข็งยืนนานมั่นคงมีศาสนาหลักรองรับแบบกลุ่มภราดรภาพมุสลิมนี้ ในกรณีไทย คุณทักษิณ ณ พรรคไทยรักไทยก็ไม่มี ฐานมวลชนเสื้อแดงเพิ่งมาสร้างขึ้่นไม่กี่ปีหลังโดยส่วนใหญ๋เกิดหลังรัฐประหารด้วยซ้ำ ระดับความใหญ่โตเข้มแข็งมั่นคงยืนนานชอบธรรมจึงต่างจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิมมาก
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๓) ในทางกลับกัน กองทัพอียิปต์ก็มีบางอย่างที่กองทัพไทยไม่มี คือฐานทุนฐานธุรกิจแบบอภิสิทธิ์หยั่งลึกใหญ่โตนานปีของกองทัพเอง สามารถระดมเงินทุนจากกระเป๋ากองทัพเองมาจ้างม็อบอันธพาลไล่ตีหัวฝ่ายค้านได้ง่ายมาก
 
และเช่นกัน คุณทักษิณกับเครือข่ายก็มีบางอย่างที่กลุ่มภราดรภาพมุสลิมไม่มีมากเท่า คือเงินทุนฐานธุรกิจใหญ่โต ที่ใช้มาจุนเจือสนับสนุนมวลชนเสื้อแดงของตนได้นานปีทั้งระหว่างเลือกตั้งและชุมนุมเคลื่อนไหวเช่นกัน
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๔) ในสภาพดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกองทัพกับกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในอียิปต์จึงน่าจะดุเดือดรุนแรงนองเลือดมาก เพราะไม่มีอุดมการณ์ความชอบธรรมใด ๆ ที่กองทัพจะสามารถใช้สะกดกล่อมฝ่ายค้านให้สงบยอมเลย มีแต่ความรุนแรง กระสุนปืน และม็อบชนม็อบเท่านั้น

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม