การประท้วงประกวดมิสเวิลด์อย่างดุเดือดของกลุ่มมุสลิมอินโดนีเซีย
ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู
ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
นั่นคือการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งที่ ๓ ที่กรุงจาการ์ตา มีหญิงมุสลิม ๒๐ คนจาก ๖ ประเทศ (อินโดนีเซีย, บังคลาเทศ, ไนจีเรีย, มาเลเซีย, บรูไน, อิหร่าน) เข้าแข่งขัน ผู้ประกวดทุกคนสวมชุดฮิญาบคลุมผมมิดชิดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า มีผลงานทางวิชาการ, กีฬาและวัฒนธรรมบางอย่าง ไม่มีการแสดงร้องรำทำเพลง หากแข่งกันท่องบทตอนต่าง ๆ จากพระคัมภีร์อัลกุรอ่านให้กรรมการตัดสินแทน และต้องเขียนเรียงความส่งประกอบการประกวดเรื่อง “ประสบการณ์ฮิญาบของฉัน” เป็นต้น
ภาพการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งที่ ๓ ปีนี้และผู้ชนะประกวด โอบาบียี ไอชาห์ อาจิโบลา สาวไนจีเรีย
เมื่อวันพุธที่ ๑๘ ก.ย. ศกนี้ ก็ประกาศผลการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งล่าสุด โดยผู้ชนะประกวดคือ โอบาบียี ไอชาห์ อาจิโบลา วัย ๒๑ ปีจากไนจีเรีย เธอได้รับเงินรางวัล ๒,๐๐๐ ดอลล่าร์สหรัฐฯและได้เดินทางไปกรุงเมกกะ ซาอุดีอาระเบียและอินเดีย ซึ่งที่นั่นเธอจะทำกิจกรรมช่วยสอนหนังสือเด็ก ๆ เธอกล่าวแสดงความเห็นเกี่ยวกับการประกวดว่า:
“เราแค่กำลังพยายามแสดงให้โลกเห็นว่าอิสลามนั้นงดงาม เรามีเสรีภาพและฮิญาบเป็นความภาคภูมิใจของเรา การประกวดมิสมุสลิมาห์ไม่เหมือนการประกวดมิสเวิลด์ที่ผู้หญิงเปิดเผยร่างกายของตัวเลย”
เอกา ชันตี ผู้ริเริ่มก่อตั้งการประกวดมิสมุสลิมาห์เมื่อ ๓ ปีก่อนชี้แจงว่าการประกวดนี้มุ่งส่งเสริมแนวคิดความงามที่สงบเสงี่ยมเรียบร้อยกว่า ถือเป็นการประท้วงอย่างสันติต่อการประกวดมิสเวิลด์แบบตะวันตก เดิมทีชันตีเป็นผู้อ่านข่าวทีวีอินโดนีเซียที่ประสบความสำเร็จ แต่เธอต้องออกจากงานเพราะตัดสินใจสวมฮิญาบเป็นประจำและไม่ยอมปลดฮิญาบออกเวลาอ่านข่าวออกทีวี
เดิมทีอินโดนีเซียนับถือศาสนาอิสลามแบบเดินสายกลางไม่เคร่งจัด แต่มาระยะหลังนี้เริ่มมีการออกกฎหมายต่าง ๆ ที่เรียกร้องให้ผู้หญิงมุสลิมอินโดนีเซียสวมฮิญาบมากขึ้นเรื่อย ๆ
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law)
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย!
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง