อย่างหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นบ่อยและทั้งรำคาญทั้งอนาถใจคือท่าทีประเภท.....
"เห็นไหม ไอ้หน้าโง่เอ๊ย กูด่ามึงแล้ว แต่มึงไม่ฟัง เสือกอยากไปคบพวกทักษิณ-เสื้อแดง-เพื่อไทย โดนเขาหลอกแล้วเป็นไง เพิ่งรู้ตัว ฯลฯลฯ"
คืองี้นะครับท่านผู้โคตรฉลาดทั้งหลาย ผมจะบอกอะไรให้ท่านใช้สติปัญญาอันยิ่งใหญ่มหากาฬมเหาฬารของท่านได้เข้าใจหน่อย
๑) คนจำนวนมากที่เข้าร่วมการต่อสู้ทางการเมืองนั้นต่างมีจุดมุ่งหมายเฉพาะของตัวเอง และเลือกร่วมฝ่าย เข้าข้าง หรือทำแนวร่วมกันตามประเด็น ตามสถานการณ์ เมื่อไหร่สถานการณ์เปลี่ยน ก็แยกฝ่าย เปลี่ยนข้าง ต่อสู้กัน
เหมาเจ๋อตงชนะหน้าโง่เจียงไคเช็ค จนเจียงต้องอพยพหนีจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปอยู่เกาะไต้หวัน ก็เพราะฉลาดในการเลือกร่วม/แยกแบบนี้ จึงจับมือกับเจียงต้านญี่ปุ่นผู้รุกราน พอเสร็จศึกก็แยกข้าง เจรจาไป รบกับเจียงไปต่อ จนชนะ ได้ครองแผ่นดินจีน
๒) ผมไม่ขอพูดแทนคนอื่นทุกคน แต่หลายคนที่ผมเห็นและรู้จัก (โดยที่ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับพวกเขา) ไม่ได้มีมายาคติอะไรกับพลังการเมืองฝ่ายทักษิณ-เพื่อไทยเลยตั้งแต่ต้น เข้าใจธาตุแท้ ขอบเขต การร่วมทางที่เป็นไปได้ของพวกเขาดี เรื่องวิจารณ์ต่อสู้กับพวกเขานั้น ทำมานานก่อนจะเกิดพธม. ก่อนสนธิจะหันมาผูกผ้าพันคอสีฟ้าและใส่เสื้อสีเหลือง และก่อนพวกคุณตื่นตัวทางการเมืองหันมาใส่เสื้อเหลือง/หน้ากากขาวตามสนธิกันอีกนะครับ
๓) การเมืองคือการหาพวกให้มากที่สุดเพื่อต่อรองต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามสถานการณ์ ในทุก ๆ สถานการณ์ต้องทำงานแนวร่วมให้ดี หาพวกให้มากที่สุดเพื่อเป้าหมายเฉพาะหน้าที่จำกัดขอบเขตและจังหวะเวลา แต่ในทุก ๆ จังหวะสถานาการณ์และแนวร่วมที่เปลี่ยนไป ต้องไม่พลาดสายตาจากเป้าหมายยุทธศาสตร์ระยะยาวและกำลังพื้นฐานที่ต้องปลูกสร้างเพื่อเดินไปให้ถึงในขั้นสุดท้าย ต่างกับการทหารที่อาจอาศัยคนน้อยก็ชนะได้ และต่างจากศีลธรรมที่ยึดหลักความถูกต้องเป็นที่ตั้ง ไม่ต้องการพวก
คน "ฉลาด" ที่ออกมาก่นด่าเหยียดหยามดูหมิ่นคนอื่นอย่างไม่รู้จักเงาหัวตัวเองนั้น ไ่ม่เข้าใจการเมืองพื้นฐาน ไม่เข้าใจการทำงานแนวร่วม มีแต่ด่าทอผลักไสคนที่สามัคคีได้ออกไป พวกเขาทำการเมืองเหมือนศาสนา/ศีลธรรม นั่งคัดแต่คนที่ตรัสรู้หรือบริสุทธิ์หรือบรรลุอรหัตถผลหรือ "ฉลาด" "เหมือนกู/พวกกู" เท่านั้น
ท่าทีแบบนี้ไม่ชนะหรอกครับ น่าสงสารจะตายชักว่าไปแล้ว เพราะศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดของพวกเขาคือตัวพวกเขาเอง (แต่พวกเขายังไม่รู้ด้วยซ้ำไป ปลาบปลื้มอยู่นั่นแหละว่ากู "ฉลาด", อ้วก)
เอ้า เชิญแสดงความ "ฉลาด" กันต่อไป.....
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย”
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง