Skip to main content
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob Syndrome
Overpoliticization --> Political Fanaticism & 
Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
ลักษณะเด่น ๒ ประการของการเคลื่อนไหวการเมืองมวลชนฝ่ายต่าง ๆ หลายปีที่ผ่านมาคือ
 
๑) มีการปลุกระดมจิตสำนึกทางการเมืองอย่างล้นเหลือต่อเนื่องเกินขนาด overpoliticization ผ่านเวทีชุมนุม สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สิ่งพิมพ์ และโซเชียลมีเดีย จนมวลชนมีแนวโน้มสุดโต่งทางการเมืองเป็นประจำ (สุดโต่งหรือ political fanaticism = ยึดเป้าหมายเดียว ละเลยเป้าหมายอื่นหมด, และเพื่อบรรลุเป้าหมายหนึ่งเดียวโดด ๆ นั้น ไม่เลือกวิธีการที่ใช้ จะผิดกฎหมาย นอกรัฐธรรมนูญ รุนแรงอย่างไรก็ได้ เช่น เพื่อต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น ทำรัฐประหารโค่นมันเลย, เพื่อความสงบ ฆ่าหมู่คนกลางถนนก็ได้)
 
๒) การตื่นตัวทางการเมืองเร่งรัดเฉียบพลันไม่ได้สัดส่วนกับประสบการณ์ทางการเมืองของมวลชนจำนวนมากที่เดิมทีไม่สนใจการเมืองมาก่อน ทำให้ง่ายที่จะสู้เร็วสู้แรงสู้แหลก หวังเห็นผล INSTANT เฉียบพลัน ขาดความอดทนที่จะต่อสู้อย่างยืดเยื้อ ค่อย ๆ ชิงใจด้วยการเมืองวัฒนธรรมและการต่อสู้ทางความคิดเหตุผลข้อเท็จจริง ค่อนข้างเร่าร้อนห้านาที เหมือนประกายไฟไหม้ลามทุ่ง จึงตั้งความหวังไว้สูงเกินจริงและฝากความหวังไว้กับผู้นำในลักษณะปาฏิหาริย์ (ช่วยนำให้เราชนะทีเถอะ ม้วนเดียวจบ สงครามครั้งสุดท้าย ไม่รอแล้ว ฯลฯ)
 
ผมเกรงว่าเรากำลังเห็น replay ของกลุ่มอาการเหล่านี้อีกในปัจจุบัน

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล