- คำว่า Ochlocracy (Ochlocrat = นักกฎหมู่; Ochlocratic = แบบกฎหมู่) นี่เท่ห์ดีครับ แต่คำง่ายกว่าก็มีเช่น mob rule หรือ mobocracy แปลตรงตัวคือ “การปกครองโดยม็อบหรือมวลประชาชนทั่วไป”, “การกำราบเจ้าหน้าที่โดยชอบให้หงอกลัวหัวหด”
-Ochlocracy นับญาติกับรูปแบบการปกครองอื่นในความคิดการเมืองกรีกโบราณ กล่าวคือ: (ดูภาพตารางประกอบ)
คำอธิบายตาราง:
-ดี = การปกครองที่ยึดผลประโยชน์ของชุมชนโดยรวมเป็นที่ตั้ง
-เลว = การปกครองที่ยึดผลประโยชน์ของกลุ่มหรือบุคคลเป็นที่ตั้ง ทำให้ความยุติธรรมเสื่อมโทรมลง
-กฎหมู่ = ประชาธิปไตยที่เสื่อมทรามลงเพราะพฤติกรรมของนักกวนเมือง (demagogue), อำนาจจิตตารมณ์เหนือเหตุผล, ทรราชย์ของเสียงข้างมาก
-คณาธิปไตย = อภิชนาธิปไตยที่เสื่อมทรามลงเพราะคอร์รัปชั่น
-ทรราชย์ = ราชาธิปไตยที่เสื่อมทรามลงเพราะขาดราชธรรม
-เราอาจหยุดยั้งภัยคุกคามของกฎหมู่ต่อประชาธิปไตยได้โดยประกันว่าคนส่วนน้อยหรือปัจเจกบุคคลจะได้รับการคุ้มครองโดยหลักนิติธรรมจากพฤติกรรมกวนเมืองหรือความตื่นตระหนกทางศีลธรรมระยะสั้น แต่ก็ไม่แน่นัก เพราะกฎหมู่อาจชนะได้ถ้าหากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเอาใจออกห่างกฎหมายบ้านเมือง ไปฝักใฝ่นักกวนเมืองแทน
-กฎหมู่ต่างจากอารยะขัดขืนและสัตยาเคราะห์ตรงฝ่ายหลังยึดมั่นวิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช้กำลัง แต่กฎหมู่ไม่ยึดถือวิธีการดังกล่าว
-เจ้าหน้าที่ตำรวจนานาประเทศพยายามต่อสู้เอาชนะขบวนการกฎหมู่ด้วยการจำกัดวง/ขอบเขตขบวนการกฎหมู่ให้อยู่ในพื้นที่เฉพาะ เพื่อแยกขบวนการกฎหมู่ออกห่างจากเป้าหมายโจมตี, สาธารณชนส่วนใหญ่ทั่วไป, สื่อมวลชน ฯ จนตกไปอยู่ชายขอบ/ถูกมองข้ามละเลยไปได้ บ้างก็ใช้วิธีออกกฎบังคับให้ผู้จัดต้องขอใบอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ทางการก่อนจัดชุมนุมแสดงพลังหรือเดินขบวนในที่สาธารณะ, ในทางกลับกัน ขบวนการกฎหมู่ก็หาทางฝ่าด่านปิดล้อมทางการทั้งในแง่ข่าวสารและการเคลื่อนที่โดยอาศัยเครือข่ายไอทีสมัยใหม่และพาหนะคล่องตัว เช่น จักรยาน เป็นต้น
หมายเหตุข้อเขียนนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' เมื่อวันที่ 10 มี.ค.57
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด...
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล