Skip to main content

จริงทีเดียว ใกล้เทศกาลสงกรานต์ปีนี้ที่ทั้งศาลตุลาการ องค์กรอิสระและม็อบอนาธิปไตยรุมสาดสารพัดข้อหาใส่รัฐบาลยิ่งลักษณ์จนเลอะเทอะเปรอะเปื้อนมอมแมม ทำให้บรรยากาศการเมืองเป็นดังมติชนระบุว่า “๒ ด้านการเมือง ′สุเทพ′ ฮึกห้าว เหิมหาญ ′ยิ่งลักษณ์′ หดหู่”

แต่ผมคิดใคร่ครวญไตร่ตรองไปมาหลายตลบ กลับรู้สึกว่าในความฮึกห้าวเหิมหาญของพลังฝ่ายแอนตี้เลือกตั้ง ต่อต้านประชาธิปไตย มีความหดหู่ห่อเหี่ยวลึก ๆ อยู่

เป็นความหดหู่ห่อเหี่ยวที่แก้ผ้าล่อนจ้อน เทหมดหน้าตักแล้ว เอาเข้าจริง ๆ ไม่มีอนาคต ไม่รู้จะไปไหนข้างหน้านะครับ

ผมสังเกตว่ามี ๔ ลักษณะสำคัญของขบวนการแอนตี้เลือกตั้ง ต่อต้านประชาธิปไตย ที่สืบทอดต่อเนื่องจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย —> ผ่านองค์การพิทักษ์สยาม —> กปปส./ปชป.ในปัจจุบัน

 

๑) moral absolutism & monism

๒) political deglobalization

๓) แบ่งแยก monarchy ออกจาก democracy อย่างสุ่มเสี่ยงอันตราย

๔) บ่อนทำลายและทอนความชอบธรรมของสถาบันการเมือง

 

การทำอะไรทวนกระแสโลก แหกคอกแตกเหล่าแยกหมู่นอกพวกจากประชาคมนานาอารยประเทศ แบบไม่ยอมรับว่าคนเท่ากัน ขัดขวางการเลือกตั้ง เอาเผด็จการจากการแต่งตั้งมาแทนประชาธิปไตยนั้น เป็นภาระเหนื่อยหนัก ต้องอาศัยพลังยาม้าของศีลธรรมสัมบูรณ์แบบและ เชิงเดี่ยว (ห้ามท้าห้ามถาม กดทับผ่านข้ามบรรทัดฐานศีลธรรมกฎหมายอื่นใดทั้งหมด ว่าด้อยกว่า ไม่สำคัญเท่าเรื่องของเรา อีกทั้งปฏิเสธความหลากหลายพหุนิยมทางศีลธรรมทั้งนั้นทั้งสิ้น ไม่ยอมรับไม่ยอมเห็นว่าเป็นไปได้ที่ในโลกกว้างของเราคนดี/ความดีไม่ได้มีหนึ่งเดียวอันเป็นความรู้ที่มนุษยชาติเรียนมาตั้งแต่เริ่มยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่มาร์โคโปโลไปเยือนจีนแล้ว ฯลฯ) มาบำรุงเลี้ยงให้กล้าและมุทะลุทำไปโดยไม่ฟังเสียงใครและเสียงอื่นใดในใจตัวเอง

ส่วนที่สุ่มเสี่ยงอันตรายที่สุดของการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเสียงข้างมากจากการเลือกตั้ง คือมักอ้างอิงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาให้ความชอบธรรมกับปฏิบัติการล้มการเลือกตั้ง ต่อต้านประชาธิปไตย อันเป็นการทำลายฐานรากของระบอบการเมืองการปกครองไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ เป็นต้นมา นั่นคือ ประชาธิปไตยกับสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เคียงข้างควบคู่ไปด้วยกัน การแบ่งแยกสถาบันพระมหากษัตริย์ออกไปและนำมาตั้งประจัญเผชิญหน้ากับประชาธิปไตยเป็นอันตรายระยะสั้นต่อประชาธิปไตยและสุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงปลอดภัยของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระยะยาวที่สุด

ประเทศหนึ่งดำรงคงอยู่ได้โดยอาศัยสถาบันต่าง ๆ อันหลากหลายทำงานสอดบรรสานคล้องจองไปด้วยกัน ไม่สามารถจะอิงอาศัยเพียงสถาบันใดสถาบันเดียวท่ามกลางความเสื่อมทรุดถดถอยพังทลายของสถาบันอื่นทุก ๆ สถาบันได้ กล่าวเฉพาะในทางการเมือง ต้องอาศัยทั้งสถาบันประชาธิปไตย (รัฐสภา พรรคการเมือง การเลือกตั้ง ฯลฯ) และสถาบันนิติรัฐ (ศาลสถิตยุติธรรมอิสระ, รัฐธรรมนูญ, องค์กรอิสระตรวจสอบถ่วงดุลทั้งหลาย) ทำงานสอดคล้องรองรับไปด้วยกันอย่างเป็นที่ยอมรับจากผู้คนในสังคมการเมืองอย่างแทบจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ

ทว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและได้เกิดมานานเกือบทศวรรษคือมีการจงใจบ่อนทำลายสถาบันประชาธิปไตย (รัฐสภา, พรรคการเมือง, การเลือกตั้ง) ลงอย่างร้ายแรงถึงรากซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ว่ายุบ ยึด ล้มล้าง ยกเลิก/โมฆะ ในทางกลับกัน สถาบันนิติรัฐเท่าที่มีก็ทั้งถูกนำไปรับใช้การเมืองแบบเลือกข้างเลือกฝ่าย (politicized & partisan) จนกลายเป็นมีลักษณะสองมาตรฐาน ลำเอียง ไม่เที่ยงธรรม อาจเป็นที่ยินยอมพร้อมรับของฝ่ายหนึ่งมากขึ้นเป็นพิเศษ แต่กลับต้องสงสัย, สูญเสียเครดิต, ไม่ได้รับการยอมรับหรือกระทั่งถูกปฏิเสธจากฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายอื่น ๆ มากขึ้น สถาบันนิติรัฐทำงานราบรื่นได้เพราะทุกฝ่ายยอมรับความชอบธรรม เที่ยงธรรม ไม่เลือกข้าง ไม่เล่นการเมืองของมัน เมื่อสถาบันนิติรัฐสูญเสียคุณสมบัติดังกล่าวไป ไม่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ก็กลายเป็นง่อยเปลี้ยเสียขา ทุพพลภาพ พลอยทำงานไม่ได้และล้มเหลวไปกันด้วยกับรัฐที่ใช้การไม่ได้และรัฐล้มเหลวทั้งหมดนั่นเอง (dysfunctional/failed state)

พลังฮึกห้าวเหิมหาญของม็อบและขบวนการใดที่ก่อตัวขึ้นโดยกัดกร่อนบ่อนทำลายเหล่าสถาบันการเมืองของชาติให้เสื่อมทรุดถดถอยราบคาบลงไป ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่สร้างสรรค์อะไรขึ้นมา มีแต่พลังทำลาย ผลได้ของการเคลื่อนไหว ไม่ยั่งยืน เมื่อฝุ่นหายตลบแล้วก็จะพบว่ามีแต่ซากปรักหักพังแห่งสถาบันการเมืองของชาติทั้งชาติ โดยไม่ได้ดอกผลการต่อสู้อะไรจริงจังยั่งยืนขึ้นมาเลย

 

หมายเหตุ : บทความนี้ เกษียร  เตชะพีระ ได้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊กส่วนตัว 'Kasian Tejapira' วันที่ 3 เม.ย.57 เวลา 17.00 น.

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว...
เกษียร เตชะพีระ
แย้งคุณสมเกียรติ อ่อนวิมล: เส้นแบ่งพรรคการเมืองทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญคือเป็นพรรคมวลชน (mass party) หรือพรรคชนชั้นนำ (elite party) ไม่ใช่เกณฑ์หละหลวมว่าเป็นพรรคที่ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หรือไม่
เกษียร เตชะพีระ
รวม 15 เรื่องราวการเหยียดเชื้อชาติของคนต่างชาติในเยอรมนี
เกษียร เตชะพีระ
ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู  ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
เกษียร เตชะพีระ
โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
เกษียร เตชะพีระ
ทำความรู้จัก 'เทเรซ่า ฟอร์คาดส์' แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน  ปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ กับนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
"ในโลกซังกะบ๊วยแบบที่เราอยู่ปัจจุบัน มีการรณรงค์ที่สำคัญกว่าที่เราทำในเงื่อนไขสถานที่ที่เราอยู่เสมอ ประเด็นจึงไม่ใช่หยุดหรือสละการต่อสู้เฉพาะที่เพื่อเห็นแก่เรื่องสำคัญ/ใหญ่กว่า แต่คือฟังกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพกัน ขยายสร้างความเข้าใจเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ให้แก่กัน หาทางหนุนช่วยเชื่อมโยงกันบนฐานความเข้าใจจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่มีอยู่จริงของปัญหาซึ่งกันและกัน" 
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย และระหว่างพื้นที่สิทธิกับอำนาจบริหาร กับกรณี "อั้ม เนโกะ" กับ "4 ภาพ sex" ต้าน "บังคับแต่งชุด นศ.มธ."
เกษียร เตชะพีระ
สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
เกษียร เตชะพีระ
วิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับชาตินิยม ตั้งแต่ ขั้นการปฏิวัติชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๘, ขั้นการปรับตัวทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์เป็นอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและราชาชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐, ขั้นการปรับตัวทางวัฒนธรรมของสถาบันกษัตริย์เป็นแบบกระฎุมพีในคริสตศตวรรษที่ ๒๐ และขั้นสถาบันกษัตริย์ในยุควัฒนธรรมสื่อทีวีมหาชนปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
.. Honi Soit ลงพิมพ์ปกรูปอวัยวะเพศของหญิง ๑๘ คนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันมีความหลากหลายแตกต่างเป็นปกติธรรมดา ไม่ได้เป็นและไม่จำต้องเป็น "วงขา" อุดมคติอย่างในหนังโป๊เปลือยทั้งหลาย จึงเป็นย่างก้าวสำคัญในการเตะสกัดกระบวนการทำอวัยวะผู้หญิงให้เป็นสินค้าในตลาดทุนนิยม ก่อนมันจะรุกคืบหน้าจากวงแขนลงไปข้างล่าง..