Skip to main content

 

 

"การปฏิวัติ" ในมุมมองแมกซ์ เวเบอร์

แมกซ์ เวเบอร์ (ค.ศ.1864-1920) ปรมาจารย์วิชาสังคมศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้วิจารณ์และเสริมเติมทฤษฎีวัตถุนิยมทางเศรษฐกิจของมาร์กซ์ด้วยทฤษฎีวัตถุนิยมทางการเมืองและการทหารของเขาเอง ได้นิยามรัฐสมัยใหม่ไว้ในปาฐกถาเรื่อง "การเมืองในฐานะอาชีพ" ณ มหาวิทยาลัยมิวนิก เมื่อปี ค.ศ.1918 ซึ่งกลายมาเป็นคำนิยามมาตรฐานของ "รัฐ" ในวิชารัฐศาสตร์ปัจจุบันว่า : -

 

"อย่างไรก็ตามทุกวันนี้เราคงต้องกล่าวว่า รัฐคือประชาคมของมนุษย์ที่อ้างสิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพโดยชอบธรรมภายในอาณาเขตหนึ่งๆ (ได้สำเร็จ)" (From Max Weber : Essays in Sociology, 1946, p. 78)

 

มีเชื้อมูลสำคัญ 3 ประการอยู่ในคำนิยาม "รัฐ" ของเวเบอร์ข้างต้น :

1) สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง

2) โดยชอบธรรม

3) ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ

 

ดังนั้น หากนิยาม "การปฏิวัติ" ว่าหมายถึงการลุกขึ้นสู้ของคนกลุ่มหนึ่งเพื่อโค่นล้ม/ช่วงชิงอำนาจรัฐจากคนอีกกลุ่มหนึ่งแล้ว หนทางการปฏิวัติก็อาจเป็นไปได้ 3 ลักษณะ สอดรับกับเชื้อมูล 3 ประการข้างต้น ขึ้นอยู่กับว่าจะรวมศูนย์โจมตีลงไปที่ส่วนไหนขององค์ประกอบอำนาจรัฐ กล่าวคือ : -

1) ฝ่ายผู้ก่อการใช้ความรุนแรงสู้กับกลไกบังคับปราบปรามของรัฐเอาชนะมันด้วยการโค่นลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันได้สถาปนาความชอบธรรมใหม่ใดๆ ของฝ่ายตนขึ้นมาอย่างมั่นคง อย่างไรก็ตามหนทางนี้ใช้ได้ผลเมื่อคู่ต่อสู้เป็นรัฐที่อ่อนแอเท่านั้น

ตัวอย่างเช่นการปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ.1917 เป็นต้น 
ในกรณีไทย การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ของคณะราษฎรน่าจะจัดอยู่ในข่ายนี้ได้

 

2) ฝ่ายผู้ก่อการพังทลายการผูกขาดอำนาจของรัฐโดยทำลายความชอบธรรมในการปกครองของรัฐลงเสียจนกระทั่งรัฐไม่สามารถใช้กำลังบังคับมาปราบปรามขบวนการต่อต้านรัฐได้

 

ตัวอย่างเช่นการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน ค.ศ.1978-79 ซึ่งไม่มีการสู้รบขนานใหญ่ กองทัพอยู่ในภาวะอัมพาต ขณะพระเจ้าชาห์และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จลี้ภัยออกนอกประเทศและระบอบราชาธิปไตยสิ้นสุดลง

ในกรณีไทย นึกหากรณีที่สอดรับตัวแบบนี้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ไม่ออก จะมากจะน้อยมักมีเชื้อมูลที่รัฐใช้กำลังรุนแรงปราบปรามฝ่ายผู้ก่อการมาผสมด้วยเสมอ

 

ทว่าหากลดเงื่อนไขลงเป็นว่ามีการทำลายความชอบธรรมของรัฐลงเป็นด้านหลักจนกระทั่งรัฐไม่สามารถใช้กำลังรุนแรงมาปราบปรามอย่างเต็มที่เต็มเหนี่ยวและฉะนั้นจึงถูกโค่นลงในที่สุดแล้ว ก็น่าขบคิดว่าพอจะนับการลุกขึ้นสู้เผด็จการทหารของนักศึกษาประชาชนเมื่อ 14 ตุลาฯ 2516 และการเคลื่อนไหวยึดทำเนียบรัฐบาล-ยึดสนามบินของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อโค่นรัฐบาลพรรคพลังประชาชนเมื่อปี พ.ศ.2541 ว่าเข้าข่ายนี้ได้หรือไม่?

 

3) ฝ่ายผู้ก่อการพังทลายการผูกขาดอำนาจของรัฐโดยตัดตอนอาณาเขตบางส่วนจากรัฐมาเป็น "เขตปลดปล่อย" ซึ่งกว้างใหญ่พอจะก่อตั้งอำนาจรัฐปฏิวัติขึ้นต่อต้านท้าทายรัฐเดิมได้ แล้วจึงค่อยๆ บั่นทอนบ่อนเบียนกำลังบังคับและความชอบธรรมของรัฐเดิมลงตามลำดับอย่างยืดเยื้อยาวนานจนประสบชัยชนะในที่สุด นี่เป็นแบบแผนการปฏิวัติทั่วไปของกองกำลังจรยุทธ์ทั้งหลาย

ตัวอย่างเช่นการปฏิวัติจีน ค.ศ.1928-49 รวมทั้งในยูโกสลาเวีย, คิวบา, นิการากัว ฯลฯ

ในกรณีไทย ความพยายามทำสงครามประชาชนที่ล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยระหว่าง พ.ศ.2508-2528 จัดอยู่ในข่ายนี้

 

ทว่าข้อคิดทางรัฐศาสตร์-สังคมศาสตร์เหล่านี้เป็นแค่เครื่องมือลองใช้ยึดกุมเข้าใจความจริง ไม่ใช่ตัวความจริงนั้นเอง กรณีความเป็นจริงมักจะสลับซับซ้อนยุ่งยากยุ่งเหยิงเลอะเทอะเละเทะ,ไม่เรียบๆ ร้อยๆ เข้ากรอบเข้าร่องเข้ารอยเข้าตามตรอกออกตามประตูดังแนวคิดทฤษฎีเป๊ะๆ เป็นธรรมดา

อาทิ กรณีการปฏิวัติเนปาล ค.ศ.1995-2006 นั้น พวกเหมาอิสต์เริ่มต้นเดินหนทางตัดตอนอาณาเขตของรัฐมาสร้างเขตปลดปล่อยขึ้นในชนบทป่าเขา (แบบที่ 3), แต่กลับลงเอยด้วยการปรับเปลี่ยนหนทางไปเข้าร่วมกับพันธมิตรพรรคฝ่ายค้านพามวลชนเดินขบวนประท้วงกลางเมืองทำลายความชอบธรรมของระบอบราชาธิปไตยเดิมลงจนกองทัพเนปาลสูญเสียขวัญกำลังใจและถอดใจในที่สุด (แบบที่ 2)

จึงควรใช้เครื่องมือการคิดเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

 

 

หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกใน มติชนออนไลน์ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 (เผยแพร่ต่อใน Kasian Tejapira)

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม