Skip to main content

อ่านรายละเอียดที่ Voice TV

ผมเห็นใจทั้งนักศึกษาและอาจารย์สองฝ่ายนะครับ และคิดว่าแก่นเรื่องนี้ไม่ใช่การสะกดผิดของนักศึกษา (นั่นเป็นปัญหาแน่ แต่ไม่ใช่เรื่องหลักในประเด็นนี้) หรือการใช้น้ำเสียงตำหนิโทษอาจารย์ของนักศึกษา (ก็พอเข้าใจได้ และอีกนั่นแหละไม่ใช่เรื่องหลักในประเด็นนี้) แต่คือความล้มเหลวของระบบอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งระบบ
 
ผมพูดจากประสบการณ์สอนหนังสือที่ธรรมศาสตร์มาร่วมสามสิบปี แน่นอนว่าท่านอื่นอาจมีประสบการณ์และข้อสรุปต่างกันไป
 
ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ work เพราะทั้งสองฝ่ายไม่ได้เตรียมพร้อมหรือมีคุณสมบัติที่จะทำงานร่วมกัน
 
นักศึกษาไม่ได้ต้องการให้อาจารย์แนะนำอะไรมาก ถ้าเขาสงสัยอะไร เพื่อนนักศึกษาด้วยกันแนะนำได้ใกล้ชิดตรงความต้องการ/สงสัยกว่า และเจ้าหน้าที่ธุรการคณะก็แม่นยำกฎระเบียบกว่า
 
ฝ่ายอาจารย์ก็ไม่แม่นกฎระเบียบ พูดตรง ๆ คือก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเรื่องนี้ทำได้ไหม อนุญาตได้ไหม พอสงสัยก็ต้องยกหูโทรฯถามเจ้าหน้าที่ และ office hours มีอยู่ แต่นักศึกษาก็มักไม่มาตอนนั้น ข้างอาจารย์ก็นัดเจอยากเย็น ยิ่งอยู่กัน ๒ campuses แบบธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์/รังสิต ยิ่งแล้วใหญ่ นักศึกษาก็จะรู้สึกหาตัวอาจารย์ยาก เหมือนถูกตัดหางปล่อยวัดหรือปล่อยเกาะ การจะเจอต้องใช้วิธีซุ่มโจมตี ดักพบที่ห้องสอนประจำก่อน/หลังเลิกชั้น หรือที่ห้องพักอาจารย์ระหว่างทานเที่ยง เป็นต้น
 
ในที่สุดความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษาก็เป็นแบบแผนพิธีกรรมล้วน ๆ mere formalities ไม่มีเนื้อหาการแนะนำอะไรจริงจังลึกซึ้ง ต่างฝ่ายต่างเป็นคนแปลกหน้าต่อกันนั่นแหละ ที่ยังติดต่อกันอยู่ (ทั้งที่ไม่ได้อยากจะเจอกันเท่าไหร่ทั้งสองฝ่าย) ก็เพราะ "ลายเซ็น" ตัวเดียวที่กฎบีบคั้นบังคับคาไว้
 
หากเริ่มจากความเป็นจริง ก็คงต้องบอกว่า นักศึกษาเอาตัวรอดจากปัญหาการเรียนและกฎระเบียบยุ่งยากวุ่นวายมาได้ เพราะ ๑) เพื่อน/รุ่นพี่/รุ่นน้องนักศึกษาด้วยกันแนะนำ ๒) เจ้าหน้าที่ธุรการให้ข้อมูลคำปรึกษาเรื่องกฎระเบียบว่าอะไรทำได้ทำไม่ได้ หรือมีทางทำอย่างไร และ ๓) อาจารย์บางท่านที่อาจเพราะรับผิดชอบบริหารงานปริญญาตรีหรือเพราะมีมุทิตาจิตของความเป็นครูสูงได้กรุณาเสียสละผลัดเวรกันมาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาที่หน้ามืดจนแต้ม ตามหาล่าลายเซ็นไม่ได้แล้ว เป็นต้น ๔) ขณะที่อาจารย์แต่ละท่านรู้จักมักคุ้นและให้คำแนะนำปรึกษาจริง ๆ กับนักศึกษาที่เรียนวิชาของตัวต่อเนื่องกันสองสามตัวจนพอคุ้นเคยและกลายเป็นลักษณะครูกับคณะลูกศิษย์เป็นกลุ่มก้อนที่ติดต่อใกล้ชิดมักคุ้นกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลให้คำปรึกษาแนะนำกันอย่างได้ผลทั้งการเรียน การแก้ไขปัญหาจุกจิก การใช้ชีวิต อนาคตการงาน ฯลฯ
 
ผมคิดว่าอย่าไปฝันเพ้ออุดมคติกับระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเลยครับ เลิกเสียเหอะ มันไม่ทำงาน ใช้การไม่ได้แล้ว แต่สร้างระบบใหม่ขึ้นมาที่อิงความเป็นจริง ๔ ข้อนี้ที่มันทำงานได้ ให้คำปรึกษา แนะนำช่วยเหลือนักศึกษา และมีลายเซ็นให้พวกเขาได้อย่างทันเวลาเป็นระบบ
 
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกใน 'Kasian Tejapira' 8 ธ.ค. 2557

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม