Skip to main content

พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย

ในไม่กี่ปีหลังนี้เศรษฐกิจพม่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างสำคัญหลายประการ รัฐบาลลดการกำกับควบคุมเศรษฐกิจลง มีการจัดวางระบบธนาคารใหม่และออกนโยบายที่ดินใหม่ ยิ่งกว่านั้นยังปล่อยค่าเงินจ๊าดลอยตัวให้เป็นไปตามตลาด (๒๕ - ๓๐ จ๊าด/บาท) แทนที่จะถูกกำหนดโดยรัฐบาลดังก่อน มาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติราว ๙ พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯเข้าสู่พม่านับแต่ปีค.ศ. ๒๐๑๑ เป็นต้นมา

นักเศรษฐศาสตร์ ฌอง เธอร์แนล Sean Turnell แห่งมหาวิทยาลัย Macquarie ออสเตรเลีย กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นานาเหล่านี้ช่วยปรับปรุงเศรษฐกิจพม่าให้ทำหน้าที่ดำเนินงานของมันได้ดีขึ้น แต่มันส่งผลน้อยมากในการเปลี่ยนอิทธิพลของกองทัพเหนือเศรษฐกิจและการเมืองลง เขาตั้งข้อสังเกตว่า:

“การเคลื่อนตัวไปสู่รูปแบบรัฐบาลใหม่ในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ ยังไม่แน่ชัดเกี่ยวกับบทบาทของทหาร ทหารยังจะเล่นบทแกนกลางอยู่หรือไม่ จะยอมสละการควบคุมเศรษฐกิจบางอย่างไหม จะถอยหลังออกไปอย่างมีนัยสำคัญใด ๆ ที่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นหรือไม่ นั่นคือคำถามใหญ่จริง ๆ”

จนถึงปัจจุบัน ทหารยังคงคุมธุรกิจใหญ่ที่สุดในพม่า รวมทั้งอุตสาหกรรมทำกำไรส่วนใหญ่ไว้ เช่น การสำรวจแก๊สธรรมชาติและเหมืองอัญมณี ทหารพม่ามีอิทธิพลทางเศรษฐกิจพอ ๆ กับอำนาจทางการเมือง ที่นั่ง ๒๕% ในรัฐสภาถูกกันเอาไว้ให้เป็นโควต้าที่แต่งตั้งโดยทหาร ทำให้กองทัพมีอำนาจวีโต้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้โดยสิ้นเชิง ส่งผลให้กองทัพมีความพร้อมรับผิดน้อยเมื่อกองทหารพม่าถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิพลเมือง

เมื่อเดือน พ.ย. ศกก่อน คลีนิคสิทธิมนุษยชนแห่งสำนักกฎหมาย มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับพม่า http://hrp.law.harvard.edu/wp-content/uploads/2014/11/2014.11.05-IHRC-Legal-Memorandum.pdf ที่กล่าวหาว่านายทหาร ๔ คนก่ออาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในปี ค.ศ. ๒๐๐๕ - ๒๐๐๖ ๑ ใน ๔ นายทหารได้แก่พลโทโคโค่ รมว.มหาดไทยพม่าคนปัจจุบัน Matthew Brewer ซึ่งเป็นนักวิจัยเรื่องความยุติธรรมระดับโลกของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประจำเมืองย่างกุ้ง กล่าวว่า ทั้งที่มีหลักฐานเพียงพอจะสั่งจับกุมตัวนายทหารทั้ง ๔ ทว่าไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาใด ๆ เลย จนกว่านายทหารระดับสูงสุดจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนในระบบกระบวนการยุติธรรมที่ควบคุมโดยพลเรือน ทหารก็ยังคงจะกระทำการใด ๆ โดยไม่กลัวถูกลงโทษอยู่ต่อไป เขาชี้ว่า:

“ทหารปักหลักยืนกรานว่าพวกเขาไม่ยอมที่จะเอาเรื่องเอาราวกับพฤติกรรมของตน รวมทั้งข่มขู่ผู้คนที่พยายามจะเอาเรื่องเอาราวดังกล่าวด้วย เราคิดว่าบรรดานักปฏิรูปในรัฐบาลและนักการเมืองฝ่ายค้านที่อยากจะจัดการปัญหานี้ไม่ได้ยืนหยัดเข้มแข็งพอที่จะเอาเรื่องกับปัญหาสิทธิมนุษยชนและพฤติกรรมของทหาร เราคิดด้วยว่าทหารกำลังเลื่อนชั้นให้บรรดาผู้ละเมิดสิทธิได้ไต่ลำดับการบังคับบัญชาสูงขึ้นไปสู่ตำแหน่งชั้นเอกของกองทัพ”

ฝ่ายค้านพม่าชนะเลือกตั้งได้ที่นั่งในรัฐสภาแต่ไม่สามารถยุติอิทธิพลของทหารได้ บรรดานักวิจารณ์ต้องการให้อองซานซูจีผู้นำฝ่ายค้านหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นสาธารณะ กดดันให้มีความพร้อมรับผิด แต่เธอก็ไม่ได้ทำ บ้างเห็นว่าอองซานซูจีหลีกเลี่ยงที่จะพิพาทกับทหารเพื่อช่วยให้ตัวเองมีโอกาสได้เป็นผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีมากขึ้น

ส่วนบรรดานายพลพม่าทั้งหลายก็ปกป้องแก้ต่างให้แก่อิทธิพลในประเทศของตน อ้างว่ายังมีกบฎชนชาติต่าง ๆ อยู่ในบางพื้นที่ของประเทศ พม่าใช้จ่ายงบประมาณไปในด้านการทหารถึง ๒๓.๒% ของทั้งหมด คิดเป็นอัตราส่วนสูงสุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ทหารกล่าวว่างบฯเหล่านี้ส่วนหนึ่งถูกใช้ไปสู้รบกับกลุ่มต่าง ๆ ที่ปฏิเสธรัฐบาล แต่นักสังเกตการณ์ภายนอกกล่าวว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจของทหารพม่านั่นแหละเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของกบฎที่เกิดขึ้น Matthew Brewer แห่งมหาวิทยลัยฮาร์วาร์ดระบุว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของทหารในพื้นที่ขัดแย้งมีส่วนก่อให้เกิดปัญหา และทำให้กระบวนการสันติภาพยืดเยื้อออกไป อีกทั้งบั่นทอนความไว้วางใจที่ฝ่ายต่าง ๆ มีต่อรัฐบาลและทหารพม่า เดือนพ.ย.ศกก่อน ทหารพม่าได้เปิดฉากระดมยิงใส่สนามฝึกกำลังพลของชนชาติส่วนน้อยในพม่า ทำให้พลรบของชนชาติส่วนน้อยตายไป ๒๗ คน การโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการเจรจาสันติภาพสิ้นสุดลงเพียงหนึ่งวัน รัฐบาลประธานาธิบดีเต็งเส่งอยากให้มีการหยุดยิงทั่วประเทศก่อนจะจัดเลือกตั้ง

หากจะลดอิทธิพลของทหารในรัฐบาลลงก็จำต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทว่าเดือนพ.ย.นี้เอง ตัวแทนของทหารได้แสดงท่าทีชัดแจ้งว่าพวกเขาไม่ยินยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนที่จะจัดเลือกตั้งขึ้น

 

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' 5 ม.ค.2558

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม