Skip to main content

 

๑) การดิสเครดิต (ชกเด็กใต้เข็มขัด ท่ามวยถนัดของผู้ใหญ่ไทยกระมัง?) ทางการเมืองทำนองนี้หากเกิดขึ้นในสังคมอื่น (ในทำนองว่า...คนที่เรียกร้องสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย คัดค้านการรัฐประหาร ชี้ว่ารัฐบาลเผด็จการไม่ชอบธรรมพวกนี้ มันเรียนไม่เก่ง ได้เกรด D หรือ F ฯลฯ) ก็ย่อมถูกปัดทิ้งไปฟังไม่ขึ้นเลย เพราะมันไม่เกี่ยว

เขาจะเรียนเก่งหรือไม่ ข้อเรียกร้องของเขาก็ยังเป็นไปตามหลักเสรีประชาธิปไตยอยู่ดี

ทำนองเดียวกับการปลาบปลื้มว่าผู้เรียกร้องให้ฉีกรัฐธรรมนูญ โค่นระบอบประชาธิปไตย สนับสนุนเผด็จการ บลา ๆ ๆ เนี่ย เรียนเก่งมาก ได้ A ด้วย ฯลฯ ก็ไม่เกี่ยวเช่นกัน

เพราะจะเรียนเก่งแค่ไหน ท่าทีการเมืองของเขาก็ยังรับใช้เผด็จการอยู่ดี

แต่เผอิญสังคมคนชั้นกลางไทยมีจริตค่านิยมนับถือเกรดและปริญญามหาวิทยาลัยอยู่ (กรณีขัดแย้งระหว่างธนาคารแห่งหนึ่งกับมหาวิทยาลัยราชภัฎทั้งหลายเป็นตัวอย่างล่าสุด) การหยิบเรื่องนี้มาดิสเครดิตนักศึกษาผู้เห็นต่างทางการเมืองจึงเกิดขึ้นได้

 

๒) แต่ถ้าจะพูดเรื่องนี้ ก็ไม่ควรลืมว่า Steve Jobs ผู้ก่อตั้งและพัฒนาบริษัท Apple ก็เรียนไม่จบปริญญาตรี

ในเมืองไทย คอลัมนิสต์และนักวิจารณ์การเมือง-กฎหมายมือชั้นครูอย่าง "ใบตองแห้ง" ก็ไม่จบปริญญาตรีเช่นกัน

ฝีไม้ลายมือและความสำเร็จของเขาเหล่านี้ พวกดอกเตอร์ปริญญาเอกอย่างผมได้อายเป็นแถว ๆ

 

๓) สำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา

สมัยผมทำกิจกรรมนักศึกษาอยู่ธรรมศาสตร์ปี ๒๕๑๘ นั้น เกรดปีแรก ผมได้เฉลี่ย ๔ คือ A หมดทุกตัว เป็นที่ฮือฮาในหมู่คนทำกิจกรรมและได้รับแต่งตั้งให้เป็นติวเตอร์เพื่อน ๆ ที่ขาดเรียนทั้งหลาย

แต่ปี ๒๕๑๙ การเรียนผมก็ขาด ๆ หาย ๆ เพราะสถานการณ์การเมืองรุนแรงขึ้น ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์ฆ่าหมู่และรัฐประหาร ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เสียก่อน คงยากที่ผมจะรักษาเกรดเฉลี่ย ๔ ไว้ดังเดิมได้

หลังออกจากป่าสี่ปีกว่าให้หลัง ผมกลับมาคืนสภาพเรียนปริญญาตรีต่อ ไม่ได้ทำกิจกรรมนักศึกษาเข้มข้นดังก่อน เกรดก็ดีสม่ำเสมอ จบเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ๓.๘ และเมื่อไปเรียนปริญญาโท-เอกที่คอร์แนวนั้น เกรดวิชาต่าง ๆ ของผมไม่เคยต่ำกว่า A หรือ A- เลย

ประเด็นคือนักศึกษาที่ทำกิจกรรม เกรดแย่ลง ก็เป็นเรื่องธรรมดา หากเขาเรียนเต็มที่ เกรดก็กลับดีได้ เพราะมีประสบการณ์ความเข้าใจสังคมการเมืองจากการทำกิจกรรมช่วยเสริม

แล้วอยากให้พวกเขาเรียนรู้แต่ในตำราห้องเรียนห้องสมุด หรือได้ประสบสัมผัสประสานกับชีวิตจริงที่ลำบากยากแค้นของเพื่อนร่วมชาติข้างนอกเล่า?

 

๔) ในบรรดาผู้ที่เห็นว่าการศึกษาในมหาวิทยาลัยมีปัญหาข้อจำกัด แยกนักศึกษาจากความเป็นจริงของชาวบ้านในสังคม ก็คือหมอประเวศ วะสี ท่านจึงเสนอตลอดมาว่าให้ประสานการเรียนเข้ากับการวิจัยและทำกิจกรรมสัมผัสโลกเป็นจริง

ถ้าท่านนายพลว่างมาก ลองไปเถียงกับหมอประเวศดูก่อนก็ได้

 

หมายเหตุ : บทความดังกล่าวเผยแพร่ครั้งแรกที่เฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' เมื่อวันที่ 6 ก.ค.2558 สำหรับความเห็นของ ‘พล.ท.นันทเดช’ เผยแพร่ในเว็บไซต์ 'แนวหน้า' วันที่ 5 ก.ค.2558

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม