Skip to main content

1 

ลมฟ้าอากาศเริ่มเปลี่ยนแปรไปตามสภาพ ฝนตกเพิ่งหยุดได้ไม่นาน ลมหนาวเยือนมาพัดผ่านท้องทุ่งจนต้นข้าวโยกเอียง บ้างล้ม บางตั้งตระหง่าน ตอนเช้าๆ อากาศแถวบ้านผม, จังหวัดเชียงราย อำเภอพาน ตำบลแม่อ้อ บ้านแม่แก้วเหนือ อากาศเริ่มหนาวเย็นขึ้นทุกขณะ

ชีวิตของผมทุกวันนี้ไม่เหมือนห้าเดือนก่อนที่ผ่านมา เพราะต้องย้ายสำมะโนครัวจากเชียงใหม่ กลับมาอยู่บ้านที่เชียงราย ซึ่งตลอดระยะเวลาสี่ปีที่อยู่เชียงใหม่ ผมได้พบเจอเรื่องราวหลายเรื่อง ทั้งการงาน ความรัก ชีวิต ความสัมพันธ์ เพื่อน ฯลฯ ซึ่งค่อนข้างแตกต่างกับตอนที่อยู่บ้านที่เชียงรายอย่างมาก

สภาพอากาศ ความสงบ การดำเนินชีวิต สามอย่างเบื้องต้นคือความต่างที่ได้เห็นและสัมผัส เปรียบเทียบกับสองจังหวัดนี้ -ไม่มีเสียงเพลง แสงสี ยามค่ำคืน ที่เชียงราย หากมีเพียงท้องทุ่ง ลมเย็น กลิ่นรวงข้าว ดาวสีขาว พระจันทร์นวลเหลือง บางวันมีหิ่งห้อยตัวน้อยๆ บินมาเยี่ยมเยียน สลับกับเสียงของจิ้งหรีด เรไร ร้องไปมา

ชีวิตในเชียงใหม่ ไม่ได้ค่อยได้สัมผัส บรรยากาศแบบเชียงรายเท่าไหร่หรอกครับ วันหนึ่งๆ มีเพียงแต่ทำงาน หรือเที่ยวไปตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะผับ เธค - เรื่องยาวๆ ที่ชื่อ "บัวสีเทา" ก็เป็นผลอย่างหนึ่งที่ผมได้นำเรื่องจริง มาเขียนผสมกับงานแต่งอีกนิดน้อย เพื่อให้เรื่องราวเข้าถึงคนได้ง่ายอีกนิด เพราะหากจะเอาข้อมูลดิบๆ วิชาการมาให้ใครอ่าน คงจะยากต่อความเข้าใจสักนิด ซึ่งจริงๆ แล้ว บัวสีเทา เป็นเรื่องราวมาจากการศึกษาวิถีชีวิต องค์ความรู้ ของเพื่อนๆ ที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มที่คนเรียกว่า "แก๊ง" ซึ่งทาง วิทยาลัยการจัดการทางสังคมหรือ วจส. สนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงาน

อย่างที่บอกไว้ครับ ว่าเดิมทีก็ผมเพียงแค่จะทำงานแบบเก็บข้อมูลมาเขียนๆ แล้วก็จบ แต่พอทำไปทำมา ก็ได้เริ่มพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ พี่น้อง - การทำงานเลยกลายเป็นการใช้ชีวิตไปโดยปริยายและเป็นไปโดยผมไม่มีความสงสัยในความเปลี่ยนแปลงเลยแม้แต่น้อย

ที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาเขียนบัวสีเทานานหลายเดือน และผมเองก็ไม่เคยได้เขียนเรื่องราวอะไรยาวขนาดนี้ เรื่องนี้จึงถือเป็นเรื่องยาวเรื่องแรกที่ผมได้เขียน - เขียนมาจากความรู้สึกและเนื้อหาจากงานบางส่วนที่มี เลยออกมาเป็นอย่างที่หลายๆ คนได้อ่านกันมาอย่างยาวยืดนั้นแหล่ะครับ

อันที่จริงแล้วช่วงระหว่างที่ทยอยนำ "บัวสีเทา" ขึ้นประชาไทนั้น ได้มีหลายเรื่องเข้ามาในชีวิต เข้ามากระทบมากมาย ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กแก๊ง หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ของเยาวชนที่สังคมวิพากษ์ ทั้งเด็กที่แต่งตัวโป๊ เด็กที่ไม่ใส่กางเกงใน เรื่องถุงยางอนามัย เรื่องการศึกษา การเมือง ฯลฯ - หลายเรื่องผมพยายามคิดและวิเคราะห์ว่าจะแสดงความคิดเห็นออกมาอย่างไร แต่พอพื้นที่ "หนุ่มสาวสมัยนี้" แห่งนี้ ได้เป็นที่สถิตของบัวสีเทาเสียแล้ว จึงทำให้ผมไม่ได้เขียนเรื่องร้อนๆ ที่เป็นประเด็นทางสังคม

ทีนี้พอไม่ได้เขียนก็ทำให้ได้เรียนรู้ว่า บางครั้งเราไม่จำเป็นต้องตอบโต้ทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมก็ได้ บางเรื่องเป็นสิ่งที่เราได้เฝ้ามองปรากฏการณ์นั้นให้ผ่านไป ตามเงื่อนไขของเวลา เพราะมันก็เปลี่ยนไป เมื่อได้เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้ว เรื่องนั้นๆ ก็จบลง จางหายไป เป็นไปตามหลักอนิจจัง

หากเราดูให้ดีแล้ว การได้นิ่งไม่ตอบโต้ก็เหมือนเป็นการ "ฟังเสียงข้างใน" ของตัวเอง และก็ได้เห็นคนที่ต้องทุกข์กับปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งผมมองว่าคนที่ทุกข์ใจนั้น หาใช่เยาวชนหรือคนหนุ่มสาว หากแต่เป็น ผู้ใหญ่เสียมากกว่า ที่ออกมาเต้นผาง ออกมาวิพากษ์ วิจารณ์เด็กๆ ด้วยความคิดของผู้ใหญ่ บางครั้งเป็นคำเตือนที่มีความหมาย บางครั้งเป็นคำด่า สบถที่รุนแรง แต่ก็ถือเป็น "ความหวังดี" ของผู้ใหญ่ที่มีต่อวัยรุ่นและสังคม

แต่คิดดูให้ดีแล้วความหวังดีนั้น อาจกลายเป็นการทำลายคุณค่าในชีวิตของวัยรุ่นหลายคนเลยก็ได้

ผมไม่รู้ว่า พวกเรา, วัยรุ่นหลายคน จะอยู่กันอย่างไร ในสภาพที่สังคมและผู้ใหญ่ มองพวกเราด้วยสายตาและท่าทีหรือความไม่เข้าใจแบบนี้ และนั่นไม่แปลกหรอกครับที่คนรุ่นผมหลายคนจะมองผู้ใหญ่แบบตัดสิน แบบที่ไม่เข้าใจ เหมือนกัน เพราะต่างฝ่ายต่างต้องการพื้นที่ของตนเอง ทั้งผู้ใหญ่และวัยรุ่น

จึงไม่น่าแปลกเท่าใด ที่ผู้ใหญ่จะเป็นทุกข์มากกว่าวัยรุ่น ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงวัยรุ่นน่าจะเป็นทุกข์หรือมองเห็นทุกข์ได้มากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องเพราะ "ที่ปลดทุกข์" ของวัยรุ่นมีมากกว่าผู้ใหญ่ไงครับ ไม่ว่าจะเป็นผับ เธค อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ นิตยสารต่างๆ ล้วนกลายเป็นแหล่งสร้างสุข สร้างพื้นที่ทางสังคม พื้นที่ตัวตนของพวกเรามากกว่าสังคมจริงๆ แห่งนี้ ที่ผู้ใหญ่ปกครอง

สังคมที่วัยรุ่นออกแบบจึงเป็นสังคมที่ไม่เป็นทุกข์ มีแต่ความเข้าใจและยอมรับซึ่งกัน และข้อสังเกตของผมก็คือเป็น "สังคมสีเทา" ที่ไม่มีขาวดำ ไม่มีการตัดสิน ตีตรา คนอื่นด้วยมาตรฐานความดีงามตามบรรทัดฐานสังคมที่คนส่วนใหญ่มีและกำหนดกันขึ้นมา

สังคมของผู้ใหญ่ มีแต่ความทุกข์ มีขาว ดำ ไม่มีการให้โอกาส ไม่มีความสมานฉันท์ ไร้ซึ่งความเมตตา ต่อกัน เพราะผู้ใหญ่สมัยนี้ลืมรากเหง้าของตัวเอง ไม่เท่าทันสังคมโลกาภิวัตน์ และน่าสงสารยิ่งนักที่ต้องเผชิญกับความขัดแย้งของชนชั้นปกครอง จนซึมเข้ากับตัวเองทุกอนูความรู้สึก

ที่กล่าวมานี้เพราะผมสงสาร, ทั้งผู้ใหญ่และก็ตัวเองด้วย, ชีวิต คนเรายิ่งมีแต่ทุกข์ ทุกชั่วโมงยาม มีเรื่องราวมากมายให้ได้ค้นพบ มีหลายวิธีที่จะทำให้คนได้รับความสุขที่แท้จริง แต่คนกลับมองไม่เห็น หรือไม่ค่อยได้แสวงหาเท่าใดนัก

หรือนั้น อาจเป็นเพราะเราเกิดมาในสังคมขาว-ดำ เกิดมาในสังคมที่อ่อนแอ เยี่ยงสังคมแห่งนี้!?

อย่างไรก็ตาม, อีกเรื่องที่ผมพบกับตนเอง ในช่วงหลังๆ มานี้ คือผมไม่ค่อยอยากรับรู้เรื่องราวทางสังคมนี้เท่าไหร่เลย ผมเสมือนกลายเป็นคนเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ อันเนื่องเพราะสองข้างทางบ้านผมนั้นมีแต่ไร่กับนาจริงๆ ผมจึงพบว่าอันที่จริงแล้ว "สังคมขาวดำ" ที่เรารับรู้หรือรู้สึกอยู่นี้ มันไม่ได้มีอยู่จริงเลย เพราะเราเพียงแต่ "ถูกทำ" ให้เข้าใจว่า สังคมนี้เป็นแบบนี้อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งแท้แล้ว สังคมย่อยๆ อีกหลายแห่งมีความหลากหลายที่แตกต่างกัน และไม่ได้มีแค่ขาวกับดำ หรือสีเทาๆ เท่านั้น เพราะยังมีอีกหลายแบบ หลายแง่มุมให้สัมผัสและเรียนรู้

เพียงแต่ว่าเราไม่ได้เข้าถึงแบบอื่นๆ เท่านั้นเอง เพราะสังคมที่เราอยู่แห่งนี้ ไม่มีพื้นที่ให้ความแตกต่างอื่นๆ ได้มีพื้นที่ของตัวเองเลยแม้แต่นิด เมื่อเป็นเช่นนี้ก็คงไม่แปลกที่วัยรุ่นสีเทาๆ จะถูกมองไม่ดีจากคนในสังคมสีขาว-ดำ

เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว สิ่งที่น่าจะทำได้ ต่อเรื่องสังคมขาวดำ หรือเทา ก็คือ นั่งเงียบๆ ฟังเสียงข้างในของตัวเอง รู้จักตัวเองให้มากขึ้น และยอมรับกับสภาวะจิตใจของเราที่เกิดขึ้นในแต่ละชั่วขณะ หรืออาจหาที่เงียบๆ สงบๆ ลมเย็นๆ อากาศดีๆ นอนหลับให้เต็มอิ่มเพื่อไปสู่พื้นที่ดีๆ มีความสุขในความฝัน ก่อนที่จะตื่นขึ้นมาอีกครา เพื่อพบกับ "ความจริง" อันแสนจะปวดหัว.....

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
งานวิจัยมากมายทยอยออกมานำเสนอผ่านสื่อมวลชน ในช่วงก่อนวาเลนไทน์ ชนิดที่ว่า นอกจากจะเป็นช่วงเทศกาลวันแห่งความรักแล้ว ยังเป็นเทศกาลนำเสนอผลวิจัยวัยรุ่นอีกก็ว่าได้งานวิจัยที่ออกมาส่วนใหญ่แล้ว มีลักษณะ “ถ้ำมอง” และ นำเสนอด้าน “ลบ” ของวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว ทำนองว่า วัยรุ่นจะมีเพศสัมพันธ์กันมากที่สุดในวันดังกล่าว – ผมเองได้พยายามค้นหาดูว่ามีผลวิจัยหรืองานสำรวจอะไรบ้างที่ให้ข้อเสนอแนะทางออกในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องเพศของวัยรุ่นนอกจากผลการสำรวจของ เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย (Youth Net) ที่เสนอว่า วัยรุ่นกว่า 70% เห็นว่าควรมีวิชาเพศศึกษาในหลักสูตรของทุกโรงเรียน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
1นันกับฝน เรียนอยู่มหาวิทยาลัยอีกไม่กี่เดือนก็จะจบการศึกษาแล้ว เขาทั้งสองเป็นเด็กต่างอำเภอที่ได้ย้ายมาเรียนในตัวเมืองของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคเหนือทั้งสองคนพบกันครั้งแรกตอนเข้า ม.4 ตอนนั้นเป็นจุดตั้งตนให้เขาและเธอได้รู้จักและพัฒนาความสัมพันธ์เรื่อยมาจนเป็นแฟนกัน และจากนั้นนันกับฝนจึงตัดสินใจย้ายหอมาอยู่ด้วยกัน อาศัยห้องเดียวกัน ตอนเรียน ม.5 ตอนที่มีอะไรกันครั้งแรก นันใช้ถุงยางอนามัย เพียงเพราะยังไม่อยากรับผิดชอบผลกระทบที่จะตามมาจากการมีอะไรโดยไม่ได้ป้องกัน เขาไม่ได้ให้ฝนคุมกำเนิดด้วยการทานยาคุมกำเนิดเพราะกลัวผลข้างเคียง ที่จะเกิดขึ้น แต่เลือกใช้ถุงยางอนามัยทุกๆ ครั้ง พอเรียนจบ ม.6…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมเพิ่งกลับจากค่ายเยาวชนที่จังหวัดเชียงราย เป็นการจัดกิจกรรมเรื่องเพศ มีวัยรุ่นหลายคนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งโดยหลักแล้วก็เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องเพศ เพศภาวะ และเพศวิถี ซึ่งเน้นการพูดคุยจากมุมภายในของผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีน้องคนหนึ่งที่มาร่วมกิจกรรม บอกความรู้สึกกับผม “ผมดีใจมากครับ ที่ได้มาร่วมกิจกรรมนี้ อยากเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ แต่ไม่ค่อยมีโอกาสเลย ดีนะครับที่พวกพี่มาจัด” น้องอีกคนหนึ่งก็บอกอีกว่า ที่ชุมชนของตัวเองได้มีการจัดกิจกรรมโดยอบต. แต่กิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นการกีฬา กิจกรรมตามวันสำคัญ และเยาวชนในชุมชนก็เข้าร่วมฟังน้องทั้งสองคนพูดขึ้นมาผมก็คิดถึง ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมรู้จักกับคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์  ตอนอายุ 18 ปี สมัยที่ได้เริ่มวาระการเป็นกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข จากสายองค์กรเอกชนด้านเด็กและเยาวชน เมื่อหลายปีก่อน ตอนเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการในตอนแรกๆ ผมค่อนข้างจะเกร็งเพราะคณะกรรมการแต่ละท่านเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญต่อวงการสาธารณสุขและสังคมและอาวุโสห่างจากผมมากกว่า 20 ปี  ตอนนั้น คุณหมอสงวน ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในที่ประชุม และเมื่อประชุมเสร็จสิ้น ผมได้เข้าไปทักทายและแนะนำตัวเองกับท่าน ท่านมีความเป็นกันเองและให้เกียรติกับผมมากและได้บอกให้ผมสบายใจ มั่นใจและเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
กิตติพันธ์ กันจินะ
ลมหนาว ยังไม่จางหาย....วันเด็กแห่งชาติเพิ่งจัดเสร็จไปไม่กี่วัน จนถึงวันนี้ วันเด็ก เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ยังคงมีการจัดมาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี นับตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2499 ในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้มอบคติเตือนใจสำหรับเด็กๆ ปีละ 1 คำขวัญ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องจนถึงปัจจุบันวันเด็กที่ผ่านมา ผมได้ร่วมกิจกรรมที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง จ.เชียงราย ภายในงานจัดกิจกรรมในแนวว่า “ข้างหลังภาพ” ทำนองว่า ทำงาน ทำกิจกรรม กันมามากมาย ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ วันนี้น่าจะมาดูกันว่าได้ทำอะไรกันมาบ้าง ซึ่งเด็กๆ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กาลชีวิตของผมเดินทางผ่านมาแล้วอีกหนึ่งปี และคงจะเดินทางต่อไปตามเข็มนาฬิกา สายน้ำ สาดลม แสงแดด เช่นนี้อีกเรื่อยๆ ตราบที่ยังคงมีลมหายใจอยู่...เมื่อปีที่แล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้น อันเกี่ยวข้องกับเยาวชน คนหนุ่มสาวในประเทศนี้มีมากมายทั้งร้ายดี โดยส่วนตัวแล้ว เห็นความพยายามของผู้ใหญ่หลายภาคส่วนที่เข้ามาสนับสนุนการทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของเยาวชนอยู่มากมายหลายหลากโครงการพัฒนาเยาวชนจำนวนมาก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ล้วนมุ่งเน้นให้เยาวชนคนหนุ่มสาวเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่ได้รับรู้มาดังเช่น โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม ที่เครือข่ายเยาวชน 14 กลุ่ม…
กิตติพันธ์ กันจินะ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพิ่งจบลงเมื่อวานนี้ ตอนค่ำ ผลสรุปจากการกากบาทลงคะแนนให้กับคนที่รัก พรรคที่ชอบ ได้ผลออกมาอย่างไม่เป็นทางการ บางคนอาจถูกใจ บางคนอาจไม่ถูกใจหลังจากลงคะแนนเสียงเสร็จ ผมได้เดินทางไปยังเขตชายแดนอำเภอแม่สายกับพี่ๆ เจ้าหน้าที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง เพื่อจับจ่ายซื้อของและเดินเล่นไปมาตามประสาคนที่อยากพักผ่อนเที่ยวท่องให้คล่องใจเวลาในการเดินทางไป การเดินทางจับจ่ายซื้อของ และการเดินทางกลับ เริ่มจากตอนสาย จนถึงตอนหัวค่ำ ระหว่างที่อยู่เขตอำเภอแม่สาย ผมแยกตัวจากพี่ๆ เจ้าหน้าที่อีก 4 คน เดินเล่นเองคนเดียว เพียงเพื่อจะหาร้านกาแฟสดดีๆ ที่มีหนังสืออ่านและมีเพลงฟัง ผมเดินไปทั่ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาจนถึงวันนี้ผมยังไม่ได้พาตัวและตาของตนไปดูภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม" เลย แม้ว่าจะมีเพื่อนๆ หลายคนได้เชื้อเชิญแจ้งแถลงชวนให้ไปดูหลายเวลา หลายคราก็ตาม ผมก็ยังไม่ได้ไปดูเสียทีโดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้เป็นคนปฏิเสธโรงภาพยนตร์นะครับ เพราะภาพยนตร์แต่ละเรื่องที่จะทำให้ผมไปดูได้นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผมมีเพื่อนไปดูด้วย คือ ถ้าไปคนเดียวผมคงไม่ไปครับ เพราะไม่เคยดูหนังคนเดียว และยิ่งไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋ว ซื้ออะไรยังไงบ้าง เพราะปกติเวลาไปเพื่อนๆ จะเป็นคนซื้อตั๋วและขนมขบเคี้ยวเข้าไปให้สำหรับ "รักแห่งสยาม" ถือเป็นภาพยนตร์ที่มีผู้คนกล่าวถึงค่อนข้างมาก และกล่าวถึงในหลายแง่มุม เช่น…
กิตติพันธ์ กันจินะ
“อากาศหนาวๆ เย็นๆ อย่างนี้ หากได้หาใครสักคนมาอยู่ข้างกายก็คงจะดี” เพื่อนรุ่นพี่พูด บอกเสมือนจะสื่อให้ผมหาใครสักคนมาอยู่ข้างกาย เพื่อเป็นเพื่อนคุย แต่ผมคิดว่านัยยะของคำพูดนี้ น่าจะสะท้อนความคิดบางอย่าง ว่าการที่จะมีใครสักคนเข้ามาอยู่ใกล้ๆ เราในช่วงฤดูหนาวเช่นนี้ แน่นอนว่าจะช่วยทำให้เราอุ่นกายและอุ่นใจได้พร้อมๆ กันผมครุ่นคิดถึงคำพูดของเพื่อนรุ่นพี่ หลายวัน พลันกับได้ยินเรื่องราวเรื่องการคัดค้านมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือ ‘มอ’ นอกระบบ  ก็ทำให้นึกถึง ความรักนอกระบบ ไปด้วย ความรักนอกระบบ กับ ‘มอ’ นอกระบบ แม้จะไม่เหมือนกัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ความรักไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าวัย-อาชีพ-เพศ-ชนชั้น-เชื้อชาติใด ความรักย่อมมีอยู่ในทุกที่ ดั่งเช่นความรักของคนทำงานเรื่องเพศในการทำงานเรื่องเพศ หลายคนมองว่าอาจยากต่อการทำความเข้าใจกับคู่ของตัวเอง เมื่อเราเป็นผู้หญิงและคู่ของเราเป็นผู้ชาย แล้วให้เราเริ่มคุยเรื่องเพศก่อน ก็อาจถูก ‘คู่’ ที่คบหาตกใจ หรือมองเราในมุมที่ไม่ค่อยดีก็เป็นได้ แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ปัจจุบันผู้หญิงหลายคนเริ่มคุยเรื่องเพศของตนมากขึ้น และผู้ชายเองก็ไม่ได้มองผู้หญิงมุมลบๆ อย่างเดียว หากมองว่าเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ได้รับฟังเรื่องของคนที่ตัวเองคบอยู่ มีประสบการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากเรื่องของเธอ –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
เมื่อหลายวันก่อน ผมได้เข้าร่วมกิจกรรมเวที “เพศศึกษาเพื่อเยาวชน” ของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ องค์การแพธ ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และพันธมิตรอีกหลายองค์กร จัดงานระดับภาคตะวันตกและภาคตะวันออกขึ้น โดยการจัดครั้งนี้เป็นการครั้งแรกของภาคดังกล่าวภายในงานมีเยาวชนจากหลายโรงเรียนและหลายกลุ่มเข้าร่วม พร้อมๆ ทั้งผู้ใหญ่จากหน่วยงานภาคการศึกษาและหน่วยงานภาคประชาสังคม เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งธีมหลักๆ ของเวทีนี้คือ “ร่วมกันชี้โพรงให้กระรอกเข้าอย่างปลอดภัย” ทำไมต้องชี้โพรงให้กระรอก ในเมื่อกระรอกรู้ว่าโพรงนั้นต้องเข้ายังไง –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
รายงานข่าวเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า มียอดเด็กที่กำพร้าจากพ่อแม่ที่ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนหลายพันคน ซึ่งภาครัฐยังคงต้องหาแนวทางการดูแลเด็กที่เผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องการเข้าถึงการศึกษา และการดูแลคุ้มครองปกป้องสวัสดิภาพของเด็ก ทว่าอย่างไรเสีย  แม้ว่าเรื่องราวความรุนแรงในเหตุการณ์ดังกล่าว จะยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เสมอทั้งหน้าจอโทรทัศน์หรือหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ แล้ว ยังมีเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ระหว่างคนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ที่ได้ลงไปปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในพื้นที่เกิดเหตุ ตามบทบาทหน้าที่ต่างๆ อาทิ หมอ ทหาร ครู…