Skip to main content

ตอนแรกตั้งใจจะตั้งชื่อบทความว่า “กวีพันธมิตร ฯ” แต่เห็นชื่อที่โดนใจวัยรุ่นกว่าในเวบบอร์ด “ฟ้าเดียวกัน” ว่า “กวีเกรียน” โดยคุณ Homo erectus (ซึ่งเคยเข้ามาวิพากษ์เชิงด่าผมอยู่เป็นประจำจนเลิกไปเอง) จึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเพื่อให้เข้ากับสมัยนิยม


กวีเกรียน” ในความหมายของผมคือกวีที่ล้าหลัง คิดอ่านไร้เดียงสาเหมือนเด็กที่อ่อนต่อโลก วิเคราะห์สังคมไม่ออกเพราะไม่มีหลักคิดที่มั่นคง อ่านการเมืองไม่เป็นเพราะมัวแต่คิดว่านักการเมืองชั่วร้ายเลวทรามในขณะที่ประชาชนและข้าราชการ และพวกอภิสิทธิชนนั้นมีคุณธรรม จริยธรรม หรืออย่างน้อยก็มีมากกว่านักการเมือง


ขอบอกว่าความเชื่อและความเข้าใจข้างต้นเป็นสิ่งที่ผิดอย่างร้ายแรง เพราะที่จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นพวกผู้ลากมากดีหรือกรรมกรแบกหาม ก็ไม่มีใครดีหรือเลวมากกว่านักการเมือง ทุกคนในฐานะที่เป็นคนต่างเลวหรือดีเหมือนกันหมด ส่วนผมชัดเจนในความเห็นของผมมานานแล้วว่า “ทุกคนเลวเหมือนกันทั้งนั้น”


กวีเกรียน” ไร้จุดยืนและหลักการ ชอบเต้นเร่า ๆ ไปตามกระแสข่าว ขาดทัศนะวิพากษ์แบบถึงรากถึงโคนจึงไม่สามารถผลักตรรกะออกไปจนสุด ทำให้มีเพดานทางการวิเคราะห์ที่แคบตื้น ไม่อาจวิพากษ์ได้อย่างเฉียบขาดแหลมคม ไม่มีความคงเส้นคงวาในการใช้เหตุผลหรือ “ใช้เหตุผลแบบเลือกปฏิบัติ”


ยกตัวอย่าง เช่น กลุ่ม “พันธมิตร ฯ” สามารถปั้นน้ำเป็นตัวด่ารัฐบาลในกรณีของคุณจักรภพ เพ็ญแขหรือในกรณีของคุณนพดล ปัทมะได้ แต่รัฐบาลปั้นน้ำเป็นตัวด่ากลุ่ม “พันธมิตร ฯ” หรือแม้แต่นำเสนอข้อเท็จจริงออกไป กลับเป็นสิ่งที่ไม่มีชอบธรรม ต้องมีการตรวจสอบ ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระค่อย ๆ ยักยอกเงินมาสร้างบ้านราคา 50 ล้านบาทเป็นสิ่งไม่น่าเกลียด แต่ถ้านักการเมืองทำบ้าง ชาว “กวีเกรียน” จะรับไม่ได้


ทั้งหมดทั้งปวงที่กล่าวมาส่งผลให้ “กวีเกรียน” มองเห็นการกระทำและความคิดเห็นของกลุ่ม “พันธมิตร ฯ” เป็นอะไรที่ถูกต้องเหมาะสม พอถึงเวลาเลือกข้างจึงเลือกที่จะเข้าข้าง “พันธมิตร ฯ” โดยไม่ต้องรู้สึกละอาย


กวีเกรียน” ไม่เฉลียวใจเลยว่ากลุ่ม “พันธมิตร ฯ” นั่นแหละคือปัญหา คืออาการของโรคต่อต้านประชาธิปไตยที่มีอำนาจตุลาการ และทหาร เป็นฐานสนับสนุน “กวีเกรียน” มีจิตสำนึกผิดพลาดที่ไม่ตระหนักว่าสองสถาบันที่ว่านี้แหละคืออุปสรรคต่อพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย


การที่กวีเกรียนเลือกข้าง “พันธมิตร ฯ” ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะว่ารสนิยมทางการเมืองนั้นของใครก็ของมัน ไม่ว่ากัน บางคนสมาทานระบอบอมาตยาธิปไตยเพราะเชื่อว่าผู้ดีย่อมดีกว่าไพร่ บางคนสมาทานระบอบพ่อปกครองลูกเพราะเห็นว่าเป็นอะไรที่อบอุ่นใกล้ชิด บางคนพอใจกับระบอบอุปถัมภ์เพราะไม่เน้นเรื่องคุณธรรมความสามารถ ฯลฯ


แต่ประเด็นก็คือ “กวีเกรียน” และ “พันธมิตร ฯ” อ้างถึงประชาชนและประชาธิปไตยไม่ขาดปาก ทั้งที่เนื้อหาและประเด็นการเคลื่อนไหวนั้นกลับตรงกันข้าม!


บรรดารายชื่อกวีที่ขึ้นเวทีพันธมิตร ฯ หรือเป็นแนวร่วมนั้นล้วนแล้วแต่เป็นกวีแถวหน้าของเมืองไทยทั้งนั้น ยกตัวอย่างเช่น เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (คนนี้ขาประจำ) อังคาร กัลยาณพงศ์ (ท่านนี้ไม่อยากแตะเลย) คมทวน คันธนู (ผมไม่ค่อยอ่านงานของเขานัก) ฯลฯ


เมื่อเห็นรายชื่อของกวีแถวหน้าแล้ว จึงคิดได้ว่าไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ประการใดที่แวดวงกวีของไทยยังย่ำอยู่กับที่ ไม่มีพัฒนาการ ทำได้เพียงแค่โหนกระแสแกะสลักตัวอักษรไปเรื่อยเปื่อย ไม่มีทิศทาง ผลที่เกิดขึ้นคือไม่ได้รับการเหลียวแลจากผู้อ่านและสังคม ผลัดกันเขียน เวียนกันอ่าน วานกันชม ในวงแคบ ๆ ไม่กี่คน ผลิตงานรวมเล่มออกมาเพื่อหวังรางวัลของโรงแรมโอเรียนเต็ล(ซีไรท์) เท่านั้น!


ผมไม่รู้ว่าการที่กวีนำบทกวีของตนเองขึ้นไปอ่านบทเวที “พันธมิตรฯ” หรือส่งบทกวีไปให้คนอื่นอ่านแทนนั้นจะได้ค่าจ้างมากน้อยเพียงใด หรือบรรดาศิลปิน “เพื่อชีวิต” ที่ขึ้นไปร้องเพลงให้พันธมิตร ฯ จะได้ค่าแรงมากน้อยเพียงใด เข้าใจว่าคงจะได้บ้าง


แต่รู้สึกใจหายและเสียดายครับ น่าใจหายและน่าเสียดายครับที่กวีใหญ่เหล่านี้ทำลาย ทำร้ายตนเอง เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นั้น ไปไกลเกินกู่แล้วจริงๆ ความรู้สึกนึกคิดแบบอนุรักษ์นิยมเต็มเปี่ยมท่วมท้น


นอกจากจะขยันเขียนบทกวีให้ “พันธมิตร ฯ” แล้วเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ยัง “ซื้อ” แนวคิด “คลั่งชาติ” ว่าด้วยเรื่องการทวงสิทธิ “เขาพระวิหาร” เขาเป็นหัวขบวนเรียกร้องทวงสิทธิใน “เขาพระวิหาร” ร่วมกับบรรดาพวกผู้ดีและไม่ผู้ดีแถวสะพานมัฆวานโดยไม่ตระหนักถึงข้อเท็จจริงและความเป็นไปได้


ผมอยากจะบอกว่าแนวคิดชาตินิยมสุดขั้วหรือความคลั่งชาติแบบกลุ่มพันธมิตร ฯ นั้นเป็นแนวคิดที่คับแคบ เห็นแก่ตัว หากลองตัดส่วนได้เสียในฐานะที่เป็นคนไทยหรือคนเขมรออกไปแล้ว ก็จะคิดได้ว่า “เขาพระวิหาร” จะเป็นของใครก็ไม่ใช่ปัญหา ขอให้มันเป็นมรดกของมนุษยชาติก็พอ ! ทำไมกวีไม่คิดเช่นนี้เล่า!


ในบทความชิ้นต่อ ๆ ไปคงจะได้วิเคราะห์ถึงเนื้อหาของบทกวีบางชิ้น ส่วนบทความนี้ขอจบด้วยบทกวีของใครก็ไม่รู้อยู่ในเวบบอร์ดประชาไท (ต้องขออภัยผู้แต่งอย่างแรงที่ไม่ได้จดชื่อมาด้วย ใครรู้ช่วยบอกที) เขียนไว้ว่า

ความล้าหลังปรากฎในชนชั้นกลาง
ยืน เดิน นั่ง ตะโกนกันคลั่งบ้า
กู่ ปาวๆ เอาประเทศไทยคืนมา
คืนมาจากกำมือประชาชน!!!


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง 
เมธัส บัวชุม
หลังจากอิดออดเพื่อรักษาท่าทีแต่พองามแล้ว “ผู้ร้าย” สองคนก็เปิดตัวเปิดใจกระโจนเข้าสู่วง ”การเมือง” เต็มตัว “ผู้ร้าย” คนแรก
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนในอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี นานมาแล้วที่ผมไม่ได้ออกไปไหน เพื่อนพาไปเที่ยวป่าและแวะที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่แลดูลี้ลับ วังเวงและยากไร้
เมธัส บัวชุม
สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่กับความโง่ มีความโง่เป็นเจ้าเรือน นับวันความโง่ยิ่งแผ่ขยายแพร่กระจายไปราวเชื้อโรค หลายคนโง่โดยสุจริต  คนเหล่านี้น่าเห็นใจ ถูกครอบงำด้วยความไม่รู้  อคติ ความเกลียดชังทำให้ประสิทธิภาพในการคิดเสื่อมถอย สติปัญญาถูกบิดเบือนไป คนประเภทนี้โง่เพราะถูกอคติทำลายจนมืดบอด
เมธัส บัวชุม
  ในระหว่างที่รัฐบาลกำลังรวนเรเพราะความไร้ฝีมือและความเน่าจากภายใน แทนที่จะทุ่มสมองและแรงงานเพื่อกระหนาบกระหน่ำรัฐบาลโจร คนเสื้อแดงเฉดต่าง ๆ ก็กลับใช้โอกาสนี้วิพากษ์วิจารณ์กันรุนแรงกระทั่งแตกออกเป็นสาย
เมธัส บัวชุม
ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์กำลังเดินทางไปในอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก และเตรียมหาที่อยู่บนดาวดวงอื่น ทั้งวิตกกังวลกับโรคระบาดชนิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้มนุษย์ต้องสูญพันธุ์ ประเทศไทยยังคงสนุกสนานเหมือนเด็กเล่นขายของกับการกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกระทั่งล้มสถาบันสนุกครับ สนุก
เมธัส บัวชุม
ตื่นเช้าขึ้นมา หากไม่มีอะไรเร่งด่วนต้องทำ ผมจะนั่งเขียนโน่น เขียนนี่พร้อม ๆ กับที่เข้าไปในบอร์ดประชาไท อ่านกระทู้ต่าง ๆ อยู่เงียบ ๆ มานานจนเกือบจะกลายเป็นกิจวัตร (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์) แต่หลังเช้าไปแล้ว ผมก็ทำอย่างอื่น ไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่อาจติดตามความเคลื่อนไหวในบอร์ดประชาไทได้อีก ดังนั้นจึงได้อ่านเพียงบางกระทู้เท่านั้นและล้วนแล้วแต่เป็นการอ่านผ่านๆ ทั้งสิ้น
เมธัส บัวชุม
พักหลัง ผมเข้าไปเยื่ยมชมเว็บไซต์ "ASTVผู้จัดการ" บ่อยครั้ง เพื่ออยากรู้ว่าชาวสีเหลืองหรือกลุ่มพันธมิตรคิดอ่านกันอย่างไร มีนวัตกรรมอะไรบ้างในการทำลายฝ่ายตรงข้าม ศึกษากลวิธีในการเต้าข่าว การใส่ไคล้ การใช้ภาษาของบรรดาคอลัมนิสต์ กระทั่งแวะเข้าไปอ่าน "เรื่องนินทาราวตาเห็น" ของ "ซ้อเจ็ด" ผู้โด่งดัง
เมธัส บัวชุม
หลายวันก่อน ได้อ่านบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “ทางออกจากทักษิณ” (มติชนรายวัน, 20 ก.ค. 52.) บทความนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและแดง  เนื้อหาของบทความ นอกจากปัญญาชนรายนี้จะออกตัวให้กลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองโดยยกระดับความคิด และการกระทำของคนกลุ่มนี้ว่าเกิดจากทัศนะและความเข้าใจในประชาธิปไตยที่แตกต่างจากกลุ่มเสื้อแดงซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน  
เมธัส บัวชุม
นานมาแล้ว ที่ผมไม่เคยเจ็บป่วยขนาดต้องไปโรงพยาบาลหรือหาหมอ อย่างมากก็แค่ซื้อยาแก้เจ็บคอมากิน แต่ครั้งนี้เจ็บคอหลายวัน บวกกับอาการมึนหัว เบื่ออาหาร เพลีย และปวดเมื่อยเนื้อตัวอย่างหนักขนาดทาถูสบู่ตามตัวยังรู้สึกปวดไปถึงกระดูก เวลานอนต้องนอนตะแคงอย่างเดียวจะนอนหงายหรือคว่ำไม่ได้เพราะปวดเมื่อย(ขนาดนั้น) ผมจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลแม้จะยังสงสัยอยู่ว่าคิดถูกหรือผิดกันแน่ น่าตกใจพอสมควรที่คนป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เต็มล้นโรงพยาบาล (แต่แทบไม่มีคนที่อยู่วัยเดียวกับผม) ผมคิดในใจว่าถ้าตนเองเป็นเพียงโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ก็คงจะมารับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลนี่แหละ…
เมธัส บัวชุม
การล่า 1 ล้านรายชื่อของสามเกลอแห่ง "ความจริงวันนี้" เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นประเด็นให้คนเสื้อแดงถกเถียงแก้เซ็งไปพลาง ๆ โหมโรงการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป มีความคิดเห็นค่อนข้างหลากหลายในหมู่คนเสื้อแดงด้วยกัน ทั้งนี้เพราะคนเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายในตัวเองอยู่แล้ว คือมีตั้งแต่ "แดงอนุรักษ์" ไปจนถึง "แดงถอนรากถอนโคน" ซึ่งลักษณะที่ว่านี้ไม่มีในหมู่คนเสื้อเหลือง
เมธัส บัวชุม
เป็นความคิดที่ดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความพยายามจะ “รื้อฟื้น” วันชาติขึ้น เพราะมันมีความหมายและนัยสำคัญต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยอย่างมาก วันชาติเป็นผลพวงของการยึดอำนาจของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสียงและความคิดเห็นของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน