Skip to main content

ตอนแรกตั้งใจจะตั้งชื่อบทความว่า “กวีพันธมิตร ฯ” แต่เห็นชื่อที่โดนใจวัยรุ่นกว่าในเวบบอร์ด “ฟ้าเดียวกัน” ว่า “กวีเกรียน” โดยคุณ Homo erectus (ซึ่งเคยเข้ามาวิพากษ์เชิงด่าผมอยู่เป็นประจำจนเลิกไปเอง) จึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเพื่อให้เข้ากับสมัยนิยม


กวีเกรียน” ในความหมายของผมคือกวีที่ล้าหลัง คิดอ่านไร้เดียงสาเหมือนเด็กที่อ่อนต่อโลก วิเคราะห์สังคมไม่ออกเพราะไม่มีหลักคิดที่มั่นคง อ่านการเมืองไม่เป็นเพราะมัวแต่คิดว่านักการเมืองชั่วร้ายเลวทรามในขณะที่ประชาชนและข้าราชการ และพวกอภิสิทธิชนนั้นมีคุณธรรม จริยธรรม หรืออย่างน้อยก็มีมากกว่านักการเมือง


ขอบอกว่าความเชื่อและความเข้าใจข้างต้นเป็นสิ่งที่ผิดอย่างร้ายแรง เพราะที่จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นพวกผู้ลากมากดีหรือกรรมกรแบกหาม ก็ไม่มีใครดีหรือเลวมากกว่านักการเมือง ทุกคนในฐานะที่เป็นคนต่างเลวหรือดีเหมือนกันหมด ส่วนผมชัดเจนในความเห็นของผมมานานแล้วว่า “ทุกคนเลวเหมือนกันทั้งนั้น”


กวีเกรียน” ไร้จุดยืนและหลักการ ชอบเต้นเร่า ๆ ไปตามกระแสข่าว ขาดทัศนะวิพากษ์แบบถึงรากถึงโคนจึงไม่สามารถผลักตรรกะออกไปจนสุด ทำให้มีเพดานทางการวิเคราะห์ที่แคบตื้น ไม่อาจวิพากษ์ได้อย่างเฉียบขาดแหลมคม ไม่มีความคงเส้นคงวาในการใช้เหตุผลหรือ “ใช้เหตุผลแบบเลือกปฏิบัติ”


ยกตัวอย่าง เช่น กลุ่ม “พันธมิตร ฯ” สามารถปั้นน้ำเป็นตัวด่ารัฐบาลในกรณีของคุณจักรภพ เพ็ญแขหรือในกรณีของคุณนพดล ปัทมะได้ แต่รัฐบาลปั้นน้ำเป็นตัวด่ากลุ่ม “พันธมิตร ฯ” หรือแม้แต่นำเสนอข้อเท็จจริงออกไป กลับเป็นสิ่งที่ไม่มีชอบธรรม ต้องมีการตรวจสอบ ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระค่อย ๆ ยักยอกเงินมาสร้างบ้านราคา 50 ล้านบาทเป็นสิ่งไม่น่าเกลียด แต่ถ้านักการเมืองทำบ้าง ชาว “กวีเกรียน” จะรับไม่ได้


ทั้งหมดทั้งปวงที่กล่าวมาส่งผลให้ “กวีเกรียน” มองเห็นการกระทำและความคิดเห็นของกลุ่ม “พันธมิตร ฯ” เป็นอะไรที่ถูกต้องเหมาะสม พอถึงเวลาเลือกข้างจึงเลือกที่จะเข้าข้าง “พันธมิตร ฯ” โดยไม่ต้องรู้สึกละอาย


กวีเกรียน” ไม่เฉลียวใจเลยว่ากลุ่ม “พันธมิตร ฯ” นั่นแหละคือปัญหา คืออาการของโรคต่อต้านประชาธิปไตยที่มีอำนาจตุลาการ และทหาร เป็นฐานสนับสนุน “กวีเกรียน” มีจิตสำนึกผิดพลาดที่ไม่ตระหนักว่าสองสถาบันที่ว่านี้แหละคืออุปสรรคต่อพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย


การที่กวีเกรียนเลือกข้าง “พันธมิตร ฯ” ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะว่ารสนิยมทางการเมืองนั้นของใครก็ของมัน ไม่ว่ากัน บางคนสมาทานระบอบอมาตยาธิปไตยเพราะเชื่อว่าผู้ดีย่อมดีกว่าไพร่ บางคนสมาทานระบอบพ่อปกครองลูกเพราะเห็นว่าเป็นอะไรที่อบอุ่นใกล้ชิด บางคนพอใจกับระบอบอุปถัมภ์เพราะไม่เน้นเรื่องคุณธรรมความสามารถ ฯลฯ


แต่ประเด็นก็คือ “กวีเกรียน” และ “พันธมิตร ฯ” อ้างถึงประชาชนและประชาธิปไตยไม่ขาดปาก ทั้งที่เนื้อหาและประเด็นการเคลื่อนไหวนั้นกลับตรงกันข้าม!


บรรดารายชื่อกวีที่ขึ้นเวทีพันธมิตร ฯ หรือเป็นแนวร่วมนั้นล้วนแล้วแต่เป็นกวีแถวหน้าของเมืองไทยทั้งนั้น ยกตัวอย่างเช่น เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (คนนี้ขาประจำ) อังคาร กัลยาณพงศ์ (ท่านนี้ไม่อยากแตะเลย) คมทวน คันธนู (ผมไม่ค่อยอ่านงานของเขานัก) ฯลฯ


เมื่อเห็นรายชื่อของกวีแถวหน้าแล้ว จึงคิดได้ว่าไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ประการใดที่แวดวงกวีของไทยยังย่ำอยู่กับที่ ไม่มีพัฒนาการ ทำได้เพียงแค่โหนกระแสแกะสลักตัวอักษรไปเรื่อยเปื่อย ไม่มีทิศทาง ผลที่เกิดขึ้นคือไม่ได้รับการเหลียวแลจากผู้อ่านและสังคม ผลัดกันเขียน เวียนกันอ่าน วานกันชม ในวงแคบ ๆ ไม่กี่คน ผลิตงานรวมเล่มออกมาเพื่อหวังรางวัลของโรงแรมโอเรียนเต็ล(ซีไรท์) เท่านั้น!


ผมไม่รู้ว่าการที่กวีนำบทกวีของตนเองขึ้นไปอ่านบทเวที “พันธมิตรฯ” หรือส่งบทกวีไปให้คนอื่นอ่านแทนนั้นจะได้ค่าจ้างมากน้อยเพียงใด หรือบรรดาศิลปิน “เพื่อชีวิต” ที่ขึ้นไปร้องเพลงให้พันธมิตร ฯ จะได้ค่าแรงมากน้อยเพียงใด เข้าใจว่าคงจะได้บ้าง


แต่รู้สึกใจหายและเสียดายครับ น่าใจหายและน่าเสียดายครับที่กวีใหญ่เหล่านี้ทำลาย ทำร้ายตนเอง เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นั้น ไปไกลเกินกู่แล้วจริงๆ ความรู้สึกนึกคิดแบบอนุรักษ์นิยมเต็มเปี่ยมท่วมท้น


นอกจากจะขยันเขียนบทกวีให้ “พันธมิตร ฯ” แล้วเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ยัง “ซื้อ” แนวคิด “คลั่งชาติ” ว่าด้วยเรื่องการทวงสิทธิ “เขาพระวิหาร” เขาเป็นหัวขบวนเรียกร้องทวงสิทธิใน “เขาพระวิหาร” ร่วมกับบรรดาพวกผู้ดีและไม่ผู้ดีแถวสะพานมัฆวานโดยไม่ตระหนักถึงข้อเท็จจริงและความเป็นไปได้


ผมอยากจะบอกว่าแนวคิดชาตินิยมสุดขั้วหรือความคลั่งชาติแบบกลุ่มพันธมิตร ฯ นั้นเป็นแนวคิดที่คับแคบ เห็นแก่ตัว หากลองตัดส่วนได้เสียในฐานะที่เป็นคนไทยหรือคนเขมรออกไปแล้ว ก็จะคิดได้ว่า “เขาพระวิหาร” จะเป็นของใครก็ไม่ใช่ปัญหา ขอให้มันเป็นมรดกของมนุษยชาติก็พอ ! ทำไมกวีไม่คิดเช่นนี้เล่า!


ในบทความชิ้นต่อ ๆ ไปคงจะได้วิเคราะห์ถึงเนื้อหาของบทกวีบางชิ้น ส่วนบทความนี้ขอจบด้วยบทกวีของใครก็ไม่รู้อยู่ในเวบบอร์ดประชาไท (ต้องขออภัยผู้แต่งอย่างแรงที่ไม่ได้จดชื่อมาด้วย ใครรู้ช่วยบอกที) เขียนไว้ว่า

ความล้าหลังปรากฎในชนชั้นกลาง
ยืน เดิน นั่ง ตะโกนกันคลั่งบ้า
กู่ ปาวๆ เอาประเทศไทยคืนมา
คืนมาจากกำมือประชาชน!!!


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…