Skip to main content

บทความที่แล้วพยายามจะให้ความหมายของ “กวีเกรียน” ว่ามีลักษณะอย่างไร แล้วเมื่อลองมาวิเคราะห์ พิจารณา สามารถสรุปรวบยอดได้ว่า กวีเกรียน นั้นเดินทางล้าหลัง อยู่ถึง 3 ก้าวด้วยกัน


ก้าวที่ 1 คือ ขาดการทบทวนอดีต ไม่สามารถนำอดีตมาเป็นบทเรียนได้ ไม่สามารถสกัดเก็บซับเอาข้อดี ข้อเสียในอดีตมาเป็นฐานคิดในการวิเคราะห์สังคมการเมือง


จะว่าไปบทเรียนในอดีตของสังคมไทยก็มีให้ศึกษาเรียนรู้อยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลง 2475, การต่อสู้ของเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการในอดีตหรือกระทั่งการต่อสู้อยู่ในป่าของพคท.ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเนื้อหาการต่อสู้อันเข้มข้นที่เป็นขุมทรัพย์ของการเรียนรู้และแรงดลใจ แต่กวีกลับเรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้แบบผิด ๆ


ก้าวที่ 2 คือ ตามสังคมไม่ทัน กวีอาจมัวเมาหมกมุ่นอยู่กับจิตวิญญาณหรืออะไรที่สูงส่งเสียจนไม่ทราบว่าโลกได้ก้าวไปถึงไหนแล้ว ดังนั้นจึงไม่แปลกที่กวีมักจะมองไม่เห็นข้อดีของความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและมักจะมีท่าทีต่อต้านความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในโลกทุนนิยม กวีต่อต้านทุนนิยมโดยไม่ตระหนักแม้แต่นิดเดียวว่าตนเองเป็นผู้หนึ่งที่ช่วย “แบก” ให้โลกแห่งทุนนิยมเคลื่อนไปข้างหน้า กวีประณามนายทุนในขณะที่นั่งดื่มไวน์ชั้นดีหรือใช้เทคโนโลยีที่นายทุนผู้นั้นเป็นเจ้าของ


ก้าวที่ 3 มองไปข้างหน้าไม่ได้ สองข้อที่กล่าวมาทำให้กวีไม่สามารถมองไปข้างหน้าอย่างถูกต้อง แม่นตรงได้ ไม่สามารถประเมินแนวโน้มหรือจับทิศทางความเป็นไปของโลกและสังคม ขาดวิสัยทัศน์ คาดการณ์ผิดพลาด


เป็นต้นว่า ไม่สามารถวิเคราะห์หรือมองไกลได้ว่าการเคลื่อนไหวของพันธมิตร ฯ นั้น ทำลายระบอบประชาธิปไตยและที่สุดแล้วจะทำลายความเข้มแข็งของภาคประชาชนลง เพราะแท้จริงแล้วการเคลื่อนไหวของพันธมิตร ฯ ดำเนินไปภายใต้เงาปีกของระบอบราชการที่มีศาลและกองทัพและข้าราชการระดับสูงเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ในขณะที่ประชาชนที่เข้าร่วมนั้นเป็นเพียงบริวารเท่านั้น-ข้อสังเกตเช่นนี้ กวีเกรียนจะมองไม่เห็นเพราะเชื่อว่าข้าราชการระดับสูงหรือผู้ดีจะบันดาลให้ประชาชนมีความสุข ความเจริญได้ ในขณะที่นักการเมืองนั้นมีแต่จะโกงกิน


3
ก้าวที่เชื่องช้าของกวี ส่งผลให้กวีไทยเป็นอย่างที่เป็นอยู่ ขาดการยอมรับทั้งที่มีความสามารถ การเข้าร่วมกับพันธมิตร ฯ ยิ่งทำให้สภาพบรรยากาศของกวีไทยอาการหนักเข้าไปอีก ปัญญาชนได้แต่ส่ายหัว ในขณะที่ประชาชนเสื่อมศรัทธา


ในที่นี้จะขอหยิบยกบางบทกวีมาให้ลองอ่าน บทกวีที่ยกมาเป็นของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ หนึ่งในกวีที่ร่วมหัวจมท้ายกับพันธมิตรฯ มาตลอด เมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ แล้วเข้าใจว่าเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เขียนบทกวีให้พันธมิตรฯ มากที่สุด แม้กระทั่งคืนวันที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมา เขาก็ยังขึ้นเวทีพันธมิตรฯ พร้อมขลุ่ยคู่ชีพ ปลุกระดมมวลชนให้ร่วมกันล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง


บทกวีชิ้นที่หยิบยกมานี้มีชื่อว่า “ทับซ้อน ทับทรวง” กล่าวถึงการสูญเสีย “เขาพระวิหาร” ซึ่งเนาวรัตน์มองว่าเป็นการ ”ประจานโง่ทั้งโลกา” แน่นอน เนาวรัตน์ มุ่งโจมตีรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ที่สนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ใครๆ ก็รู้ว่าเขาพระวิหารตกเป็นของเขมรอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ศาลโลกตัดสินแล้ว การมุ่งโจมตีรัฐบาลสมัครในเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องน่าสมเพชของกวี มากกว่าใครอื่น


เนาวรัตน์ ว่าต่อไปว่าการเสียเขาพระวิหารนั้น เสียศักดิ์ศรี เสียที่เกิดเป็นคนไทย จากนั้นก็โยงเข้าสู่เรื่องของทุนนิยมและรัฐบาลหุ่นเชิดแบบเดียวกับพันธมิตร ฯ


ผมเคยเขียนไปแล้วว่าบทกวีการเมืองนั้นให้งามทั้งเนื้อหาและภาษานั้นยาก บทกวีชิ้นนี้ของเนาวรัตน์ก็เช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เรียกว่า “สุกเอาเผากิน” เพราะไม่มีอะไรเลยนอกจากการก่นด่าด้วยภาษาแบบเดียวกับที่พันธมิตรฯ ใช้ “ปล้นชาติ ปล้นแผ่นดิน” “อันธพาลครองเมือง”


บทกวีชิ้นนี้ของเนาวรัตน์ ไม่มีอะไรให้ตีความ ทื่อและเท่อ ขาดศิลปะ ลองอ่านดูเองก็แล้วกัน ผมคิดว่าบางทีบทกวีตามฝาผนังในห้องน้ำยังน่าอ่านกว่านี้อีก.

         ๏ ทับซ้อน ทับทรวง ๏
         
๏ เสียเขาพระวิหาร
        
ประจานโง่ทั้งโลกา
        
เสียสัจจะวาจา
       
จะรักษาอธิปไตย
       
        
๏ เสียศักดิ์และเสียศรี
       
ทั้งเสียทีที่เป็นไทย
       
เสียท่าพวกสาไถย

           เล่ห์กะเท่ พวกนายทุน
       
        
๏ ทับซ้อน กันซ้อนซับ
       
มันจับมือกันชุลมุน
       
เชิดรัฐบาลหุ่น
       
ที่หอกหักเข้าชักยนต์
       
       
๏ ผิดกฎ ว่ากฎผิด
       
ต้องติดกับว่าติดกล
        
แก้กฎ ด้วยโฉดฉล
       
เข้าปล้นชาติปล้นแผ่นดิน
       
       
๏ ย่อยยับแสนทรัพยา
       
ให้ผีบ้า ให้ห่ากิน
       
อาเพศ ทั้งปถพิน
       
พวกอันธพาลมันครองเมือง
       
       
๏ เสียเขา พระวิหาร
       
ประจานชั่วได้ทุกเรื่อง
       
ชั่วร้ายอันรุ่งเรือง
       
ระยำยำ ประเทศไทย
       
       
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
       
.๒๓//๕๑


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง 
เมธัส บัวชุม
หลังจากอิดออดเพื่อรักษาท่าทีแต่พองามแล้ว “ผู้ร้าย” สองคนก็เปิดตัวเปิดใจกระโจนเข้าสู่วง ”การเมือง” เต็มตัว “ผู้ร้าย” คนแรก
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนในอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี นานมาแล้วที่ผมไม่ได้ออกไปไหน เพื่อนพาไปเที่ยวป่าและแวะที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่แลดูลี้ลับ วังเวงและยากไร้
เมธัส บัวชุม
สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่กับความโง่ มีความโง่เป็นเจ้าเรือน นับวันความโง่ยิ่งแผ่ขยายแพร่กระจายไปราวเชื้อโรค หลายคนโง่โดยสุจริต  คนเหล่านี้น่าเห็นใจ ถูกครอบงำด้วยความไม่รู้  อคติ ความเกลียดชังทำให้ประสิทธิภาพในการคิดเสื่อมถอย สติปัญญาถูกบิดเบือนไป คนประเภทนี้โง่เพราะถูกอคติทำลายจนมืดบอด
เมธัส บัวชุม
  ในระหว่างที่รัฐบาลกำลังรวนเรเพราะความไร้ฝีมือและความเน่าจากภายใน แทนที่จะทุ่มสมองและแรงงานเพื่อกระหนาบกระหน่ำรัฐบาลโจร คนเสื้อแดงเฉดต่าง ๆ ก็กลับใช้โอกาสนี้วิพากษ์วิจารณ์กันรุนแรงกระทั่งแตกออกเป็นสาย
เมธัส บัวชุม
ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์กำลังเดินทางไปในอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก และเตรียมหาที่อยู่บนดาวดวงอื่น ทั้งวิตกกังวลกับโรคระบาดชนิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้มนุษย์ต้องสูญพันธุ์ ประเทศไทยยังคงสนุกสนานเหมือนเด็กเล่นขายของกับการกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกระทั่งล้มสถาบันสนุกครับ สนุก
เมธัส บัวชุม
ตื่นเช้าขึ้นมา หากไม่มีอะไรเร่งด่วนต้องทำ ผมจะนั่งเขียนโน่น เขียนนี่พร้อม ๆ กับที่เข้าไปในบอร์ดประชาไท อ่านกระทู้ต่าง ๆ อยู่เงียบ ๆ มานานจนเกือบจะกลายเป็นกิจวัตร (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์) แต่หลังเช้าไปแล้ว ผมก็ทำอย่างอื่น ไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่อาจติดตามความเคลื่อนไหวในบอร์ดประชาไทได้อีก ดังนั้นจึงได้อ่านเพียงบางกระทู้เท่านั้นและล้วนแล้วแต่เป็นการอ่านผ่านๆ ทั้งสิ้น
เมธัส บัวชุม
พักหลัง ผมเข้าไปเยื่ยมชมเว็บไซต์ "ASTVผู้จัดการ" บ่อยครั้ง เพื่ออยากรู้ว่าชาวสีเหลืองหรือกลุ่มพันธมิตรคิดอ่านกันอย่างไร มีนวัตกรรมอะไรบ้างในการทำลายฝ่ายตรงข้าม ศึกษากลวิธีในการเต้าข่าว การใส่ไคล้ การใช้ภาษาของบรรดาคอลัมนิสต์ กระทั่งแวะเข้าไปอ่าน "เรื่องนินทาราวตาเห็น" ของ "ซ้อเจ็ด" ผู้โด่งดัง
เมธัส บัวชุม
หลายวันก่อน ได้อ่านบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “ทางออกจากทักษิณ” (มติชนรายวัน, 20 ก.ค. 52.) บทความนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและแดง  เนื้อหาของบทความ นอกจากปัญญาชนรายนี้จะออกตัวให้กลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองโดยยกระดับความคิด และการกระทำของคนกลุ่มนี้ว่าเกิดจากทัศนะและความเข้าใจในประชาธิปไตยที่แตกต่างจากกลุ่มเสื้อแดงซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน  
เมธัส บัวชุม
นานมาแล้ว ที่ผมไม่เคยเจ็บป่วยขนาดต้องไปโรงพยาบาลหรือหาหมอ อย่างมากก็แค่ซื้อยาแก้เจ็บคอมากิน แต่ครั้งนี้เจ็บคอหลายวัน บวกกับอาการมึนหัว เบื่ออาหาร เพลีย และปวดเมื่อยเนื้อตัวอย่างหนักขนาดทาถูสบู่ตามตัวยังรู้สึกปวดไปถึงกระดูก เวลานอนต้องนอนตะแคงอย่างเดียวจะนอนหงายหรือคว่ำไม่ได้เพราะปวดเมื่อย(ขนาดนั้น) ผมจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลแม้จะยังสงสัยอยู่ว่าคิดถูกหรือผิดกันแน่ น่าตกใจพอสมควรที่คนป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เต็มล้นโรงพยาบาล (แต่แทบไม่มีคนที่อยู่วัยเดียวกับผม) ผมคิดในใจว่าถ้าตนเองเป็นเพียงโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ก็คงจะมารับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลนี่แหละ…
เมธัส บัวชุม
การล่า 1 ล้านรายชื่อของสามเกลอแห่ง "ความจริงวันนี้" เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นประเด็นให้คนเสื้อแดงถกเถียงแก้เซ็งไปพลาง ๆ โหมโรงการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป มีความคิดเห็นค่อนข้างหลากหลายในหมู่คนเสื้อแดงด้วยกัน ทั้งนี้เพราะคนเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายในตัวเองอยู่แล้ว คือมีตั้งแต่ "แดงอนุรักษ์" ไปจนถึง "แดงถอนรากถอนโคน" ซึ่งลักษณะที่ว่านี้ไม่มีในหมู่คนเสื้อเหลือง
เมธัส บัวชุม
เป็นความคิดที่ดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความพยายามจะ “รื้อฟื้น” วันชาติขึ้น เพราะมันมีความหมายและนัยสำคัญต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยอย่างมาก วันชาติเป็นผลพวงของการยึดอำนาจของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสียงและความคิดเห็นของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน