Skip to main content

-1-

การยึดอำนาจโดยกลุ่มทหาร ที่เรียกตัวเองด้วยชื่อที่ฟังดูคุ้นหูสำหรับคนที่พบเห็นหรือศึกษาเกี่ยวกับการรัฐประหารมาบ้างว่า “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (คปค.) ในวันที่ 19 กันยายน 2549 นั้นถือเป็นฝันร้ายยาวนานสำหรับสังคมการเมืองไทย และเชื่อว่าจะตามหลอกตามหลอนประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตยไปตลอด

คณะทหารที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกตัวเองเสียใหม่แต่ก็ยังฟังดูคุ้น ๆ อยู่ดีว่า “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) บัดนี้คำว่า “ความมั่นคง” ปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วในรูปของชื่อเรียก

และนับจากนี้เป็นต้นไป วาทกรรม “ความมั่นคง” ก็ได้หวนกลับมาหลอกหลอนสังคมการเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าในรูปของ “กฏหมายความมั่นคง” ซึ่งฝ่ายทหารกำลังผลักดันกันอย่างหนัก หรือการแทรกแซงกิจกรรมของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามภายใต้คำว่า “ความมั่นคง” หรือการคงกฏอัยการศึกไว้ในบางจังหวัดด้วยข้ออ้าง ”ความมั่นคง” ฯลฯ

เราได้ยิน ได้ฟังพลเอกสนธิ บุณยรัตนกลิน อดีต ประธาน คปค.และคมช.  ประธาน ครส. เอ่ยคำว่า “ความมั่นคง” โดยไม่ละอายปากบ่อยครั้งมาก  จนทำให้เกิดความสงสัยว่าประเทศไทยอาจตกอยู่ภายใต้ ”ความไม่มั่นคง” ดังที่ทหารนายนี้บอก ?

แต่จะมีใครที่ไหนที่จะเชื่อคำกล่าวอ้างเรื่อง “ความมั่นคง” ของทหารที่ริอาจคิดการณ์ใหญ่รายนี้

 

-2-

พลเอกสนธิ บุณยรัตนกลินซึ่งมัก  “ตีหน้าเศร้า”  อยู่ในเป็นนิจเวลาให้สัมภาษณ์สื่อ พูดถึงเรื่องความมั่นคงและเรื่องอื่น ซึ่งเราอาจจัดแบ่งวาทกรรม “ความมั่นคง” ที่พลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลิน “ใช้เป็นอาวุธ” ได้ตามการใช้งานเป็น 2 ประเภทอย่างกว้าง ๆ คือ “ความมั่นคงเพื่อทำร้ายผู้อื่น” และ “ความมั่นคงเพื่อปกป้องตนเอง” หรืออาจเรียกรวม ๆ ว่า “ความมั่นคงที่จะนำไปสู่อำนาจ” หรือ “ความมั่นคงในการรักษาอำนาจไว้”

คำว่า “ความมั่นคง” จึงไม่ได้เป็นแค่คำซื่อ ๆ ที่มีความหมายตรงไปตรงมาตามพจนานุกรม หากแต่เป็นอาวุธที่นายทหารรายนี้ใช้และกลุ่มทหารก็ใช้อยู่เสมอเวลายึดอำนาจ เป็นข้ออ้างในการสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของตนเอง และพรรคพวกหลังจากทำประเทศเสียหายอย่างไม่อาจย้อนคืนแก้ไข

ผมถามตนเองเล่น ๆ ว่าพลเอกสนธิ บุณยรัตนกลิน รู้อยู่แก่ใจหรือเปล่าว่าตนเองกำลังพูดเท็จหรือว่าเชื่อในสิ่งที่ตนเองพูดจริง ๆ ? เชื่อจริง ๆ ว่าประเทศไทยต้องการความมั่นคงเร่งด่วนเพราะกำลังตกอยู่ในความไม่มั่นคงในรูปแบบต่าง ๆ ? เชื่อจริง ๆ หรือว่าปัญหายาเสพติดหรือการหลบหนีเข้าประเทศไทยของคนต่างด้าวเป็นปัญหา “ความมั่นคง” ที่สั่นคลอนเสถียรภาพความเป็นอยู่ของคนไทย ?  พลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลิน ไม่ละอายแก่ใจหรือเกรงกลัวต่อบาปเลยหรือไรในยามที่เปล่งคำว่า “ความมั่นคง” ออกมา ?

เมื่อมองย้อนกลับไปจะพบว่า “ความมั่นคง” เป็นวาทกรรมเก่าแก่ยาวนานซึ่งผมเคยได้ยินได้ฟังจากหน่วยงานราชการทหารมาตั้งแต่ยังเด็ก และคิดว่าคงจะตายจากไปและใช้ไม่ได้อีก  

แต่โดยไม่คาดคิด ใครหลายคนก็คงไม่คาดคิดเช่นเดียวกับผม “ความมั่นคง” ได้ย้อนกลับคืนมาอีกหนในบรรยากาศที่คนไทยกำลังสับสนวิปริตทางปัญญาอย่างหนัก สับสนจนไม่อาจพิเคราะห์ได้ว่า “ความมั่นคง” จะเป็นชนวนระเบิดทำลายประชาธิปไตย ทำลายความสงบสุขในอนาคตข้างหน้า

ค่าที่ได้ยินคำว่า “ความมั่นคง” ครั้งแล้วครั้งเล่า ผมก็อดสงสัยไม่ได้ว่านายทหารที่ยึดอำนาจและต้องการเถลิงอำนาจต่อไปนั้น “หมดมุก” แล้วหรือไรที่ไป “ปลุกผีความมั่นคง” หรือ  “ปลุกผีคอมมิวนิสต์” ให้ฟื้นขึ้นมา

นายทหารที่ยึดอำนาจไม่มีปัญญาจะคิด “มุกใหม่” ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในยุคโลกาภิวัฒน์และฟังดูเข้าท่าน่าซื้อกว่าเรื่อง “ความมั่นคง” ?

ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ไม่ว่าใครก็คงไม่เชื่อเรื่อง “ความมั่นคง” แต่ที่ “ความมั่นคง” ยังใช้การได้นั้นเกิดจากกระแส “ไม่เอาทักษิณ” ต่างหาก หาได้เกิดจากความเชื่อในเรื่อง “ความไม่มั่นคง”  ที่คุกคามประเทศไทยไม่

พลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลิน คงจะพ่นเรื่อง “ความมั่นคง” ไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่คิดว่ามันยังขายได้ เมื่อจวนตัวเรื่องเอกสารลับซึ่งระบุชัดเจนจนไม่ต้องตีความว่าต้องการทำลายพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม สิ่งที่หลุดออกมาจากปากของทหารรายนี้ก็คือ “ความมั่นคง” หรือ “นำประเด็นเรื่องความมั่นคงพิจารณาร่วมด้วย”

ผมไม่อาจเข้าใจและไม่อาจเชื่อแม้แต่น้อยว่า  “ความมั่นคง” ที่พลเอกสนธิ บุณยรัตนกลิน เอ่ยอ้างถึงนั้นเป็นความมั่นคงของประเทศชาติ เพราะไม่เห็นเหตุอะไรที่ต้องเชื่อ แต่วาทกรรม “ความมั่นคง” นั้นน่าจะหมายถึง “ความมั่นคงของพลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลิน” ซึ่งตกเป็นเป้าแห่งความเกลียดชังอย่างไม่ปิดบังของคนจำนวนมาก

ได้แต่หวังว่า หน้ากากที่เรียกว่า “ความมั่นคง” ของพลเอกสนธิ บุณยรัตนกลิน จะถูกถอดออก และได้พบธาตุแท้ของทหารที่ “เสพติดความมั่นคง” รายนี้

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ท่ามกลางเสียงตะเบ็งเซ็งแซ่จากนักวิชาการสายพันธมิตร, สื่อสายพันธมิตร, 40 สว. ลากตั้งสายพันธมิตร, พรรคการเมืองสายพันธมิตร, นักสิทธิมนุษยชนสายพันธมิตร, คนกลางสายพันธมิตร, คนดีสายพันธมิตร, ตุลาการสายพันธมิตร และอะไรต่อมิอะไรสายพันธมิตรนั้น เราพอจะได้ยินได้อ่านอะไรที่แตกต่างสร้างสรรค์ เป็นถ้อยคำรื่นหูที่ได้ยินแล้วสบายใจอยู่บ้างแม้จะเป็นส่วนน้อยก็ตาม เสียงส่วนน้อยเหล่านี้ควรค่าแก่การจดจำตอกย้ำหรือเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง เป็นเสียงแห่งความกล้าหาญที่ช่วยดึงรั้งไม่ให้สังคมเตลิดไปกับความหลงผิด เป็นเสียงแห่งเหตุผลและความถูกต้อง เชื่อว่าหลายคนคงผ่านหู ผ่านตามาแล้ว แต่ขอนำเสนอซ้ำอีกครั้งหนึ่ง 1.…
เมธัส บัวชุม
พวกกบโง่....เห็นนกกระยาง....เป็นนางฟ้า...สมน้ำหน้า....หลงบูชา....ดุจนางแถน...นางประแดะ.....แสร้งเมตตา...อย่างแกนๆฝูงกบแสน....ดีใจ....ได้นายดี......๚ะ๛                                                ๏..ตรังนิสิงเห...๚ะ๛( http://www.prachatai.com/webboard/wbtopic.php?id=733477 )========================================= ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มพันธมิตรฯ…
เมธัส บัวชุม
ตายเป็นตาย เจ๊งเป็นเจ๊ง ละเลงเลือดแผ่นดินเดือด ถ่อยเถื่อน สะเทือนไหมเหล่าแกนนำ อำมหิต คงสะใจประเทศไทย ใกล้พังยับ นับวันรอพันธมิตร ป่วนเมือง ระส่ำสุดเตรียมอาวุธ รบกับใคร กระไรหนอกองทัพธรรม กำมีดพร้า ฆ่าให้พอทำเพื่อ "พ่อ" สนธิลิ้ม และจำลอง ละอองดาว ( http://www.prachatai.com/05web/th/home/comment.php?mod=mod_ptcms&ContentID=13977&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai ) พอฝุ่นควันจากเหตุการณ์สลายหายไป ภาพปรากฏก็เริ่มชัดเจนขึ้น ข้อเท็จจริงค่อย ๆ แสดงตัวออกมาทีละส่วน ๆ ก่อนจะกลายเป็นภาพรวมใหญ่ ทำให้การใส่ความและการโฆษณาชวนเชื่อของแกนนำพันธมิตรฯ…
เมธัส บัวชุม
นายแพทย์ประเวศ วะสี ผู้ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปภายใต้โลโก้ “ราษฎรอาวุโส” เป็น “ผู้ใหญ่” ที่ใครต่อใครรู้จักกันดี เพราะคำพูดคำอ่านหรือแนวคิดของท่าน ตกเป็นข่าวพาดหัวอยู่เสมอทางหน้าหนังสือพิมพ์และได้รับการขานรับจากกลุ่มคนน้อยใหญ่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว นักกิจกรรม แม้กระทั่งข้าราชการ บทบาทของนายแพทย์ประเวศ วะสี ในหลาย ๆ วาระและโอกาส มีความสำคัญและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไทยอย่างสูง จนคว้ารางวัลต่างๆ มามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น บุคคลดีเด่นของชาติ รางวัลแมกไซไซ รางวัลจากยูเนสโก เหรียญเชิดชูเกียรติจาก WHO เป็นที่ยอมรับโดยไม่มีข้อกังขาว่า…
เมธัส บัวชุม
นอกจากจะรู้จักใช้ “สี” ให้เป็นประโยชน์แล้ว ลัทธิพันธมิตรยังมีความสามารถพิเศษในการ ”เปลี่ยนสี” ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือ “เลือกสี” ให้เหมาะกับกาละเทศะ เพราะจะใช้ “สีเดียว” ทุกเวลาและสถานที่คงไม่ได้ การรู้จัก “เปลี่ยนสี” นี้เป็นการปรับตัวเช่นเดียวกับที่เราได้เห็นในสัตว์หลายชนิดที่สามารถสร้างสีให้เกิดความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมหรือสื่อสารกับสัตว์ตัวอื่นๆ ไม่ว่าสัตว์นั้นจะเป็นผู้ล่าหรือผู้ถูกล่า หรือจะเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีหรือไม่มีกระดูกสันหลังต่างก็มีความสามารถในการเปลี่ยนสีด้วยกันทั้งนั้น
เมธัส บัวชุม
ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน ปี 49 กระทั่งปัจจุบัน  อันธพาล-ลัทธิพันธมิตร ได้ผลิต ตอกย้ำนำเสนอ วาทกรรมทางการเมืองต่าง ๆ จำนวนมาก ผ่านเครือข่ายการสื่อสารที่กว้างขวางและร่วมด้วยช่วยกันกับองค์กรอันหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา บุคคลที่มีชื่อเสียง สว. ลากตั้ง ดารา ฯลฯ  ทั้งที่เป็นวาทกรรมเพื่อมุ่งทำลายฝ่ายตรงข้ามและใช้ในการยกยอปอปั้นลัทธิตนเอง วาทกรรมบางอย่าง ลัทธิพันธมิตรประดิษฐ์ขึ้นโดยตรงสำหรับการกรรโชกข่มขู่รัฐบาลและสังคม แต่บางวาทกรรมไม่ได้คิดขึ้นเองหากแต่นำมาจากประธานองคมนตรี นักวิชาการ ราษฎรอาวุโส สื่อมวลชน และจากบรรดาบุคคลที่เทิดทูนระบอบอมาตยาธิปไตยไว้เหนือหัว…
เมธัส บัวชุม
กลุ่มอันธพาลการเมือง หรือแก๊งมาเฟียเป็นปัญหาเสมอมาสำหรับการสถาปนากติกาการปกครองและระเบียบการเมือง ทั้งนี้เพราะเป็นกลุ่มที่กฎหมายและการจัดระเบียบทางสังคมไม่สามารถควบคุมจัดการได้ คุกคามต่อสวัสดิภาพความเป็นอยู่ปกติของคนโดยทั่วไปเพราะกลุ่มอันธพาลการเมือง หรือแก๊งมาเฟียดำรงชีพอยู่ได้ก็ด้วยการขู่เข็ญกรรโชกกระทั่งใช้กำลัง หรือใช้กฎหมู่เพื่อให้มาในสิ่งที่ตนเองต้องการ นอกจากจะไม่ผลิตอะไรออกมาแล้ว กลุ่มอันธพาลการเมืองยังคอยรีดไถเงินจากน้ำพักน้ำแรงของคนอื่น ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับการข่มขู่รีดไถหรือล็อบบี้อย่างชาญฉลาดของกลุ่มอันธพาลการเมืองที่เรียกตนเองว่าพันธมิตรอย่างสมบูรณ์แบบที่กลุ่มพันธมิตร…
เมธัส บัวชุม
ไม่ต้องเป็นผู้ฉลาดหลังเหตุการณ์เราก็จินตนาการได้ไม่ยากว่าการชุมนุมก่อน 19 กันยายน 2549 ของกลุ่มพันธมิตร ฯ นั้นเป็นการออกบัตรเชิญให้ทหารทำรัฐประหารแม้ว่าบางคนอาจคิดว่าเป็นไปไม่ได้ การชุมนุมของพันธมิตร ฯ หลังพรรคพลังประชาชนได้เป็นรัฐบาลก็เช่นเดียวกัน ไป ๆ มา ๆ ก็เหมือนเดิมคือการออกบัตรเชิญให้ทหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกคำรบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพลังประชาชนได้บทเรียนมาแล้วก่อนหน้านี้ และได้รู้ว่าความผิดพลาดในรายละเอียดเพียงนิดเดียวอาจเป็นเงื่อนไขนำไปสู่การยึดอำนาจรอบสองได้ รัฐบาลจึงระมัดระวังอย่างยิ่งในการจัดการกับม็อบพันธมิตร ฯ แต่โอกาสที่จะเกิดการรัฐประหารขึ้นก็ใช่ว่าจะไม่มี…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้วพยายามจะให้ความหมายของ “กวีเกรียน” ว่ามีลักษณะอย่างไร แล้วเมื่อลองมาวิเคราะห์ พิจารณา สามารถสรุปรวบยอดได้ว่า กวีเกรียน นั้นเดินทางล้าหลัง อยู่ถึง 3 ก้าวด้วยกัน ก้าวที่ 1 คือ ขาดการทบทวนอดีต ไม่สามารถนำอดีตมาเป็นบทเรียนได้ ไม่สามารถสกัดเก็บซับเอาข้อดี ข้อเสียในอดีตมาเป็นฐานคิดในการวิเคราะห์สังคมการเมือง จะว่าไปบทเรียนในอดีตของสังคมไทยก็มีให้ศึกษาเรียนรู้อยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลง 2475, การต่อสู้ของเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการในอดีตหรือกระทั่งการต่อสู้อยู่ในป่าของพคท.ฯลฯ…
เมธัส บัวชุม
ตอนแรกตั้งใจจะตั้งชื่อบทความว่า “กวีพันธมิตร ฯ” แต่เห็นชื่อที่โดนใจวัยรุ่นกว่าในเวบบอร์ด “ฟ้าเดียวกัน” ว่า “กวีเกรียน” โดยคุณ Homo erectus (ซึ่งเคยเข้ามาวิพากษ์เชิงด่าผมอยู่เป็นประจำจนเลิกไปเอง) จึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเพื่อให้เข้ากับสมัยนิยม “กวีเกรียน” ในความหมายของผมคือกวีที่ล้าหลัง คิดอ่านไร้เดียงสาเหมือนเด็กที่อ่อนต่อโลก วิเคราะห์สังคมไม่ออกเพราะไม่มีหลักคิดที่มั่นคง อ่านการเมืองไม่เป็นเพราะมัวแต่คิดว่านักการเมืองชั่วร้ายเลวทรามในขณะที่ประชาชนและข้าราชการ และพวกอภิสิทธิชนนั้นมีคุณธรรม จริยธรรม หรืออย่างน้อยก็มีมากกว่านักการเมือง…
เมธัส บัวชุม
-1- พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัวละครการเมืองที่ไม่ยอมลงจากเวที กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ภาษาไทย พ.ศ.พอเพียง" เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 26 กรกฎาคม ที่จัดขึ้นโดย ราชบัณฑิตยสถาน มูลนิธิรัฐบุรุษฯ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า "ภาษาไทยทำให้คนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ สื่อสารที่ดีต่อกัน ทำให้คนเข้าใจกัน ทำให้คนรักกัน โกรธ หรือเกลียดกัน ทำลายกันก็ได้ พวกเราคนไทยจึงต้องตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ต้องไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ไม่ฟุ้งเฟื้อจนเกินไป ต้องรักษาและพัฒนาให้ลูกหลานอย่างพอเหมาะ" (มติชน, 27 ก.ค. 51, หน้า 13) จากคำกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพลเอกเปรม ติณสูลานนท์…
เมธัส บัวชุม
ดา ตอร์ปิโด เขย่ารากฐานความศรัทธาของคนไทยอีกคำรบหนึ่งด้วยการพูดปราศรัยต่อหน้าสาธารณะที่ท้องสนามหลวงเมื่อคืนวันที่ 18 กรกฎาคม อย่างตรงไปตรงมา และไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหม จากข่าวที่ปรากฏออกมาตามสื่อแขนงต่าง ๆ บอกให้รู้ว่าการปราศรัยของเธอนั้นเกี่ยวพันกับสถาบันเบื้องสูง ต้องยอมรับว่า ดา ตอปิโดร์ เป็นคนกล้าและแกร่งอย่างที่หลายคนทำไม่ได้ในแง่ที่ว่ากล้าพูด กล้าทำในสิ่งที่ตนเองคิดโดยไม่ต้องพะวงว่าจะเกิดผลร้ายตามมา ทราบจากที่เป็นข่าว สนธิ ลิ้มทองกุล นำคำพูดของ ดา ตอร์ปิโด มาเล่าซ้ำออกอากาศผ่าน ASTV ไปทั่วประเทศ คำปราศรัยของดา ตอร์ปิโด…