Skip to main content
การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง 

นายสมเชาว์ โกศล นายกสมาคมมัคคุเทศก์ จ.สุราษฎร์ธานี ผู้ได้รับผลกระทบกล่าวว่า
“กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศไม่มั่นใจเดินทางมาภาคใต้ ได้หันไปจองแหล่งท่องเที่ยวภาคเหนือและภาคอีสานแทน ทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างเต็มๆ ซึ่งรัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาโดยด่วน อย่าปล่อยให้เกิดวิกฤตท่องเที่ยวซ้ำสอง หลังจากเกิดการปิดสนามบินสุวรรณภูมิของกลุ่มพันธมิตร เมื่อปี 2551 มาแล้ว"  (มติชนรายวัน, 20 ตุลาคม, 2552)

สหภาพแรงงานใช้มุกแบบพันธมิตรคือ ลาหยุด-ป่วย,ข่มขู่จะปิดหัวลำโพง,ยึดหัวรถจักรขบวนที่กำลังวิ่งอ้างว่าจะนำไปตรวจสภาพความพร้อม

พนักงานฝ่ายบริการ รฟท.คนหนึ่งใน จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า
“ผู้บริหารและฝ่ายการเดินรถสั่งให้จำหน่ายตั๋วโดยสารและปล่อยขบวนรถให้มาที่ จ.สุราษฎร์ธานี ไป-กลับ ได้วันละ 3 ขบวนเท่านั้น เนื่องจากมีขบวนรถเหลืออยู่น้อยแล้ว หากปล่อยให้ขบวนรถเดินทางไปถึงชุมทางทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช และชุมทางหาดใหญ่ อาจถูกกลุ่มสหภาพ รฟท.ยึดหัวรถจักรไว้อ้างตรวจซ่อมบำรุง เพื่อเพิ่มแรงกัดดันให้ฝ่ายบริหารลาออก เพราะหัวรถจักรส่วนใหญ่และขบวนรถท้องถิ่นถูกกักไว้ที่ อ.หาดใหญ่ จนเกือบหมดแล้ว” (มติชนรายวัน, 20 ตุลาคม, 2552)
 
 
 
เป็นที่รู้กัน สาวิทย์ แก้วหวาน ร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มพันธมิตรมาช้านานตั้งแต่ขับไล่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ต่อเนื่องมาจนถึงอดีตนายกฯ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ กระทั่งได้เป็นแกนนำรุ่นที่สองของกลุ่มพันธมิตร         
ดังนั้นสไตล์การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงาน ฯ กับรูปแบบการประท้วงของกลุ่มพันธมิตรจึงมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก เรียกได้ว่าลอกกันมาเลยทีเดียว

ความคล้ายคลึงที่ว่านั้นคือ ทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุข้อเรียกร้องของตนเองโดยไม่คำนึงถึงวิธีการ นำความเดือดร้อนของประชาชนผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งเพื่อเป็นข้อต่อรอง  ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือการยึดสนามบินซึ่งเป็นการนำ
“ความเดือดร้อนนานาชาติ” เข้ามาเป็นเครื่องต่อรองซึ่งก็ได้ผลเพราะรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นไป (ด้วยความร่วมมือของศาล) แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองนั้นกลุ่มพันธมิตรไม่แม้แต่จะคิดรับผิดชอบ

ว่าที่จริง นอกจากการยึดสนามบิน การประท้วงโดยการหยุดงานเพื่อต่อรองกับรัฐบาลในลักษณะเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ปลายเดือนพฤศจิกายน 2551 สมาชิกรัฐวิสาหกิจ 43 แห่งทั่วประเทศนัดหยุดงานพร้อมกันเพื่อกดดันรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ท่ามกลางความพรั่นพรึงของประชาชนที่ต้องใช้บริการรัฐวิสาหกิจ

สาเหตุและข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ฯ  ในการนัดหยุดงานครั้งนี้แม้ว่าจะอ้างเรื่องของความไม่พร้อมของหัวรถจักร แต่ที่จริงแล้วเป็นเรื่องภายในที่ประชาชนไม่เกี่ยวข้องอะไรด้วยเลย
“กรณีที่มีพนักงานนัดหยุดงานพร้อมเพรียงจำนวนมากที่สถานีหาดใหญ่และสถานีปากน้ำโพนั้น ส่วนเหนึ่งเป็นผลจากความไม่พอใจที่มีการโยกย้ายระดับผู้ช่วยพนักงานประจำสถานีทั้ง 2 แห่งออกไปจากพื้นที่ โดย ทั้ง 2 คน เป็นกรรมการและอนุกรรมการของสหภาพ รฟท.ด้วย” (มติชนรายวัน, 20 ตุลาคม, 2552) ทั้งยังเรียกร้องเลยเถิดไปถึงขั้นให้ปลดผู้บริหารรฟท.

พนักงานรัฐวิสาหกิจทำเช่นนี้ได้เพราะมีอำนาจต่อรอง เป็นกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่เอาแต่ได้   ผมมองว่าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่ได้รับสวัสดิการล้นเหลือ เมื่อเทียบกับประชาชนหาเช้ากินค่ำซึ่งไม่มีสวัสดิการอะไรกับเขาเลย

อันที่จริงผมไม่เคยคิดว่าสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจเป็นขบวนการภาคประชาชนเลยด้วยซ้ำ ยิ่งเมื่อดูที่รูปแบบและผลกระทบจากการเคลื่อนไหวซึ่งมุ่งเน้นสร้างความเดือดร้อนสาธารณะแล้วยิ่งไม่อาจนับว่าเป็นขบวนการภาคประชาชนได้เลย   น่าจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่มุ่งกดดันรัฐบาลเพื่อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะตัวมากกว่า เช่นเดียวกับที่ผมไม่นับการเคลื่อนไหวของสำนักสันติอโศกกระทั่งกลุ่มพันธมิตรว่าเป็นขบวนการภาคประชาชนเหมือนกัน เพราะหากดูที่เป้าหมายของการเคลื่อนไหวแล้วเห็นได้ชัดว่าบั่นทอนทำลายพลังประชาชน ทำให้ขบวนการภาคประชาชนอ่อนแอลง

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง 
เมธัส บัวชุม
หลังจากอิดออดเพื่อรักษาท่าทีแต่พองามแล้ว “ผู้ร้าย” สองคนก็เปิดตัวเปิดใจกระโจนเข้าสู่วง ”การเมือง” เต็มตัว “ผู้ร้าย” คนแรก
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนในอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี นานมาแล้วที่ผมไม่ได้ออกไปไหน เพื่อนพาไปเที่ยวป่าและแวะที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่แลดูลี้ลับ วังเวงและยากไร้
เมธัส บัวชุม
สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่กับความโง่ มีความโง่เป็นเจ้าเรือน นับวันความโง่ยิ่งแผ่ขยายแพร่กระจายไปราวเชื้อโรค หลายคนโง่โดยสุจริต  คนเหล่านี้น่าเห็นใจ ถูกครอบงำด้วยความไม่รู้  อคติ ความเกลียดชังทำให้ประสิทธิภาพในการคิดเสื่อมถอย สติปัญญาถูกบิดเบือนไป คนประเภทนี้โง่เพราะถูกอคติทำลายจนมืดบอด
เมธัส บัวชุม
  ในระหว่างที่รัฐบาลกำลังรวนเรเพราะความไร้ฝีมือและความเน่าจากภายใน แทนที่จะทุ่มสมองและแรงงานเพื่อกระหนาบกระหน่ำรัฐบาลโจร คนเสื้อแดงเฉดต่าง ๆ ก็กลับใช้โอกาสนี้วิพากษ์วิจารณ์กันรุนแรงกระทั่งแตกออกเป็นสาย
เมธัส บัวชุม
ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์กำลังเดินทางไปในอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก และเตรียมหาที่อยู่บนดาวดวงอื่น ทั้งวิตกกังวลกับโรคระบาดชนิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้มนุษย์ต้องสูญพันธุ์ ประเทศไทยยังคงสนุกสนานเหมือนเด็กเล่นขายของกับการกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกระทั่งล้มสถาบันสนุกครับ สนุก
เมธัส บัวชุม
ตื่นเช้าขึ้นมา หากไม่มีอะไรเร่งด่วนต้องทำ ผมจะนั่งเขียนโน่น เขียนนี่พร้อม ๆ กับที่เข้าไปในบอร์ดประชาไท อ่านกระทู้ต่าง ๆ อยู่เงียบ ๆ มานานจนเกือบจะกลายเป็นกิจวัตร (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์) แต่หลังเช้าไปแล้ว ผมก็ทำอย่างอื่น ไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่อาจติดตามความเคลื่อนไหวในบอร์ดประชาไทได้อีก ดังนั้นจึงได้อ่านเพียงบางกระทู้เท่านั้นและล้วนแล้วแต่เป็นการอ่านผ่านๆ ทั้งสิ้น
เมธัส บัวชุม
พักหลัง ผมเข้าไปเยื่ยมชมเว็บไซต์ "ASTVผู้จัดการ" บ่อยครั้ง เพื่ออยากรู้ว่าชาวสีเหลืองหรือกลุ่มพันธมิตรคิดอ่านกันอย่างไร มีนวัตกรรมอะไรบ้างในการทำลายฝ่ายตรงข้าม ศึกษากลวิธีในการเต้าข่าว การใส่ไคล้ การใช้ภาษาของบรรดาคอลัมนิสต์ กระทั่งแวะเข้าไปอ่าน "เรื่องนินทาราวตาเห็น" ของ "ซ้อเจ็ด" ผู้โด่งดัง
เมธัส บัวชุม
หลายวันก่อน ได้อ่านบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “ทางออกจากทักษิณ” (มติชนรายวัน, 20 ก.ค. 52.) บทความนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและแดง  เนื้อหาของบทความ นอกจากปัญญาชนรายนี้จะออกตัวให้กลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองโดยยกระดับความคิด และการกระทำของคนกลุ่มนี้ว่าเกิดจากทัศนะและความเข้าใจในประชาธิปไตยที่แตกต่างจากกลุ่มเสื้อแดงซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน  
เมธัส บัวชุม
นานมาแล้ว ที่ผมไม่เคยเจ็บป่วยขนาดต้องไปโรงพยาบาลหรือหาหมอ อย่างมากก็แค่ซื้อยาแก้เจ็บคอมากิน แต่ครั้งนี้เจ็บคอหลายวัน บวกกับอาการมึนหัว เบื่ออาหาร เพลีย และปวดเมื่อยเนื้อตัวอย่างหนักขนาดทาถูสบู่ตามตัวยังรู้สึกปวดไปถึงกระดูก เวลานอนต้องนอนตะแคงอย่างเดียวจะนอนหงายหรือคว่ำไม่ได้เพราะปวดเมื่อย(ขนาดนั้น) ผมจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลแม้จะยังสงสัยอยู่ว่าคิดถูกหรือผิดกันแน่ น่าตกใจพอสมควรที่คนป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เต็มล้นโรงพยาบาล (แต่แทบไม่มีคนที่อยู่วัยเดียวกับผม) ผมคิดในใจว่าถ้าตนเองเป็นเพียงโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ก็คงจะมารับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลนี่แหละ…
เมธัส บัวชุม
การล่า 1 ล้านรายชื่อของสามเกลอแห่ง "ความจริงวันนี้" เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นประเด็นให้คนเสื้อแดงถกเถียงแก้เซ็งไปพลาง ๆ โหมโรงการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป มีความคิดเห็นค่อนข้างหลากหลายในหมู่คนเสื้อแดงด้วยกัน ทั้งนี้เพราะคนเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายในตัวเองอยู่แล้ว คือมีตั้งแต่ "แดงอนุรักษ์" ไปจนถึง "แดงถอนรากถอนโคน" ซึ่งลักษณะที่ว่านี้ไม่มีในหมู่คนเสื้อเหลือง
เมธัส บัวชุม
เป็นความคิดที่ดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความพยายามจะ “รื้อฟื้น” วันชาติขึ้น เพราะมันมีความหมายและนัยสำคัญต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยอย่างมาก วันชาติเป็นผลพวงของการยึดอำนาจของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสียงและความคิดเห็นของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน