Skip to main content
การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง 

นายสมเชาว์ โกศล นายกสมาคมมัคคุเทศก์ จ.สุราษฎร์ธานี ผู้ได้รับผลกระทบกล่าวว่า
“กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศไม่มั่นใจเดินทางมาภาคใต้ ได้หันไปจองแหล่งท่องเที่ยวภาคเหนือและภาคอีสานแทน ทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างเต็มๆ ซึ่งรัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาโดยด่วน อย่าปล่อยให้เกิดวิกฤตท่องเที่ยวซ้ำสอง หลังจากเกิดการปิดสนามบินสุวรรณภูมิของกลุ่มพันธมิตร เมื่อปี 2551 มาแล้ว"  (มติชนรายวัน, 20 ตุลาคม, 2552)

สหภาพแรงงานใช้มุกแบบพันธมิตรคือ ลาหยุด-ป่วย,ข่มขู่จะปิดหัวลำโพง,ยึดหัวรถจักรขบวนที่กำลังวิ่งอ้างว่าจะนำไปตรวจสภาพความพร้อม

พนักงานฝ่ายบริการ รฟท.คนหนึ่งใน จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า
“ผู้บริหารและฝ่ายการเดินรถสั่งให้จำหน่ายตั๋วโดยสารและปล่อยขบวนรถให้มาที่ จ.สุราษฎร์ธานี ไป-กลับ ได้วันละ 3 ขบวนเท่านั้น เนื่องจากมีขบวนรถเหลืออยู่น้อยแล้ว หากปล่อยให้ขบวนรถเดินทางไปถึงชุมทางทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช และชุมทางหาดใหญ่ อาจถูกกลุ่มสหภาพ รฟท.ยึดหัวรถจักรไว้อ้างตรวจซ่อมบำรุง เพื่อเพิ่มแรงกัดดันให้ฝ่ายบริหารลาออก เพราะหัวรถจักรส่วนใหญ่และขบวนรถท้องถิ่นถูกกักไว้ที่ อ.หาดใหญ่ จนเกือบหมดแล้ว” (มติชนรายวัน, 20 ตุลาคม, 2552)
 
 
 
เป็นที่รู้กัน สาวิทย์ แก้วหวาน ร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มพันธมิตรมาช้านานตั้งแต่ขับไล่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ต่อเนื่องมาจนถึงอดีตนายกฯ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ กระทั่งได้เป็นแกนนำรุ่นที่สองของกลุ่มพันธมิตร         
ดังนั้นสไตล์การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงาน ฯ กับรูปแบบการประท้วงของกลุ่มพันธมิตรจึงมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก เรียกได้ว่าลอกกันมาเลยทีเดียว

ความคล้ายคลึงที่ว่านั้นคือ ทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุข้อเรียกร้องของตนเองโดยไม่คำนึงถึงวิธีการ นำความเดือดร้อนของประชาชนผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งเพื่อเป็นข้อต่อรอง  ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือการยึดสนามบินซึ่งเป็นการนำ
“ความเดือดร้อนนานาชาติ” เข้ามาเป็นเครื่องต่อรองซึ่งก็ได้ผลเพราะรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นไป (ด้วยความร่วมมือของศาล) แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองนั้นกลุ่มพันธมิตรไม่แม้แต่จะคิดรับผิดชอบ

ว่าที่จริง นอกจากการยึดสนามบิน การประท้วงโดยการหยุดงานเพื่อต่อรองกับรัฐบาลในลักษณะเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ปลายเดือนพฤศจิกายน 2551 สมาชิกรัฐวิสาหกิจ 43 แห่งทั่วประเทศนัดหยุดงานพร้อมกันเพื่อกดดันรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ท่ามกลางความพรั่นพรึงของประชาชนที่ต้องใช้บริการรัฐวิสาหกิจ

สาเหตุและข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ฯ  ในการนัดหยุดงานครั้งนี้แม้ว่าจะอ้างเรื่องของความไม่พร้อมของหัวรถจักร แต่ที่จริงแล้วเป็นเรื่องภายในที่ประชาชนไม่เกี่ยวข้องอะไรด้วยเลย
“กรณีที่มีพนักงานนัดหยุดงานพร้อมเพรียงจำนวนมากที่สถานีหาดใหญ่และสถานีปากน้ำโพนั้น ส่วนเหนึ่งเป็นผลจากความไม่พอใจที่มีการโยกย้ายระดับผู้ช่วยพนักงานประจำสถานีทั้ง 2 แห่งออกไปจากพื้นที่ โดย ทั้ง 2 คน เป็นกรรมการและอนุกรรมการของสหภาพ รฟท.ด้วย” (มติชนรายวัน, 20 ตุลาคม, 2552) ทั้งยังเรียกร้องเลยเถิดไปถึงขั้นให้ปลดผู้บริหารรฟท.

พนักงานรัฐวิสาหกิจทำเช่นนี้ได้เพราะมีอำนาจต่อรอง เป็นกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่เอาแต่ได้   ผมมองว่าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่ได้รับสวัสดิการล้นเหลือ เมื่อเทียบกับประชาชนหาเช้ากินค่ำซึ่งไม่มีสวัสดิการอะไรกับเขาเลย

อันที่จริงผมไม่เคยคิดว่าสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจเป็นขบวนการภาคประชาชนเลยด้วยซ้ำ ยิ่งเมื่อดูที่รูปแบบและผลกระทบจากการเคลื่อนไหวซึ่งมุ่งเน้นสร้างความเดือดร้อนสาธารณะแล้วยิ่งไม่อาจนับว่าเป็นขบวนการภาคประชาชนได้เลย   น่าจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่มุ่งกดดันรัฐบาลเพื่อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะตัวมากกว่า เช่นเดียวกับที่ผมไม่นับการเคลื่อนไหวของสำนักสันติอโศกกระทั่งกลุ่มพันธมิตรว่าเป็นขบวนการภาคประชาชนเหมือนกัน เพราะหากดูที่เป้าหมายของการเคลื่อนไหวแล้วเห็นได้ชัดว่าบั่นทอนทำลายพลังประชาชน ทำให้ขบวนการภาคประชาชนอ่อนแอลง

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…