Skip to main content

อาจารย์สมศักดิ์  เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นกลางบางกลุ่มที่เป็นพวก “สองไม่เอา” คือไม่เอาทั้ง “ทักษิณ” และ “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นประเด็นถกเถียงน่าสนใจทางโลกไซเบอร์

นักวิชาการบางคนพยายามที่จะไปให้พ้นจาก “สองไม่เอา” โดยพูดถึง “ทางเลือกที่สาม” แต่ที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” นั้นคืออะไร

การพยายามค้นหาหรือสร้าง “ทางเลือกที่สาม” มีข้อดีในแง่ที่ว่าอาจช่วยเปิดจินตนาการทางการเมืองให้กว้างขึ้นแต่ก็นั่นแหละใครจะบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม”  เป็นอย่างไร  “ทางเลือกที่สาม” มีจริงหรือ ?

เมื่อ “ทางเลือกที่สาม” ไม่มีอยู่จริง ก็จำเป็นต้อง “เลือกเอาข้างใดข้างหนึ่ง” และการบังคับให้ต้อง “เลือกเอาข้างใดข้างหนึ่ง” ได้หวนกลับมาสร้างปัญหาอีกครั้งเมื่อต้องหย่อนบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไปหลังคณะรัฐประหาร “คาย” อำนาจที่สวาปามเข้าไปออกมา

ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม “ทางเลือก” ในครั้งนี้มีเพียงสองทางเหมือนเดิมนั่นคือไม่พรรคพลังประชาชนก็ประชาธิปัตย์ ถึงแม้ว่าจะไม่ชอบทั้งสองทางแต่ก็ต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่ง เป็นอื่นนอกเหนือไปจากนี้ไม่ได้

 

การกาช่องไม่ลงคะแนนเสียงให้ใครหรือประสงค์ที่จะไม่เลือกใครนั้นไม่อาจทำให้ทางเลือกสองทางนี้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เพราะไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่งเท่านั้นที่จะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล  การไม่ลงคะแนนให้ใครจึงไม่ใช่ทางเลือกที่สาม

ปัญญาชนหรือคนชั้นกลางบางส่วนอาจรู้สึกพึงพอใจในตนเองที่ “เลือกที่จะไม่เลือก” หรือไม่ประสงค์จะลงคะแนนเสียงให้ใคร แต่ทางเลือกหรือวิธีการกระทำเช่นนี้คือการแสร้งทำเป็นมืดบอดหรือหลอกตัวเองว่ามีอิสระ เสรีภาพมากพอที่จะเลือกตามใจตนเองเพราะผลลัพธ์ยังคงออกมาเหมือนเดิมนั่นคือมีทางแค่สองทางเท่านั้น

การมีทางเลือกเพียงสองทางเป็นกติกาของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่เข้าใจได้ง่าย ๆ นักวิชาการและชนชั้นกลางไม่ต้องกระแดะ หรือดัดจริตว่าจะมี “ทางเลือกที่สาม” ให้สำหรับคนที่ไม่พอใจตัวเลือกทั้งสองเพราะที่สุดแล้วดังที่กล่าวตอนต้นคือนักวิชาการผู้กล่าวถึง “ทางเลือกที่สาม” ก็ไม่อาจบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” คืออะไร

ดังนั้น ระหว่างทางเลือกเพียงสองทางเท่านั้นที่มีอยู่ ควรจะเลือกทางใดดี ?

ก่อนหน้านี้ทางเลือกคือไม่ “ทักษิณ” ก็ “รัฐประหาร” ข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น ไม่มีตรงกลางให้ยืน

ในเวลาต่อมาหรือในปัจจุบันทางเลือกเปลี่ยนจาก “ทักษิณ” เป็น “พรรคพลังประชาชน” ส่วน “รัฐประหาร” เปลี่ยนเป็น “พรรคประชาธิปัตย์”

“ทักษิณ” หันมาสนับสนุนพรรคพลังประชาชนภายใต้การนำของคุณสมัคร สุนทรเวช ในขณะที่คมช.ซึ่งล้มเหลวในทุก ๆ ทาง รวมทั้งองค์กรพันธมิตรและพวก “นอกระบบ” ทั้งหลายได้หันมาสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์

พรรคประชาธิปัตย์อาจจะไม่ได้ “กินฉี่ทหาร” แต่พฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็น “พวกเดียว” กับ “ทหาร” “ทหาร” ที่ทำลายประเทศ ทำลายการเมือง ทำลายเจตนารมณ์ในการ “เลือก” ของประชาชนเสียงข้างมาก

นอกจาก “ทหาร” แล้วแนวร่วมทางฟากของพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังมี “องค์กรเถื่อน” ที่อยู่ในที่มืดแล้วใช้ “มือสกปรก” สอดเข้ามา

ในขณะที่พรรคพลังประชาชนถูกกลั่นแกล้ง ใส่ความ อย่างหนักไม่ว่าจะเป็นจาก คมช.เรื่องเอกสารลับ หรือการสอดมือสกปรกเข้าแทรกแซงกกต.เพื่อให้โทษกับพรรคพลังประชาชนและให้คุณกับพรรคประชาธิปัตย์

เหล่านี้ล้วนทำให้พรรคพลังประชาชนเป็นตัวเลือกที่น่าเลือกกว่าพรรคประชาธิปัตย์มาก เพราะพรรคพลังประชาชนต่อสู้ตามกติกาในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์นั้นถนัดกับการ “เล่นนอกเกม” ทำลาย ”หลักการ” สร้าง “หลักกู” เพื่อหวังผลชนะสถานเดียว

อย่างไรก็ตาม ทางเลือกระหว่างพรรคพลังประชาชนกับพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังดูดีกว่าทางเลือกระหว่าง “ทักษิณ” กับ “รัฐประหาร” เพราะ “รัฐประหาร” นั้น “เลวร้าย” กว่า “ทักษิณ” อย่างเทียบกันไม่ติดแต่ชนชั้นกลาง ชนชั้นกลวงก็ยังเกลียด “รัฐประหาร” น้อยกว่า

นี่เป็นเรื่องที่น่าสมเพชของชนชั้นกลาง ส่วนชนชั้นกลางที่เป็นปัญญาชนที่ “ขายตัว” ให้กับการ ”รัฐประหาร” นั้นนับว่าน่าเห็นใจเพราะกระสันอำนาจและยศศักดิ์เสียจนหน้ามืดตามัว ลืมสิ่งที่ตนเองได้เคยพูด เคยเขียนไว้  

คนชั้นกลางบางพวกอาจไม่เลือกพรรคพลังประชาชนด้วยหมกมุ่นอยู่กับความกลัว “ทักษิณ” ขึ้นสมอง แต่อย่างไรเสีย พรรคพลังประชาชนเป็นทางเลือกที่ “เลวน้อยกว่า” เมื่อเทียบกันกับพรรคประชาธิปัตย์ และคน “ส่วนใหญ่” ก็ได้เลือกให้เห็นชัดเจนแล้วในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

ปัญหาของคนชั้นกลางไม่ใช่อยู่ที่การ “เลือก” แต่อยู่ที่การ “ไม่เลือก” ด้วยยึดติดกับภาพลวงตาว่ามี “ทางเลือกที่สาม”  บทความนี้ขอเสนอว่าเลิกยึดติดเรื่อง “ทางเลือกที่สาม” แล้วตัดสินใจเลือกทางที่ “เลวน้อย” กว่า ซึ่งคำตอบย่อมไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์หากแต่เป็น “พลังประชาชน”

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ท่ามกลางเสียงตะเบ็งเซ็งแซ่จากนักวิชาการสายพันธมิตร, สื่อสายพันธมิตร, 40 สว. ลากตั้งสายพันธมิตร, พรรคการเมืองสายพันธมิตร, นักสิทธิมนุษยชนสายพันธมิตร, คนกลางสายพันธมิตร, คนดีสายพันธมิตร, ตุลาการสายพันธมิตร และอะไรต่อมิอะไรสายพันธมิตรนั้น เราพอจะได้ยินได้อ่านอะไรที่แตกต่างสร้างสรรค์ เป็นถ้อยคำรื่นหูที่ได้ยินแล้วสบายใจอยู่บ้างแม้จะเป็นส่วนน้อยก็ตาม เสียงส่วนน้อยเหล่านี้ควรค่าแก่การจดจำตอกย้ำหรือเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง เป็นเสียงแห่งความกล้าหาญที่ช่วยดึงรั้งไม่ให้สังคมเตลิดไปกับความหลงผิด เป็นเสียงแห่งเหตุผลและความถูกต้อง เชื่อว่าหลายคนคงผ่านหู ผ่านตามาแล้ว แต่ขอนำเสนอซ้ำอีกครั้งหนึ่ง 1.…
เมธัส บัวชุม
พวกกบโง่....เห็นนกกระยาง....เป็นนางฟ้า...สมน้ำหน้า....หลงบูชา....ดุจนางแถน...นางประแดะ.....แสร้งเมตตา...อย่างแกนๆฝูงกบแสน....ดีใจ....ได้นายดี......๚ะ๛                                                ๏..ตรังนิสิงเห...๚ะ๛( http://www.prachatai.com/webboard/wbtopic.php?id=733477 )========================================= ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มพันธมิตรฯ…
เมธัส บัวชุม
ตายเป็นตาย เจ๊งเป็นเจ๊ง ละเลงเลือดแผ่นดินเดือด ถ่อยเถื่อน สะเทือนไหมเหล่าแกนนำ อำมหิต คงสะใจประเทศไทย ใกล้พังยับ นับวันรอพันธมิตร ป่วนเมือง ระส่ำสุดเตรียมอาวุธ รบกับใคร กระไรหนอกองทัพธรรม กำมีดพร้า ฆ่าให้พอทำเพื่อ "พ่อ" สนธิลิ้ม และจำลอง ละอองดาว ( http://www.prachatai.com/05web/th/home/comment.php?mod=mod_ptcms&ContentID=13977&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai ) พอฝุ่นควันจากเหตุการณ์สลายหายไป ภาพปรากฏก็เริ่มชัดเจนขึ้น ข้อเท็จจริงค่อย ๆ แสดงตัวออกมาทีละส่วน ๆ ก่อนจะกลายเป็นภาพรวมใหญ่ ทำให้การใส่ความและการโฆษณาชวนเชื่อของแกนนำพันธมิตรฯ…
เมธัส บัวชุม
นายแพทย์ประเวศ วะสี ผู้ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปภายใต้โลโก้ “ราษฎรอาวุโส” เป็น “ผู้ใหญ่” ที่ใครต่อใครรู้จักกันดี เพราะคำพูดคำอ่านหรือแนวคิดของท่าน ตกเป็นข่าวพาดหัวอยู่เสมอทางหน้าหนังสือพิมพ์และได้รับการขานรับจากกลุ่มคนน้อยใหญ่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว นักกิจกรรม แม้กระทั่งข้าราชการ บทบาทของนายแพทย์ประเวศ วะสี ในหลาย ๆ วาระและโอกาส มีความสำคัญและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไทยอย่างสูง จนคว้ารางวัลต่างๆ มามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น บุคคลดีเด่นของชาติ รางวัลแมกไซไซ รางวัลจากยูเนสโก เหรียญเชิดชูเกียรติจาก WHO เป็นที่ยอมรับโดยไม่มีข้อกังขาว่า…
เมธัส บัวชุม
นอกจากจะรู้จักใช้ “สี” ให้เป็นประโยชน์แล้ว ลัทธิพันธมิตรยังมีความสามารถพิเศษในการ ”เปลี่ยนสี” ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือ “เลือกสี” ให้เหมาะกับกาละเทศะ เพราะจะใช้ “สีเดียว” ทุกเวลาและสถานที่คงไม่ได้ การรู้จัก “เปลี่ยนสี” นี้เป็นการปรับตัวเช่นเดียวกับที่เราได้เห็นในสัตว์หลายชนิดที่สามารถสร้างสีให้เกิดความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมหรือสื่อสารกับสัตว์ตัวอื่นๆ ไม่ว่าสัตว์นั้นจะเป็นผู้ล่าหรือผู้ถูกล่า หรือจะเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีหรือไม่มีกระดูกสันหลังต่างก็มีความสามารถในการเปลี่ยนสีด้วยกันทั้งนั้น
เมธัส บัวชุม
ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน ปี 49 กระทั่งปัจจุบัน  อันธพาล-ลัทธิพันธมิตร ได้ผลิต ตอกย้ำนำเสนอ วาทกรรมทางการเมืองต่าง ๆ จำนวนมาก ผ่านเครือข่ายการสื่อสารที่กว้างขวางและร่วมด้วยช่วยกันกับองค์กรอันหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา บุคคลที่มีชื่อเสียง สว. ลากตั้ง ดารา ฯลฯ  ทั้งที่เป็นวาทกรรมเพื่อมุ่งทำลายฝ่ายตรงข้ามและใช้ในการยกยอปอปั้นลัทธิตนเอง วาทกรรมบางอย่าง ลัทธิพันธมิตรประดิษฐ์ขึ้นโดยตรงสำหรับการกรรโชกข่มขู่รัฐบาลและสังคม แต่บางวาทกรรมไม่ได้คิดขึ้นเองหากแต่นำมาจากประธานองคมนตรี นักวิชาการ ราษฎรอาวุโส สื่อมวลชน และจากบรรดาบุคคลที่เทิดทูนระบอบอมาตยาธิปไตยไว้เหนือหัว…
เมธัส บัวชุม
กลุ่มอันธพาลการเมือง หรือแก๊งมาเฟียเป็นปัญหาเสมอมาสำหรับการสถาปนากติกาการปกครองและระเบียบการเมือง ทั้งนี้เพราะเป็นกลุ่มที่กฎหมายและการจัดระเบียบทางสังคมไม่สามารถควบคุมจัดการได้ คุกคามต่อสวัสดิภาพความเป็นอยู่ปกติของคนโดยทั่วไปเพราะกลุ่มอันธพาลการเมือง หรือแก๊งมาเฟียดำรงชีพอยู่ได้ก็ด้วยการขู่เข็ญกรรโชกกระทั่งใช้กำลัง หรือใช้กฎหมู่เพื่อให้มาในสิ่งที่ตนเองต้องการ นอกจากจะไม่ผลิตอะไรออกมาแล้ว กลุ่มอันธพาลการเมืองยังคอยรีดไถเงินจากน้ำพักน้ำแรงของคนอื่น ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับการข่มขู่รีดไถหรือล็อบบี้อย่างชาญฉลาดของกลุ่มอันธพาลการเมืองที่เรียกตนเองว่าพันธมิตรอย่างสมบูรณ์แบบที่กลุ่มพันธมิตร…
เมธัส บัวชุม
ไม่ต้องเป็นผู้ฉลาดหลังเหตุการณ์เราก็จินตนาการได้ไม่ยากว่าการชุมนุมก่อน 19 กันยายน 2549 ของกลุ่มพันธมิตร ฯ นั้นเป็นการออกบัตรเชิญให้ทหารทำรัฐประหารแม้ว่าบางคนอาจคิดว่าเป็นไปไม่ได้ การชุมนุมของพันธมิตร ฯ หลังพรรคพลังประชาชนได้เป็นรัฐบาลก็เช่นเดียวกัน ไป ๆ มา ๆ ก็เหมือนเดิมคือการออกบัตรเชิญให้ทหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกคำรบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพลังประชาชนได้บทเรียนมาแล้วก่อนหน้านี้ และได้รู้ว่าความผิดพลาดในรายละเอียดเพียงนิดเดียวอาจเป็นเงื่อนไขนำไปสู่การยึดอำนาจรอบสองได้ รัฐบาลจึงระมัดระวังอย่างยิ่งในการจัดการกับม็อบพันธมิตร ฯ แต่โอกาสที่จะเกิดการรัฐประหารขึ้นก็ใช่ว่าจะไม่มี…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้วพยายามจะให้ความหมายของ “กวีเกรียน” ว่ามีลักษณะอย่างไร แล้วเมื่อลองมาวิเคราะห์ พิจารณา สามารถสรุปรวบยอดได้ว่า กวีเกรียน นั้นเดินทางล้าหลัง อยู่ถึง 3 ก้าวด้วยกัน ก้าวที่ 1 คือ ขาดการทบทวนอดีต ไม่สามารถนำอดีตมาเป็นบทเรียนได้ ไม่สามารถสกัดเก็บซับเอาข้อดี ข้อเสียในอดีตมาเป็นฐานคิดในการวิเคราะห์สังคมการเมือง จะว่าไปบทเรียนในอดีตของสังคมไทยก็มีให้ศึกษาเรียนรู้อยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลง 2475, การต่อสู้ของเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการในอดีตหรือกระทั่งการต่อสู้อยู่ในป่าของพคท.ฯลฯ…
เมธัส บัวชุม
ตอนแรกตั้งใจจะตั้งชื่อบทความว่า “กวีพันธมิตร ฯ” แต่เห็นชื่อที่โดนใจวัยรุ่นกว่าในเวบบอร์ด “ฟ้าเดียวกัน” ว่า “กวีเกรียน” โดยคุณ Homo erectus (ซึ่งเคยเข้ามาวิพากษ์เชิงด่าผมอยู่เป็นประจำจนเลิกไปเอง) จึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเพื่อให้เข้ากับสมัยนิยม “กวีเกรียน” ในความหมายของผมคือกวีที่ล้าหลัง คิดอ่านไร้เดียงสาเหมือนเด็กที่อ่อนต่อโลก วิเคราะห์สังคมไม่ออกเพราะไม่มีหลักคิดที่มั่นคง อ่านการเมืองไม่เป็นเพราะมัวแต่คิดว่านักการเมืองชั่วร้ายเลวทรามในขณะที่ประชาชนและข้าราชการ และพวกอภิสิทธิชนนั้นมีคุณธรรม จริยธรรม หรืออย่างน้อยก็มีมากกว่านักการเมือง…
เมธัส บัวชุม
-1- พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัวละครการเมืองที่ไม่ยอมลงจากเวที กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ภาษาไทย พ.ศ.พอเพียง" เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 26 กรกฎาคม ที่จัดขึ้นโดย ราชบัณฑิตยสถาน มูลนิธิรัฐบุรุษฯ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า "ภาษาไทยทำให้คนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ สื่อสารที่ดีต่อกัน ทำให้คนเข้าใจกัน ทำให้คนรักกัน โกรธ หรือเกลียดกัน ทำลายกันก็ได้ พวกเราคนไทยจึงต้องตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ต้องไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ไม่ฟุ้งเฟื้อจนเกินไป ต้องรักษาและพัฒนาให้ลูกหลานอย่างพอเหมาะ" (มติชน, 27 ก.ค. 51, หน้า 13) จากคำกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพลเอกเปรม ติณสูลานนท์…
เมธัส บัวชุม
ดา ตอร์ปิโด เขย่ารากฐานความศรัทธาของคนไทยอีกคำรบหนึ่งด้วยการพูดปราศรัยต่อหน้าสาธารณะที่ท้องสนามหลวงเมื่อคืนวันที่ 18 กรกฎาคม อย่างตรงไปตรงมา และไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหม จากข่าวที่ปรากฏออกมาตามสื่อแขนงต่าง ๆ บอกให้รู้ว่าการปราศรัยของเธอนั้นเกี่ยวพันกับสถาบันเบื้องสูง ต้องยอมรับว่า ดา ตอปิโดร์ เป็นคนกล้าและแกร่งอย่างที่หลายคนทำไม่ได้ในแง่ที่ว่ากล้าพูด กล้าทำในสิ่งที่ตนเองคิดโดยไม่ต้องพะวงว่าจะเกิดผลร้ายตามมา ทราบจากที่เป็นข่าว สนธิ ลิ้มทองกุล นำคำพูดของ ดา ตอร์ปิโด มาเล่าซ้ำออกอากาศผ่าน ASTV ไปทั่วประเทศ คำปราศรัยของดา ตอร์ปิโด…