Skip to main content

อาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อนโทรมาชวนผมไปฟังการสัมมนาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จัดขึ้นเนื่องในงานธรรมศาสตร์วิชาการ เรื่อง “ก้าวต่อไปของการเมืองภาคประชาชนไทยหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2550” เพื่อนบอกว่ามีคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณจอน อึ๊งภากรณ์ คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นพ.เหวง โตจิราการ คุณรสนา โตสิตระกูล

ผมได้ยินรายชื่อแล้วรู้สึกสนใจโดยเฉพาะคุณจาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองคุณภาพที่หาได้ยากยิ่งในแวดวงการเมืองไทยปัจจุบัน แต่สุดท้ายแล้ว ผมก็ผิดหวัง คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ไม่มาร่วมวงสัมมนาแต่อย่างใด

คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นำเสนอการวิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการ อย่างไรก็ตาม ฟังแล้วรู้สึกเหมือนเป็นการ “หลอกด่า” ขบวนการภาคประชาชน เช่น ความคิดเรื่องการรับเหมาทำแทน การที่บรรดา “เอ็นจีโอ” สถาปนาเป็น “ตัวแทน” ของภาคประชาชนอย่างอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครเลือกตั้ง การอ้างอิงชนชั้นล่างแต่ประเด็นที่ใช้ในการเคลื่อนไหวกลับเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของคนชั้นกลาง การปิดกั้นผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มไว้ในนามของผลประโยชน์แห่งชาติ

คุณหมอเหวง โตจิราการ นับวันยิ่งเข้มข้นหนักหน่วง นับวันยิ่งเป็น “ซ้าย” ขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผมคิดว่าดี ผมอยากให้มีคนแบบคุณหมอเหวง โตจิราการ เยอะ ๆ เพราะจะได้ช่วยเพิ่มพลังแห่งการวิพากษ์วิจารณ์แบบถอนรากถอนโคนที่กำลังขาดแคลน

ตอนหนึ่งคุณหมอเหวง โตจิราการ พูดถึงทีวีสาธารณะว่ามันไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายใต้รัฐบาลรัฐประหารที่แทรกแซงสื่อมาโดยตลอด ทั้งคนที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้ามาดูแลจัดการก็เป็น “คนของรัฐประหาร” ที่ไม่ได้รับการยอมรับซึ่งไม่มีทางจะทำให้คลื่นโทรทัศน์กลายเป็นผลประโยชน์สาธารณะได้

ผมเห็นด้วยว่า ทีวีสาธารณะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ มันเป็นโกหกคำโตของนักวิชาการที่นำเสนอเรื่องนี้ขึ้นมาโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ และไม่คำนึงถึงพร้อม และความเป็นไปได้ ใคร ๆ ก็รู้ว่าทีวีสาธารณะเป็นเกมการต่อสู้ทางการเมืองอีกเกมหนึ่ง ที่มีนักวิชาการคอยกำกับให้อยู่ในวาทกรรมว่าด้วยผลประโยชน์สาธารณะ

คุณรสนา โตสิตระกูล เอ็นจีโอชนชั้นกลางซึ่งรับเหมาเคลื่อนไหวทั่วราชอาณาจักรและรับเหมาเคลื่อนไหวประเด็นที่กำลังอยู่ในกระแสนั้นเสนอความเห็นตอบโต้การ “หลอกด่า” ของคุณศิโรตน์ คล้ามไพบูลย์ ไปแบบข้างๆ คูๆ

เอ็นจีโออย่างคุณรสนา โตสิตระกูล แสดงให้สาธารณชนเห็นแล้วว่า เธอนั้นไม่รังเกียจรัฐประหารแต่ประการใด โชคดีหรือโชคร้ายของคุณรสนา ก็ไม่รู้ที่ชื่อของเธอถูกตัดออกจากการเป็นสนช.ในวินาทีสุดท้าย

พอคุณรสนา โตสิตระกูล เริ่มพูด ผมก็เดินจากห้องสัมมนานั่งดื่มกาแฟกับเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนาน

ผมยอมรับว่าวิกฤติการเมืองสมัยทักษิณ ทำให้มองภาคประชาชนในแง่ลบอย่างมาก นอกจากคำจำกัดความของ “การเมืองภาคประชาชน” ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้แล้ว เห็นได้ชัดว่าภาคประชาชน ที่เคลื่อนไหวต่อสู้ในประเด็นทางการเมืองระดับชาติเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการสร้างประชาธิปไตย

กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เป็นประจักษ์พยานแห่งความล้มเหลวระดับชาติของขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน (หากนับกลุ่มนี้เป็นภาคประชาชนด้วย) เพราะมันเป็นการเคลื่อนไหวที่สอดรับกับการรัฐประหาร เป็นการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดรัฐประหารอย่างปฏิเสธไม่ได้ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

อันที่จริงภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวในประเด็นย่อย ๆ ที่กระทบต่อวิถีชีวิตเฉพาะกลุ่มนั้นอาจนับได้ว่า เป็นกลุ่มก้าวหน้า เช่น กลุ่มที่เคลื่อนไหวในเรื่องเอดส์ สิทธิสตรี เด็ก รักร่วมเพศ สิทธิของชนกลุ่มน้อย การปกป้องคุ้มครองผู้บริโภค แต่พอขยับมาเป็นการเมืองระดับชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของคนหลายกลุ่ม หลายชนชั้นแล้ว ขบวนการภาคประชาชนกลับมีลักษณะล้าหลังอย่างมาก

การเคลื่อนไหวของคุณจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ผู้ร่วมเสวนาด้วยนั้น เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สะท้อนความล้าหลังของสิ่งที่เรียกว่า “ภาคประชาชน”

ในเวทีสัมมนาวันนั้น คุณจอน เปิดฉากด้วยการบอกว่ารัฐบาลทักษิณ เป็นเผด็จการ การใช้คำระคายหูโดยไม่ระวังของคุณจอนทำให้หญิงคนหนึ่งลุกขึ้นมาโต้เถียงด้วยความเหลืออด

คุณจอนคงจะตาบอดข้างเดียว จนมองไม่เห็นว่าการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนเพื่อขับไล่รัฐบาลทักษิณ ตลอดจนการเคลื่อนไหวที่มาจากผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเผด็จการเสียยิ่งกว่ารัฐบาลทักษิณหลายเท่า คุณจอนคงจะตาบอดข้างเดียวจนมองไม่เห็นว่าการทำรัฐประหารนั้นเป็นการใช้อำนาจเผด็จการอย่างซึ่งหน้า การเอ่ยปากว่าทักษิณเป็นเผด็จการโดยขาดความรอบคอบนั้นรังแต่จะทำให้คุณจอนกลายเป็นตัวตลก

และคุณจอน ก็กลายเป็นตัวตลกไปจริง ๆ เมื่อนำประชาชนบุกปีนเข้าไปในทำเนียบเพื่อยับยั้งการออกกฎหมายของสนช.

ชีวิตที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมายของคุณจอน ไม่เพียงพอที่จะทำให้คุณจอนตระหนักหรือว่า “รัฐประหารทำอะไรก็ได้”

รัฐประหารตั้งองค์กรเถื่อนกี่องค์กรก็ได้ รัฐประหารออกกฎหมายเถื่อนกี่ฉบับก็ได้ “รัฐประหารทำอะไรก็ได้”

การที่คุณจอนยอมรับรัฐประหารอย่างเงียบ ๆ ก็เป็นการยอมรับกฎหมายที่ออกมาจากการรัฐประหารอยู่แล้ว ดังนั้นนอกจากจะตาบอดข้างเดียวแล้ว คุณจอนยังสายตาสั้นอีกด้วย

ผมรู้สึกสะใจที่หญิงชาวบ้านลุกขึ้นตอบโต้คุณจอน จนต้องตบมือให้.




บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง 
เมธัส บัวชุม
หลังจากอิดออดเพื่อรักษาท่าทีแต่พองามแล้ว “ผู้ร้าย” สองคนก็เปิดตัวเปิดใจกระโจนเข้าสู่วง ”การเมือง” เต็มตัว “ผู้ร้าย” คนแรก
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนในอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี นานมาแล้วที่ผมไม่ได้ออกไปไหน เพื่อนพาไปเที่ยวป่าและแวะที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่แลดูลี้ลับ วังเวงและยากไร้
เมธัส บัวชุม
สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่กับความโง่ มีความโง่เป็นเจ้าเรือน นับวันความโง่ยิ่งแผ่ขยายแพร่กระจายไปราวเชื้อโรค หลายคนโง่โดยสุจริต  คนเหล่านี้น่าเห็นใจ ถูกครอบงำด้วยความไม่รู้  อคติ ความเกลียดชังทำให้ประสิทธิภาพในการคิดเสื่อมถอย สติปัญญาถูกบิดเบือนไป คนประเภทนี้โง่เพราะถูกอคติทำลายจนมืดบอด
เมธัส บัวชุม
  ในระหว่างที่รัฐบาลกำลังรวนเรเพราะความไร้ฝีมือและความเน่าจากภายใน แทนที่จะทุ่มสมองและแรงงานเพื่อกระหนาบกระหน่ำรัฐบาลโจร คนเสื้อแดงเฉดต่าง ๆ ก็กลับใช้โอกาสนี้วิพากษ์วิจารณ์กันรุนแรงกระทั่งแตกออกเป็นสาย
เมธัส บัวชุม
ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์กำลังเดินทางไปในอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก และเตรียมหาที่อยู่บนดาวดวงอื่น ทั้งวิตกกังวลกับโรคระบาดชนิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้มนุษย์ต้องสูญพันธุ์ ประเทศไทยยังคงสนุกสนานเหมือนเด็กเล่นขายของกับการกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกระทั่งล้มสถาบันสนุกครับ สนุก
เมธัส บัวชุม
ตื่นเช้าขึ้นมา หากไม่มีอะไรเร่งด่วนต้องทำ ผมจะนั่งเขียนโน่น เขียนนี่พร้อม ๆ กับที่เข้าไปในบอร์ดประชาไท อ่านกระทู้ต่าง ๆ อยู่เงียบ ๆ มานานจนเกือบจะกลายเป็นกิจวัตร (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์) แต่หลังเช้าไปแล้ว ผมก็ทำอย่างอื่น ไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่อาจติดตามความเคลื่อนไหวในบอร์ดประชาไทได้อีก ดังนั้นจึงได้อ่านเพียงบางกระทู้เท่านั้นและล้วนแล้วแต่เป็นการอ่านผ่านๆ ทั้งสิ้น
เมธัส บัวชุม
พักหลัง ผมเข้าไปเยื่ยมชมเว็บไซต์ "ASTVผู้จัดการ" บ่อยครั้ง เพื่ออยากรู้ว่าชาวสีเหลืองหรือกลุ่มพันธมิตรคิดอ่านกันอย่างไร มีนวัตกรรมอะไรบ้างในการทำลายฝ่ายตรงข้าม ศึกษากลวิธีในการเต้าข่าว การใส่ไคล้ การใช้ภาษาของบรรดาคอลัมนิสต์ กระทั่งแวะเข้าไปอ่าน "เรื่องนินทาราวตาเห็น" ของ "ซ้อเจ็ด" ผู้โด่งดัง
เมธัส บัวชุม
หลายวันก่อน ได้อ่านบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “ทางออกจากทักษิณ” (มติชนรายวัน, 20 ก.ค. 52.) บทความนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและแดง  เนื้อหาของบทความ นอกจากปัญญาชนรายนี้จะออกตัวให้กลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองโดยยกระดับความคิด และการกระทำของคนกลุ่มนี้ว่าเกิดจากทัศนะและความเข้าใจในประชาธิปไตยที่แตกต่างจากกลุ่มเสื้อแดงซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน  
เมธัส บัวชุม
นานมาแล้ว ที่ผมไม่เคยเจ็บป่วยขนาดต้องไปโรงพยาบาลหรือหาหมอ อย่างมากก็แค่ซื้อยาแก้เจ็บคอมากิน แต่ครั้งนี้เจ็บคอหลายวัน บวกกับอาการมึนหัว เบื่ออาหาร เพลีย และปวดเมื่อยเนื้อตัวอย่างหนักขนาดทาถูสบู่ตามตัวยังรู้สึกปวดไปถึงกระดูก เวลานอนต้องนอนตะแคงอย่างเดียวจะนอนหงายหรือคว่ำไม่ได้เพราะปวดเมื่อย(ขนาดนั้น) ผมจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลแม้จะยังสงสัยอยู่ว่าคิดถูกหรือผิดกันแน่ น่าตกใจพอสมควรที่คนป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เต็มล้นโรงพยาบาล (แต่แทบไม่มีคนที่อยู่วัยเดียวกับผม) ผมคิดในใจว่าถ้าตนเองเป็นเพียงโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ก็คงจะมารับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลนี่แหละ…
เมธัส บัวชุม
การล่า 1 ล้านรายชื่อของสามเกลอแห่ง "ความจริงวันนี้" เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นประเด็นให้คนเสื้อแดงถกเถียงแก้เซ็งไปพลาง ๆ โหมโรงการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป มีความคิดเห็นค่อนข้างหลากหลายในหมู่คนเสื้อแดงด้วยกัน ทั้งนี้เพราะคนเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายในตัวเองอยู่แล้ว คือมีตั้งแต่ "แดงอนุรักษ์" ไปจนถึง "แดงถอนรากถอนโคน" ซึ่งลักษณะที่ว่านี้ไม่มีในหมู่คนเสื้อเหลือง
เมธัส บัวชุม
เป็นความคิดที่ดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความพยายามจะ “รื้อฟื้น” วันชาติขึ้น เพราะมันมีความหมายและนัยสำคัญต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยอย่างมาก วันชาติเป็นผลพวงของการยึดอำนาจของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสียงและความคิดเห็นของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน