Skip to main content

อาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อนโทรมาชวนผมไปฟังการสัมมนาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จัดขึ้นเนื่องในงานธรรมศาสตร์วิชาการ เรื่อง “ก้าวต่อไปของการเมืองภาคประชาชนไทยหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2550” เพื่อนบอกว่ามีคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณจอน อึ๊งภากรณ์ คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นพ.เหวง โตจิราการ คุณรสนา โตสิตระกูล

ผมได้ยินรายชื่อแล้วรู้สึกสนใจโดยเฉพาะคุณจาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองคุณภาพที่หาได้ยากยิ่งในแวดวงการเมืองไทยปัจจุบัน แต่สุดท้ายแล้ว ผมก็ผิดหวัง คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ไม่มาร่วมวงสัมมนาแต่อย่างใด

คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นำเสนอการวิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการ อย่างไรก็ตาม ฟังแล้วรู้สึกเหมือนเป็นการ “หลอกด่า” ขบวนการภาคประชาชน เช่น ความคิดเรื่องการรับเหมาทำแทน การที่บรรดา “เอ็นจีโอ” สถาปนาเป็น “ตัวแทน” ของภาคประชาชนอย่างอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครเลือกตั้ง การอ้างอิงชนชั้นล่างแต่ประเด็นที่ใช้ในการเคลื่อนไหวกลับเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของคนชั้นกลาง การปิดกั้นผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มไว้ในนามของผลประโยชน์แห่งชาติ

คุณหมอเหวง โตจิราการ นับวันยิ่งเข้มข้นหนักหน่วง นับวันยิ่งเป็น “ซ้าย” ขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผมคิดว่าดี ผมอยากให้มีคนแบบคุณหมอเหวง โตจิราการ เยอะ ๆ เพราะจะได้ช่วยเพิ่มพลังแห่งการวิพากษ์วิจารณ์แบบถอนรากถอนโคนที่กำลังขาดแคลน

ตอนหนึ่งคุณหมอเหวง โตจิราการ พูดถึงทีวีสาธารณะว่ามันไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายใต้รัฐบาลรัฐประหารที่แทรกแซงสื่อมาโดยตลอด ทั้งคนที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้ามาดูแลจัดการก็เป็น “คนของรัฐประหาร” ที่ไม่ได้รับการยอมรับซึ่งไม่มีทางจะทำให้คลื่นโทรทัศน์กลายเป็นผลประโยชน์สาธารณะได้

ผมเห็นด้วยว่า ทีวีสาธารณะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ มันเป็นโกหกคำโตของนักวิชาการที่นำเสนอเรื่องนี้ขึ้นมาโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ และไม่คำนึงถึงพร้อม และความเป็นไปได้ ใคร ๆ ก็รู้ว่าทีวีสาธารณะเป็นเกมการต่อสู้ทางการเมืองอีกเกมหนึ่ง ที่มีนักวิชาการคอยกำกับให้อยู่ในวาทกรรมว่าด้วยผลประโยชน์สาธารณะ

คุณรสนา โตสิตระกูล เอ็นจีโอชนชั้นกลางซึ่งรับเหมาเคลื่อนไหวทั่วราชอาณาจักรและรับเหมาเคลื่อนไหวประเด็นที่กำลังอยู่ในกระแสนั้นเสนอความเห็นตอบโต้การ “หลอกด่า” ของคุณศิโรตน์ คล้ามไพบูลย์ ไปแบบข้างๆ คูๆ

เอ็นจีโออย่างคุณรสนา โตสิตระกูล แสดงให้สาธารณชนเห็นแล้วว่า เธอนั้นไม่รังเกียจรัฐประหารแต่ประการใด โชคดีหรือโชคร้ายของคุณรสนา ก็ไม่รู้ที่ชื่อของเธอถูกตัดออกจากการเป็นสนช.ในวินาทีสุดท้าย

พอคุณรสนา โตสิตระกูล เริ่มพูด ผมก็เดินจากห้องสัมมนานั่งดื่มกาแฟกับเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนาน

ผมยอมรับว่าวิกฤติการเมืองสมัยทักษิณ ทำให้มองภาคประชาชนในแง่ลบอย่างมาก นอกจากคำจำกัดความของ “การเมืองภาคประชาชน” ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้แล้ว เห็นได้ชัดว่าภาคประชาชน ที่เคลื่อนไหวต่อสู้ในประเด็นทางการเมืองระดับชาติเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการสร้างประชาธิปไตย

กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เป็นประจักษ์พยานแห่งความล้มเหลวระดับชาติของขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน (หากนับกลุ่มนี้เป็นภาคประชาชนด้วย) เพราะมันเป็นการเคลื่อนไหวที่สอดรับกับการรัฐประหาร เป็นการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดรัฐประหารอย่างปฏิเสธไม่ได้ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

อันที่จริงภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวในประเด็นย่อย ๆ ที่กระทบต่อวิถีชีวิตเฉพาะกลุ่มนั้นอาจนับได้ว่า เป็นกลุ่มก้าวหน้า เช่น กลุ่มที่เคลื่อนไหวในเรื่องเอดส์ สิทธิสตรี เด็ก รักร่วมเพศ สิทธิของชนกลุ่มน้อย การปกป้องคุ้มครองผู้บริโภค แต่พอขยับมาเป็นการเมืองระดับชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของคนหลายกลุ่ม หลายชนชั้นแล้ว ขบวนการภาคประชาชนกลับมีลักษณะล้าหลังอย่างมาก

การเคลื่อนไหวของคุณจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ผู้ร่วมเสวนาด้วยนั้น เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สะท้อนความล้าหลังของสิ่งที่เรียกว่า “ภาคประชาชน”

ในเวทีสัมมนาวันนั้น คุณจอน เปิดฉากด้วยการบอกว่ารัฐบาลทักษิณ เป็นเผด็จการ การใช้คำระคายหูโดยไม่ระวังของคุณจอนทำให้หญิงคนหนึ่งลุกขึ้นมาโต้เถียงด้วยความเหลืออด

คุณจอนคงจะตาบอดข้างเดียว จนมองไม่เห็นว่าการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนเพื่อขับไล่รัฐบาลทักษิณ ตลอดจนการเคลื่อนไหวที่มาจากผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเผด็จการเสียยิ่งกว่ารัฐบาลทักษิณหลายเท่า คุณจอนคงจะตาบอดข้างเดียวจนมองไม่เห็นว่าการทำรัฐประหารนั้นเป็นการใช้อำนาจเผด็จการอย่างซึ่งหน้า การเอ่ยปากว่าทักษิณเป็นเผด็จการโดยขาดความรอบคอบนั้นรังแต่จะทำให้คุณจอนกลายเป็นตัวตลก

และคุณจอน ก็กลายเป็นตัวตลกไปจริง ๆ เมื่อนำประชาชนบุกปีนเข้าไปในทำเนียบเพื่อยับยั้งการออกกฎหมายของสนช.

ชีวิตที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมายของคุณจอน ไม่เพียงพอที่จะทำให้คุณจอนตระหนักหรือว่า “รัฐประหารทำอะไรก็ได้”

รัฐประหารตั้งองค์กรเถื่อนกี่องค์กรก็ได้ รัฐประหารออกกฎหมายเถื่อนกี่ฉบับก็ได้ “รัฐประหารทำอะไรก็ได้”

การที่คุณจอนยอมรับรัฐประหารอย่างเงียบ ๆ ก็เป็นการยอมรับกฎหมายที่ออกมาจากการรัฐประหารอยู่แล้ว ดังนั้นนอกจากจะตาบอดข้างเดียวแล้ว คุณจอนยังสายตาสั้นอีกด้วย

ผมรู้สึกสะใจที่หญิงชาวบ้านลุกขึ้นตอบโต้คุณจอน จนต้องตบมือให้.




บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…