Skip to main content

เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความชัดเจน เป็นความเหมาะสมที่เราจะเทียบเคียงการทำรัฐประหารซึ่งทุกครั้งจะถูกอ้างในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง (เขาพระวิหาร การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ปฏิญญาฟินแลนด์) เข้ากับการข่มขืน เพราะมันมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกันมาก ๆ


ใช้เพียงสามัญสำนึกเราก็รู้ว่าการทำรัฐประหารและการข่มขืนคือการละเมิดเพิกถอนในสิทธิทุกด้านและทุก ๆ หลักการของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกาย จิตใจและสติปัญญาตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก


สิ่งที่คนถูกข่มขืนได้สูญเสียไปคือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นแก่นสาระของการมีชีวิตอยู่ คนที่ถูกข่มขืนบางรายจึงคิดว่าตายเสียกว่าดีมีชีวิตอยู่


อย่างไรก็ตาม มีบางรายเหมือนกันที่สามารถปรับตัวปรับใจเข้ากับการทำรัฐประหารหรือการถูกข่มขืนได้โดยไม่คิดว่ามันเป็นปัญหาแต่อย่างใด หรือไม่ก็ลืม ๆ มันไปเสียเพื่อที่จะได้มีชีวิตอยู่ต่อไป เหยื่อบางรายไปไกลกว่านั้นมาก คือติดใจชมชอบการทำรัฐประหารหรือการถูกข่มขืนไปเลย แต่ชีวิตของคนแบบนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากสัตว์


เราก็รู้ๆ กันอยู่ว่า รัฐประหารนั้นเป็นการใช้กำลังอันป่าเถื่อนเพื่อบังคับอย่างตรงไปตรงมา และโดยอ้อมให้ยอมรับ ยอมจำนนต่อกติกาอันไร้เหตุผล จากนั้นก็ทำการยัดเยียดสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งที่เป็นพิษเข้าไปในร่างกาย จิตใจและสติปัญญา ในระบอบประชาธิปไตยรัฐประหารคือสิ่งสุดท้ายของพรมแดนแห่งจินตนาการทางการเมืองที่มนุษย์จะนึกคิดได้หรือที่จะอนุญาตให้เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับที่ไม่มีใครอยากให้ตนเองหรือลูกหลานของตนเองถูกข่มขืน


ดังนั้น เราจึงพยายามหลีกเลี่ยงรัฐประหารหรือการถูกข่มขืนโดยการออกแบบการปกครองที่ไม่ป้องกันการใช้กำลังกระทำต่อผู้อื่น หรือป้องกันการฆ่ากันในยามที่ทะเลาะกัน หรือใช้ความรุนแรงในการตัดสินแพ้ชนะ พูดง่าย ๆ ว่าระบอบประชาธิปไตยถูกออกแบบขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความป่าเถื่อนและการฆ่ากันตายโหงโดยไม่จำเป็น ตามความเชื่อที่ว่าชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าไม่ควรจะตายกันง่าย ๆ เพราะความบ้าและหลงอำนาจของคนที่ไม่รู้จักคำว่า “พอเพียง”


แต่แล้ว รัฐประหารกลับทำลายสิ่งที่ว่านี้ไปพร้อมทั้งสร้างความเชื่อขึ้นมาว่ารถถังหรือปืนหรือการใช้กำลังทหารในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง) สามารถชี้แพ้ชนะ สามารถตัดสินถูกผิดดีชั่วได้


สามารถเอาตัวคน “ที่ถูกกล่าวหา” มาลงโทษหรือตั้งองค์กรเถื่อน (อย่างคตส.) ขึ้นมาเพื่อเอาผิด “ผู้ถูกกล่าวหา” แล้วเรียกหน้าด้าน ๆ ว่าเป็นการ “เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม” โดยไม่คิดสักนิดเลยว่ากระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นไม่ได้ภายใต้อำนาจเถื่อนของปากกระบอกปืน


จะว่าไปแล้ววิธีคิดตลอดจนความเชื่อ ที่รัฐประหารสร้างขึ้นมายาวนานหลายปี ไม่ได้ต่างอะไรกับพฤติกรรมของสัตว์ หรือให้ดีขึ้นมาหน่อยก็อาจเปรียบเทียบได้กับการที่กลุ่มโจรเข้ามาปล้นฆ่าผู้นำและลูกบ้านบางคนแล้วตั้งตนเป็นใหญ่ปกครองชุมชนนั้นต่อไป


ในทางการเมืองรัฐประหารจึงเป็นความเลวร้ายสูงสุดที่เราต้องต่อต้าน แต่ไฉนนักสิทธิสตรีหรือนักสิทธิมนุษยชนหรือนักวิชาการในเมืองไทยหลายรายกลับเฉย ๆ กระทั่งเห็นดีเห็นงามกับการรัฐประหาร (ในขณะที่นักสิทธิมนุษยชนอย่างคุณจรัล ดิษฐาอภิชัย ที่เลือกข้างความถูกต้อง กลับได้รับก้อนอิฐตอบแทน)


เป็นไปได้หรือไม่ว่า รัฐประหารเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการเมืองไทยที่หลายคนคุ้นเคยจนมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา ? และเห็นว่าเป็นวิธีการหนึ่งในการแก้ปัญหาทางการเมืองที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับที่การข่มขืนก็เป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถตกลงยอมความกันได้โดยอาจจะจ่ายค่าเสียหายเพื่อเป็นการชดเชย ?


การรัฐประหารครั้งล่าสุด 19 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของความเลวร้ายและเลวทรามในเรื่องของการละเมิดรวมหมู่ในหลักการพื้นฐานของความเป็นมนุษย์แล้วนำกติกาเก่าแก่ที่ป่าเถื่อนล้าหลังแบบเดียวกับสัตว์กลับมาใช้นั้นแยกไม่ออกจากบทบาทการเคลื่อนไหวของกลุ่มที่อาจหาญเรียกตัวเองว่า “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”


การเรียกตัวเองเช่นนี้ให้คำว่า “ประชาธิปไตย” สามานย์และสาธารณ์ไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะคนกลุ่มนี้นี่เองที่เปิดประตูเชื้อเชิญให้คณะทหารเข้ามายึดอำนาจ ดังนั้นการเลือกใช้คำของกลุ่มคนกลุ่มนี้จึงเป็นเหมือนการเล่นตลกที่กลับตาลปัตรกันไปหมด ไม่ว่าพวกเขาจะคิดอย่างนั้นหรือไม่ก็ตาม


หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่การนำมวลชนจัดตั้งมาปักหลักอยู่หน้าทำเนียบเป็นแรมเดือนของคนกลุ่มนี้จะถูกมองว่าจงใจทำให้เกิดการรัฐประหารหรือการข่มขืนรวมหมู่ขึ้นอีกครั้งหลังจากที่เคยทำสำเร็จมาหนหนึ่งแล้ว


แม้ว่าแกนนำบางรายของกลุ่มผู้ชุมนุมจะประกาศอารยะขัดขืนแต่มันก็ไม่ช่วยม็อบกลุ่มนี้ดูดีขึ้นมาเลย เพราะอารยะขัดขืนนั้นต้องขับเคลื่อนด้วยความจริง ความถูกต้อง รวมไปถึงการไม่ใช้ความรุนแรงทางวาจา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ม็อบที่เรียกว่า “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ไม่มีเลย ดังนั้นน่าจะเปลี่ยนจากคำว่า “อารยะขัดขืน” เป็น “อารยะข่มขืน” ที่แปลว่า “การข่มขืนแบบเนียน ๆ” น่าจะตรงกว่า.

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง 
เมธัส บัวชุม
หลังจากอิดออดเพื่อรักษาท่าทีแต่พองามแล้ว “ผู้ร้าย” สองคนก็เปิดตัวเปิดใจกระโจนเข้าสู่วง ”การเมือง” เต็มตัว “ผู้ร้าย” คนแรก
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนในอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี นานมาแล้วที่ผมไม่ได้ออกไปไหน เพื่อนพาไปเที่ยวป่าและแวะที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่แลดูลี้ลับ วังเวงและยากไร้
เมธัส บัวชุม
สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่กับความโง่ มีความโง่เป็นเจ้าเรือน นับวันความโง่ยิ่งแผ่ขยายแพร่กระจายไปราวเชื้อโรค หลายคนโง่โดยสุจริต  คนเหล่านี้น่าเห็นใจ ถูกครอบงำด้วยความไม่รู้  อคติ ความเกลียดชังทำให้ประสิทธิภาพในการคิดเสื่อมถอย สติปัญญาถูกบิดเบือนไป คนประเภทนี้โง่เพราะถูกอคติทำลายจนมืดบอด
เมธัส บัวชุม
  ในระหว่างที่รัฐบาลกำลังรวนเรเพราะความไร้ฝีมือและความเน่าจากภายใน แทนที่จะทุ่มสมองและแรงงานเพื่อกระหนาบกระหน่ำรัฐบาลโจร คนเสื้อแดงเฉดต่าง ๆ ก็กลับใช้โอกาสนี้วิพากษ์วิจารณ์กันรุนแรงกระทั่งแตกออกเป็นสาย
เมธัส บัวชุม
ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์กำลังเดินทางไปในอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก และเตรียมหาที่อยู่บนดาวดวงอื่น ทั้งวิตกกังวลกับโรคระบาดชนิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้มนุษย์ต้องสูญพันธุ์ ประเทศไทยยังคงสนุกสนานเหมือนเด็กเล่นขายของกับการกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกระทั่งล้มสถาบันสนุกครับ สนุก
เมธัส บัวชุม
ตื่นเช้าขึ้นมา หากไม่มีอะไรเร่งด่วนต้องทำ ผมจะนั่งเขียนโน่น เขียนนี่พร้อม ๆ กับที่เข้าไปในบอร์ดประชาไท อ่านกระทู้ต่าง ๆ อยู่เงียบ ๆ มานานจนเกือบจะกลายเป็นกิจวัตร (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์) แต่หลังเช้าไปแล้ว ผมก็ทำอย่างอื่น ไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่อาจติดตามความเคลื่อนไหวในบอร์ดประชาไทได้อีก ดังนั้นจึงได้อ่านเพียงบางกระทู้เท่านั้นและล้วนแล้วแต่เป็นการอ่านผ่านๆ ทั้งสิ้น
เมธัส บัวชุม
พักหลัง ผมเข้าไปเยื่ยมชมเว็บไซต์ "ASTVผู้จัดการ" บ่อยครั้ง เพื่ออยากรู้ว่าชาวสีเหลืองหรือกลุ่มพันธมิตรคิดอ่านกันอย่างไร มีนวัตกรรมอะไรบ้างในการทำลายฝ่ายตรงข้าม ศึกษากลวิธีในการเต้าข่าว การใส่ไคล้ การใช้ภาษาของบรรดาคอลัมนิสต์ กระทั่งแวะเข้าไปอ่าน "เรื่องนินทาราวตาเห็น" ของ "ซ้อเจ็ด" ผู้โด่งดัง
เมธัส บัวชุม
หลายวันก่อน ได้อ่านบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “ทางออกจากทักษิณ” (มติชนรายวัน, 20 ก.ค. 52.) บทความนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและแดง  เนื้อหาของบทความ นอกจากปัญญาชนรายนี้จะออกตัวให้กลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองโดยยกระดับความคิด และการกระทำของคนกลุ่มนี้ว่าเกิดจากทัศนะและความเข้าใจในประชาธิปไตยที่แตกต่างจากกลุ่มเสื้อแดงซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน  
เมธัส บัวชุม
นานมาแล้ว ที่ผมไม่เคยเจ็บป่วยขนาดต้องไปโรงพยาบาลหรือหาหมอ อย่างมากก็แค่ซื้อยาแก้เจ็บคอมากิน แต่ครั้งนี้เจ็บคอหลายวัน บวกกับอาการมึนหัว เบื่ออาหาร เพลีย และปวดเมื่อยเนื้อตัวอย่างหนักขนาดทาถูสบู่ตามตัวยังรู้สึกปวดไปถึงกระดูก เวลานอนต้องนอนตะแคงอย่างเดียวจะนอนหงายหรือคว่ำไม่ได้เพราะปวดเมื่อย(ขนาดนั้น) ผมจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลแม้จะยังสงสัยอยู่ว่าคิดถูกหรือผิดกันแน่ น่าตกใจพอสมควรที่คนป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เต็มล้นโรงพยาบาล (แต่แทบไม่มีคนที่อยู่วัยเดียวกับผม) ผมคิดในใจว่าถ้าตนเองเป็นเพียงโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ก็คงจะมารับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลนี่แหละ…
เมธัส บัวชุม
การล่า 1 ล้านรายชื่อของสามเกลอแห่ง "ความจริงวันนี้" เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นประเด็นให้คนเสื้อแดงถกเถียงแก้เซ็งไปพลาง ๆ โหมโรงการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป มีความคิดเห็นค่อนข้างหลากหลายในหมู่คนเสื้อแดงด้วยกัน ทั้งนี้เพราะคนเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายในตัวเองอยู่แล้ว คือมีตั้งแต่ "แดงอนุรักษ์" ไปจนถึง "แดงถอนรากถอนโคน" ซึ่งลักษณะที่ว่านี้ไม่มีในหมู่คนเสื้อเหลือง
เมธัส บัวชุม
เป็นความคิดที่ดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความพยายามจะ “รื้อฟื้น” วันชาติขึ้น เพราะมันมีความหมายและนัยสำคัญต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยอย่างมาก วันชาติเป็นผลพวงของการยึดอำนาจของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสียงและความคิดเห็นของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน